SHARE

คัดลอกแล้ว

อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก จังหวัดเชียงราย ประกาศปิดแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกขุนกรณ์เป็นการชั่วคราว เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์หมอกควันและไฟป่าทำให้ค่าฝุ่น PM2.5 มีค่าสูงเกินมาตรฐานติดต่อกันมาหลายวัน โดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลแม่กรณ์ และตำบลห้วยชมภู อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกขุน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนโดยทั่วไป กอปรกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก (เตรียมการ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ระดมกำลังเร่งเข้าดับไฟ

นายชุติเดช กมนณชุตม์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ (สบอ.) ที่ 15 (เชียงราย) กล่าวว่า ไฟไหม้บริเวณจุดชมวิวและสุสานบนดอยช้างพื้นที่ ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย และลุกลามไปอย่างรวดเร็ว เหตุเกิดตั้งแต่คืนวันที่ 26 มี.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นพื้นที่สูงและเมื่อดับไฟครั้งแรกแล้วเกิดการคุกรุ่นขึ้นมาอีก ทำให้เจ้าหน้าที่ไฟป่าต้องร่วมกับอาสาสมัครและชาวบ้านเข้าดับไฟอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัน จึงขอให้ประชาชนได้งดการเผาเพื่อป้องกันการลุกลามรวมทั้งหากพบการลุกไหม้ของไฟจุดใดให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทันทีด้วย

ขณะที่นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวถึงข้อเสนอให้ทางจังหวัดประกาศเขตภัยพิบัติจากภาวะฝุ่นละอองครั้งนี้นั้น ต้องคำนึงถึงผลกระทบที่อาจตามมาหลายด้านโดยมีตัวอย่างการประกาศช่วงที่เกิดวิกฤติโควิด-19 ที่ผ่านมา ขณะที่ปัญหามาจากนอกประเทศ ไม่สามารถควบคุมไม่ได้ ดังนั้นจึงจะแก้ไขปัญหาภายในให้ได้ดีที่สุดก่อนส่วนสถานการณ์ภายนอกประเทศไม่สามารถควบคุมได้ โดยในครั้งนี้ก็จะรับฟังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อปรับและเพิ่มเติมการทำงานให้มีประสิทธิภาพต่อไป

● ไทยพบจุดความร้อนมากที่สุดในรอบปี 5

ด้าน GISTDA รายงานข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ข้อมูล ณ วันที่ 26 มีนาคม 2566 ไทยพบจุดความร้อนมากที่สุด 5,572 จุด สูงสุดในรอบปี 5 ในขณะที่เพื่อนบ้านอย่างพม่ายังครองแชมป์สูงถึง 10,563 จุด ตามด้วย สปป.ลาว 9,652 บาท, กัมพูชา 1,342 จุด, เวียดนาม 870 จุด และ มาเลเซีย 22 จุด

จุดความร้อนที่พบส่วนใหญ่พบในพื้นป่าอนุรักษ์ 2,982 จุด, พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 1,785 จุด, พื้นที่เกษตร 376 จุด, พื้นที่ชุมชนอื่นๆ 207 จุด, พื้นที่เขต สปก. 202 จุด, และพื้นที่ริมทางหลวง 20 จุด ในส่วนของจังหวัดที่พบจุดความร้อนมากที่สุด 3 อันดับ คือ จังหวัดน่าน 638 จุด, จังหวัดแม่ฮ่องสอน 558 จุด และจังหวัดอุตรดิตถ์ 430 จุด

สิ่งหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวังที่มักจะมากับเหตุการณ์ไฟป่าและจุดความร้อนคือ PM 2.5 สถานการณ์การจุดความร้อนจากประเทศเพื่อนบ้านอาจส่งผลให้เกิด PM 2.5 ได้ในพื้นที่บริเวณชายแดนเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากกระแสลมที่จะพัดผ่านเข้ามา ปัญหาไฟป่าหมอกควัน ส่งผลกระทบให้กับระบบต่างๆ ของประเทศมาโดยตลอด โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม ดังนั้น ในอนาคตอันใกล้นี้ ประเทศไทยกำลังจะได้ใช้ระบบ THEOS-2 อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่ง 1 ในภารกิจสำคัญของระบบนี้ คือการสำรวจ วิเคราะห์ และติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้น ได้อย่างทันท่วงทีและแม่นยำ เพื่อการสนับสนุนข้อมูลสำคัญให้กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำข้อมูลไปใช้วางแผน ป้องกัน บรรเทา และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น

ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศพบเกินค่ามาตรฐานในจังหวัดเชียงราย, เชียงใหม่, น่าน, แม่ฮ่องสอน, พะเยา, ลำพูน, ลำปาง, แพร่, อุตรดิตถ์, สุโขทัย, พิษณุโลก, ตาก, กำแพงเพชร, พิจิตร, เพชรบูรณ์, อุทัยธานี, บึงกาฬ, หนองคาย, เลย, อุดรธานี, นครพนม, หนองบัวลำภู, ชัยภูมิ และจังหวัดอุบลราชธานี

  • ภาคเหนือ เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 37 – 550 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกินค่ามาตรฐาน 8 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 33 – 221 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคกลางและตะวันตก ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ตรวจวัดได้ 14 – 39 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคตะวันออก ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 10 – 22 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคใต้ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 11 – 23 มคก./ลบ.ม.

วันที่ 29 มี.ค. – 2 เม.ย. 2566 เป็นต้นไป สถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปิดมากขึ้น เพดานการลอยตัวอากาศที่สูงขึ้น ประกอบกับลมทางใต้ที่กำลังแรงช่วยพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่

อย่างไรก็ตามวันที่ 3-4 เมษายน 2566 พื้นที่ กรุงเทพมหานคร อาจได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองข้ามพื้นที่จากบริเวณทิศตะวันตกได้ และพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือมีแนวโน้มที่ควรเฝ้าระวังในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนโดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านในวันที่ 29 มี.ค. – 4 เม.ย. 66 อย่างไรก็ตามระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 2 เมษายน 2566 สถานการณ์อาจบรรเทาลงได้บ้างเนื่องจากสภาพอากาศที่เปิดมากขึ้น

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://fire.gistda.or.th หรือ ติดตามข้อมูลจาก https://fire.gistda.or.th/dashboard.html และควรติดตามสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ผ่านแอปพลิเคชัน ‘เช็คฝุ่น’

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า