SHARE

คัดลอกแล้ว

สถานการณ์ในกรุงปารีส เมืองหลวงของฝรั่งเศส และหลายเมืองทั่วประเทศ ยังคงชุลมุน หลังสหภาพแรงงานนัดหยุดงานประท้วงใหญ่ บานปลายกลายเป็นความรุนแรงในหลายพื้นที่ 

เกิดอะไรขึ้นที่ฝรั่งเศส สำนักข่าว TODAY สรุปให้ในโพสต์นี้

ชาวฝรั่งเศสประท้วงอะไรกัน 

  • ผู้ประท้วงนับล้านคนออกมาชุมนุมประท้วงต่อต้านแผนการปฏิรูประบบบำนาญที่รัฐบาลของประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง พยายามผลักดันผ่านสภา
  • สาระสำคัญของแผนการปฏิรูป คือการขยายอายุเกษียณจาก 62 ปี เป็น 64 ปี และเสนอจะเพิ่มเงินบำนาญขั้นต่ำให้จากเดิม 1,000 ยูโรต่อเดือน (ประมาณ 37,000 บาท) เป็น 1,200 ยูโรต่อเดือน (ประมาณ 44,000 บาท) 
  • แต่แผนการนี้ บังคับให้คนวัยทำงานต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มขึ้นจาก 41 ปี มาเป็น 43 ปี เพื่อให้ได้รับเงินบำนาญเต็มจำนวน จึงสร้างความไม่พอใจให้กับลูกจ้างและสหภาพแรงงาน
  • ขณะที่รัฐบาลให้เหตุผลว่า เพราะตอนนี้ฝรั่งเศสมีผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างความมั่นคงให้กับระบบบำนาญ ด้วยการยืดระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบออกไป เพื่อให้มีเงินเพียงพอสำหรับเลี้ยงดูคนวัยเกษียณ

การประท้วงเริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ 

  • การประท้วงครั้งแรกเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2566 สหภาพแรงงานขนาดใหญ่ 8 แห่งของฝรั่งเศส นัดหยุดงาน แรงงานจำนวนมากออกมาชุมนุมบนถนนในกรุงปารีส รวมถึงเมืองใหญ่ทั่วประเทศ
  • แรงงานที่มาร่วมการประท้วงมีตั้งแต่พนักงานรัฐ คนขับรถไฟ พนักงานโรงกลั่นน้ำมัน ครู รวมถึงแรงงานภาคอื่นๆ 
  • สถานการณ์ในวันนั้นทำให้ถนนหลายสายโดยเฉพาะในกรุงปารีสเป็นอัมพาต โรงเรียนและหน่วยงานของรัฐหลายแห่งต้องปิดทำการชั่วคราว
  • ระบบขนส่งสาธารณะได้รับผลกระทบหนัก รถไฟใต้ดินและรถไฟระหว่างเมืองยกเลิกให้บริการในหลายเส้นทาง 
  • กระทรวงมหาดไทยฝรั่งเศสเผยยอดผู้ประท้วงในตอนนั้นมีราว 1.2 ล้านคน โดยเป็นผู้ที่ออกมาประท้วงในกรุงปารีส 800,000 คน 
  • แต่ตัวเลขที่มีการเปิดเผยออกมาจากสหภาพแรงงาน ประมาณการว่ามีผู้เข้าร่วมการประท้วงราว 2,000,000 คนทั่วประเทศ ในจำนวนนี้มี 400,000 คนชุมนุมกันอยู่ในกรุงปารีส 

ต่อมาเกิดอะไรขึ้น

  • การประท้วงครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 มกราคมไม่เป็นผลสำเร็จ โดยประธานาธิบดีมาครงยังยืนยันว่าจะเดินหน้าแผนการปฏิรูประบบบำนาญต่อไป 
  • ทำให้สหภาพแรงงานนัดหยุดงานอีกครั้งในวันที่ 31 มกราคม 2566 เพื่อเรียกร้องให้ประธานาธิบดียกเลิกแผนปฏิรูปบำนาญ 
  • การประท้วงใหญ่ครั้งที่ 2 นี้ มีแรงงานออกมาร่วมชุมนุมตามการเปิดเผยของสหภาพแรงงานราว 2.8 ล้านคน ขณะที่มีการระบุว่า ตัวเลขจากการที่มีผู้ร่วมการประท้วง ประมาณ 1.272 ล้านคน 
  • ตั้งแต่นั้นมา มีการนัดหยุดงานและการประท้วงเกิดขึ้นต่อเนื่อง และเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ เริ่มส่งผลกระทบต่อระบบขนส่งสาธารณะและภาคพลังงาน โดยสหภาพแรงงานหวังกดดันรัฐบาลด้วยการทำให้กระทบเศรษฐกิจ

รัฐบาลมีท่าทีอย่างไร 

  • ประธานาธิบดีมาครง ยังคงพยายามเดินหน้าผลักดันแผนการปฏิรูประบบบำนาญต่อไป ท่ามกลางความไม่พอใจของสหภาพแรงงานทั่วประเทศ และเสียงโต้แย้งจากฝ่ายค้าน ซึ่งให้เหตุผลว่าระบบบำนาญในตอนนี้ยังไม่ได้ขาดดุลจนจำเป็นต้องปฏิรูป 
  • อีกทั้งแผนการนี้ก็ไม่ได้รับการสนับสนุนจากแนวร่วมรัฐบาลกลุ่มอื่นๆ ทำให้ยากต่อการผลักดันร่างกฎหมายผ่านสภา เนื่องจากพรรคของประธานาธิบดีมาครง ไม่ได้ครองเสียงข้างมากจากการเลือกตั้งครั้งล่าสุด
  • ด้วยเหตุนี้ทำให้รัฐบาลตัดสินใจใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 49.3 ของรัฐธรรมนูญ ผ่านร่างกฎหมายปฏิรูประบบบำนาญให้มีผลบังคับใช้ โดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาจากสภา 
  • ทำให้พรรคฝ่ายค้านได้ยื่นขออภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล แต่ผลการลงมติเมื่อวันที่ 21 มี.ค. ที่ผ่านมา ปรากฏว่ารัฐบาลสามารถรอดจากมติไม่ไว้วางใจมาได้อย่างฉิวเฉียด 

สถานการณ์ตอนนี้เป็นยังไงบ้าง

  • ความพยายามผลักดันกฎหมายปฏิรูประบบบำนาญของรัฐบาล ยิ่งสร้างความโกรธเคืองให้กับสหภาพแรงงาน จนการประท้วงลุกลามและทวีความรุนแรงขึ้นมาตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว 
  • มีการปะทะระหว่างผู้ชุมนุมกับตำรวจควบคุมฝูงชน ผู้ชุมนุมบางส่วนเริ่มจุดไฟเผาสถานที่ราชการ ทุบทำลายอาคารห้างร้าน และสาธารณูปโภค ขณะเจ้าหน้าที่ยิงแก๊สน้ำตาเพื่อสลายการชุมนุม นับเป็นเหตุการณ์ประท้วงรุนแรงครั้งเลวร้ายสุดในรอบหลายปีในฝรั่งเศส
  • โดยผู้ประท้วงได้พยายามเรียกร้องให้รัฐบาลระงับและพิจารณาทบทวนแผนปฏิรูปบำนาญใหม่อีกครั้ง และตะโกนขับไล่ ให้ประธานาธิบดีมาครงลาออกจากตำแหน่ง 
  • การประท้วงที่ยังคงยืดเยื้อมาจนถึงตอนนี้ ทำให้ระบบขนส่งสาธารณะหยุดชะงัก รถไฟและเที่ยวบินหลายเที่ยวต้องระงับการให้บริการ โรงเรียนหลายแห่งต้องหยุดการเรียนการสอน 
  • กรุงปารีสและอีกหลายเมืองในขณะนี้ต้องเผชิญกับปัญหาขยะล้นเมือง เนื่องจากการนัดหยุดงานของพนักงานเก็บขยะ 
  • ขณะที่รัฐบาลจะเริ่มมีท่าทีอ่อนลง โดยนายกรัฐมนตรี เอลิซาเบธ บอร์น ออกมาประกาศว่า จะเจรจากับฝ่ายค้านและแกนนำสหภาพแรงงาน
  • แต่จนถึงตอนนี้ยังไม่มีทีท่าว่าการประท้วงจะจบสิ้นลง สหภาพแรงงานได้กำหนดวันนัดหยุดงานประท้วงใหญ่อีกครั้ง ซึ่งเป็นครั้งที่ 11 ในวันที่ 6 เมษายนนี้ 

 

ที่มา CNN, The Guardian, The Washington Post, CNBC, Le Monde

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า