SHARE

คัดลอกแล้ว

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย นพ.วินัย วนานุกูล หัวหน้าศูนย์พิษวิทยาและหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พญ.สาทริยา ตระกูลศรีชัย ศูนย์พิษวิทยาและภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และ กฤศณัฏฐ์ เชื่อมสามัคคี ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จัดแถลงในประเด็น ‘ซีเซียม (Cesium, Cs-137) กับยาต้านพิษ พรัสเซียนบลู (Prussian blue)’ 

อันตรายต่อสุขภาพจากการได้รับสารซีเซียม-137 เป็นสารกัมมันตรังสี โดยเป็นไอโซโทปของซีเซียม มีค่าครึ่งชีวิต (half-life) นาน โดยประมาณกว่า 30 ปี เมื่อสลายตัวจะปล่อยรังสีบีตาและรังสีแกมมาความรุนแรงของรังสีที่มีต่อร่างกาย ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ปริมาณของรังสีที่ได้รับ ระยะเวลาที่ได้รับ ส่วนของร่างกายที่ได้รับ ซึ่งผลต่อร่างกาย แบ่งเป็น 2 ระยะ

นพ.วินัย วนานุกูล หัวหน้าศูนย์พิษวิทยาและหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

ผลในระยะสั้น

ผลที่เกิดเฉพาะที่ (local radiation injury) เมื่อมีการสัมผัสทางผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นแดง คัน บวม มีตุ่มน้ำหรือแผลเกิดขึ้น อาจมีขนหรือผมร่วงได้

ผลต่อระบบอื่นในร่างกายที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันเมื่อได้รับปริมาณที่สูงมาก เรียกว่า กลุ่มอาการเฉียบพลันจากการได้รับรังสีปริมาณสูง (acute radiation syndrome) โดยจะมีอาการนำ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย หลังจากนั้นอาการจะหายไปชั่วคราวประมาณ 1-3 สัปดาห์ ต่อจากนั้นจะมีผลต่อ 3 ระบบหลักของร่างกาย ได้แก่ ระบบโลหิต ระบบทางเดินอาหารและระบบประสาท ทั้งนี้ขึ้นกับปริมาณสารที่ได้รับ โดยผลกระทบแต่ละระบบ มีดังนี้

– ระบบโลหิต มีผลกดไขกระดูก ทำให้เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดต่ำลงได้

– ระบบทางเดินอาหาร มีผลทำให้คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ถ่ายเป็นเลือด

– ระบบประสาท ทำให้สับสน เดินเซ ซึมลง และชักได้โดยเฉพาะในรายที่รุนแรง

ผลในระยะยาว ที่สำคัญคือ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้

การรักษาด้วยยาต้านพิษ Prussian blue เป็นสารที่ให้สีน้ำเงิน ใช้แพร่หลายในการเขียนภาพ และถูกนำมาใช้เป็นยาต้านพิษที่ใช้ในการรักษาภาวะพิษจากซีเซียม โดยมีข้อบ่งชี้เฉพาะในผู้ป่วยที่มีการปนเปื้อนซีเซียมภายในร่างกาย (Internal contamination) เท่านั้น ไม่ใช้รักษาหากได้รับทางผิวหนังหรือปนเปื้อนตามเสื้อผ้า

กลไกการออกฤทธิ์หลักของ Prussian blue คือ Prussian blue จับกับซีเซียมในลำไส้ ป้องกันไม่ให้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ ยังลดการดูดกลับของซีเซียมจากที่มีผลยับยั้งขบวนการดูดกลับจากทางเดินอาหารไปยังตับและขับออกมาทางน้ำดีกลับสู่ทางเดินอาหารอีกครั้ง ซึ่งเกิดขึ้นซ้ำไปซ้ำมา (enterohepatic recirculation)อย่างไรก็ตาม Prussian blue มีผลข้างเคียงเกิดขึ้นจากการได้รับยาในขนาดที่ใช้ในการรักษาได้ เช่น ท้องผูก หรือ ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ อาจทำให้สีอุจจาระ เยื่อบุ หรือฟัน เปลี่ยนสีได้

ดังนั้น จึงไม่ควรซื้อมารับประทานเองเนื่องจากสารเคมีที่ซื้ออาจไม่ได้ถูกผลิตเป็นยา และอาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้ การรักษาด้วยยาชนิดนี้ควรใช้ภายใต้การดูแลรักษาของแพทย์

ซีเซียมในเหตุการณ์ครั้งนี้

• ที่เกิดเหตุมีค่าความแรงรังสี (activity) ปัจจุบันอยู่ที่ 41.4 mCi ซึ่งเมื่อเทียบกับความแรงรังสีเริ่มต้นวัดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2538 อยู่ที่ 80 mCi หรือถ้าคิดเป็นน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 0.000505 กรัม (505 ไมโครกรัม)

ในทางอุตสาหกรรมถือว่าอยู่ในระดับต่ำเพราะจากที่หาข้อมูลมีการใช้งานตั้งแต่ 1 – 10,000 mCi

• ปัจจุบันมีการใช้งานซีเซียมในการควบคุมคุณภาพเครื่องมือทางรังสีวิทยา ความแรงรังสีประมาณ 1/1000 ของซีเซียมที่เกิดเหตุ

• ปริมาณรังสีซีเซียมในอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล (Chernobyl) เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2529 คาดว่ามีการปนเปื้อนซีเซียมสู่สิ่งแวดล้อม 27 kg หรือ 2.35×109 mCi เท่ากับปริมาณรังสีมากกว่ากรณีที่เกิดเหตุ 56.76 ล้านเท่า (http://large.stanford.edu/courses/2012/ph241/wessells1/ )

• ปริมาณรังสีซีเซียมในอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมา (Fukushima Daiichi) เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2554 คาดว่ามีการปนเปื้อนซีเซียมสู่สิ่งแวดล้อม 17 PBq = 4.60×108 mCi เท่ากับปริมาณรังสีมากกว่ากรณีที่เกิดเหตุนี้ 11 ล้านเท่า (โดยประมาณ 24% จากเหตุการณ์นี้ถูกปล่อยลงสู่ทะเลโดยตรง) https://fukushima.jaea.go.jp/QA/en/q112.html#:~:text=JAEA’s%20research%20shows%20that%20the,directly%20released%20into%20the%20sea.

โอกาสที่จะแพร่กระจายออกมาสู่ภายนอก ซีเซียมจุดเดือดต่ำเมื่อเทียบกับเหล็ก คือจุดเดือด 671 องศาเซลเซียส จึงทำให้ถ้าเกิดการหลอม ซีเซียมจะระเหยเป็นไอและเป็นฝุ่นในห้องหลอม การล้างห้องหลอมหรือควันที่เกิดจากการหลอมมีโอกาสปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม

• ไอและฝุ่นในห้องหลอม ถ้าไม่ถูกจัดเก็บในระบบปิดและถูกจัดการให้เป็นกากกัมมันตรังสี มีโอกาสปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำหรือปลิวไปในอากาศและอาจไปสะสมในสิ่งแวดล้อมได้

• จากข้อมูลตามการแถลงข่าวของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ การหลอมเป็นระบบปิดและมีตัวกรองของเตาหลอม ถ้ามีการจัดเก็บฝุ่นในระบบปิดตามที่แถลง โอกาสที่จะมีรังสีซีเซียมปนเปื้อนต่อสิ่งแวดล้อมจึงน้อย

ประชาชนจะได้รับทางไหน และใครเป็นกลุ่มเสี่ยง

• การรับรังสีสามารถรับได้ 2 ช่องทาง คือ

1).การรับรังสีจากภายนอก (external radiation hazard) สามารถป้องกันได้โดยใช้หลัก TDS Rule (Time, Distance, Shielding) โดยใช้เวลาให้น้อยที่สุด อยู่ห่างจากต้นกำเนิดรังสีให้มากที่สุดและใช้อุปกรณ์ในการกำบังรังสี ถ้าซีเซียมที่หายถูกหลอมแล้ววิธีการที่จะป้องกันคืออย่าเข้าไปใกล้บริเวณที่เก็บฝุ่นรังสี ซึ่งจากที่รายงานปริมาณรังสีที่วัดได้จากฝุ่นมีค่าใกล้เคียงกับปริมาณรังสีพื้นหลัง (ข้อมูลจากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ)

2). การรับรังสีจากแหล่งกำเนิดในร่างกาย (internal radiation hazard) ที่เกิดจากการสูดหายใจ (inhalation) หรือ รับประทาน (ingestion) สิ่งที่ปนเปื้อนซีเซียม

• กลุ่มเสี่ยงที่สำคัญของทั้ง 2 ช่องทาง คือ ผู้ปฏิบัติงานอยู่ในบริเวณหรือช่วงเวลาที่เกิดเหตุ อย่างไรก็ตามจากรายงานค่าปริมาณรังสีในอากาศและตัวอย่างดินรอบ ๆ บริเวณพบว่ายังมีค่าใกล้เคียงกับปริมาณรังสีพื้นหลัง

คำแนะนำสำหรับประชาชน

• ตอนนี้ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าซีเซียมที่ถูกหลอมเป็นชิ้นที่หายไปจริง ยังรอกระบวนการพิสูจน์ แนะนำให้สังเกตป้ายสัญลักษณ์รังสีและให้แจ้งสายด่วน 1296 กรณีเจอวัตถุต้องสงสัยเหมือนในรูป

• หากพบวัตถุที่สงสัย ไม่ควรไปนำมาส่งคืน หรือพยายามพิสูจน์ด้วยตนเอง สิ่งที่ควรทำคือปิดกั้นบริเวณและแจ้งสายด่วน เนื่องจากรังสีสามารถวัดได้ด้วยเครื่องวัดรังสีเท่านั้น

• เรื่องฝุ่นกัมมันตรังสีซีเซียมนั้น ขอให้ประชาชนในพื้นที่ติดตามค่าการวัดรังสีที่รายงานจากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ส่วนการปฏิบัติตัวสามารถทำได้ตามปกติได้

สำหรับ การรักษาด้วยยาต้านพิษ Prussian blue คือ สารที่ให้สีน้ำเงิน ใช้แพร่หลายในการเขียนภาพ และถูกนำมาใช้เป็นยาต้านพิษที่ใช้ในการรักษาภาวะพิษจากซีเซียม โดยมีข้อบ่งชี้เฉพาะในผู้ป่วยที่มีการปนเปื้อนซีเซียมภายในร่างกาย (Internal contamination) เท่านั้น ไม่ใช้รักษาหากได้รับทางผิวหนังหรือปนเปื้อนตามเสื้อผ้า

กลไกการออกฤทธิ์หลักของ Prussian blue คือ Prussian blue จับกับซีเซียมในลำไส้ ป้องกันไม่ให้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย  นอกจากนี้  ยังลดการดูดกลับของซีเซียมจากที่มีผลยับยั้งขบวนการดูดกลับจากทางเดินอาหารไปยัง ตับและขับออกมาทางน้ำดีกลับสู่ทางเดินอาหารอีกครั้ง ซึ่งเกิดขึ้นซ้ำไปซ้ำมา (enterohepatic reciculation)

อย่างไรก็ตาม Prussian blue มีผลข้างเคียงเกิดขึ้นจากการได้รับยาในขนาดที่ใช้ในการรักษาได้ เช่น ท้องผูก หรือ ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ อาจทำให้สีอุจจาระ เยื่อบุหรือฟันเปลี่ยนสีได้ ดังนั้น จึงไม่ควรซื้อมารับประทานเองเนื่องจากสารเคมีที่ซื้ออาจไม่ได้ถูกผลิตเป็นยา ผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้ การรักษาด้วยยาชนิดนี้ควรใช้ภายใต้การดูแลรักษาของแพทย์

ที่มา https://www.vega.com/api/sitecore/DocumentDownload/Handler?documentContainerId=1002686&languageId=2&fileExtension=pdf&softwareVersion=&documentGroupId=31532&version=19-09-2013

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า