SHARE

คัดลอกแล้ว

จับตาปมร้อน สะเทือนแรง! สรุปแฮชแท็ก ‘แบนสุพรรณหงส์’ คนในวงการหนังไทยแห่ถอนตัว ปมกติกาใหม่ กีดกันผู้ผลิตรายเล็ก 

ไล่เรียงปมร้อน เริ่มต้นจาก ‘ศราวุธ แก้วน้ำเย็น’ ผู้กำกับศิลป์ ภาพยนตร์เรื่อง ‘เวลา’ (Anatomy of Time) ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว (29 มี.ค. 66) เปิดเผยเรื่องราวน่ายินดีของภาพยนตร์เรื่อง ‘เวลา’ (Anatomy of Time) ว่า สามารถคว้า 2 รางวัล จากเวที คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 19 คือ รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และ ‘จักรวาล นิลธำรง’ หรือ ‘เก่ง จักรวาล’ ได้รับ รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ไทยยอดเยี่ยมแห่งปี

แต่นอกจากข่าวดี ‘ศราวุธ’ ยังแจ้งข่าวร้ายว่า ‘เวลา’ (Anatomy of Time) ถูกตัดสิทธิ์ไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณา เข้าชิงรางวัลสุพรรณหงส์ ครั้งที่ 31 เนื่องจากปีนี้มีกติกาใหม่

“เมื่อฝันหวานไปได้หนึ่งคืน ก็เจอฝันร้ายไปอีกวัน เมื่อ ภาพยนตร์ เวลา (Anatomy of time) ที่พึ่งได้รางวัลอันทรงเกียรติ กลับต้องถูกตัดสิทธิ์เอาชื่อออก ไม่ผ่านเกณฑ์การเข้าชิงรางวัลของกองประกวดกองหนึ่ง กองที่ใหญ่ที่สุดและยืนระยะในการมอบรางวัล (และยังเรียกว่าการประกวดแห่งชาติ)”

” เพราะเพียงว่า ………..หงส์มีหลักเกณฑ์ ใหม่ที่เพิ่งตั้งในปีนี้ว่า ภาพยนตร์ที่จะเข้าคัดเลือกต้องมีการเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ให้ครบ 5 ภูมิภาคของประเทศไทย แต่ภาพยนตร์เรื่อง Anatomyoftime ไม่ได้ไปฉายให้ครบทุกภาคของประเทศก็เลยไม่ผ่านเกณฑ์การตัดสิน” ข้อความบางส่วนจากโพสต์ของศราวุธ

หลังโพสต์ดังกล่าวกระจายออกไปอย่างกว้างขวางในโซเชียลมีเดีย แฮชแท็ก #แบนสุพรรณหงส์ ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ และเกิดแรงกระเพื่อมทันที ทั้งจากคอหนังไทยและคนในวงการอุตสาหกรรมบันเทิง ‘จอเงิน’

หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล หรือ คุณชายอดัม ผู้กำกับภาพยนตร์ โอรสในหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก เฉลิมชาตรี ยุคล ระบุว่า ปีนี้ถามทางสมาคมสมาพันธ์ไปแล้ว เค้าบอกว่า “ไม่สามารถปรับเปลี่ยนกติกาได้แล้วเพราะเวลาไม่ทัน และจะพิจารณาใหม่ในปีหน้า”

คุณชายอดัม บอกด้วยปีนี้จะไม่ไปร่วมงานประกาศรางวัลสุพรรณหงส์และในอนาคตอาจจะไม่ส่งหนังเข้าชิงรางวัลในประเทศอีก โดยระบุว่า “ปีนี้ขอไม่ไปสุพรรณหงส์นะครับ ปกติมีอะไรเราก็ช่วยกับสมาคมสมาพันธ์มาตลอด ที่บ้านผมก็ช่วยกับสมาคมสมาพันธ์มาตลอด แต่ตอนนี้ทางบ้านผม ก็ขออนุญาตงดเว้นการทำงานหรือช่วยเหลือใดๆ กับทางสมาคมสมาพันธ์ไปก่อนจนกว่าจะหาวิธี ที่จะทำให้มิติของการสร้างอุตสาหกรรมหนังไทยสร้างสรรค์มากกว่านี้”

“หาก Treatment แบบนี้ยังมีในวงการ การมีเทศกาลหนังหรืองานประกวดหนังก็ไม่ได้มีคุณค่าอะไรเป็นพิเศษสำหรับผม เพราะมันไม่ได้ช่วยให้โลกภาพยนตร์มันดูมีคุณค่ามากไปกว่านิตยสารซุบซิบดาราน่ะครับ ดังนั้นเรื่องน่าเศร้าก็ยังมีอยู่มากมายที่จะต้องสู้กันต่อไป ….แต่ไม่รู้ทำไมสู้แล้วมันก็ถอยหลังไปเรื่อยๆ ก็ไม่รู้สิครับ ฮาๆๆๆๆๆๆ”

ทางด้าน นุชี่-อนุชา บุญยวรรธนะ นายกสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย ระบุว่าเป็นหนึ่งในคณะกรรมการจัดงานสุพรรณหงส์ปีนี้ ได้ออกมาเคลื่อนไหวผ่านเฟซบุ๊ก Anucha Boonyawatana บอกว่า “นุชี่ไม่ได้รับทราบมาก่อนว่า จะมีกติกาที่กีดกันภาพยนตร์อิสระเรื่อง “เวลา Anatomy of Time” ที่ปรากฏเป็นข่าวในขณะนี้ รวมทั้งตัวนุชี่เองก็เป็นคณะกรรมการรางวัลคมชัดลึกอวอร์ด ที่ร่วมตัดสินมอบรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมและผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมให้กับเรื่อง “เวลา” ด้วยค่ะ นุชี่ไม่เห็นด้วยกับกติกาดังกล่าวนี้อยู่แล้ว พรุ่งนี้จะไปประชุมกับทางสมาพันธ์เพื่อหาคำตอบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนะคะ ช่วงนี้มีปัญหาในวงการภาพยนตร์ไทยหลายอย่าง จะพยายามค่อยๆ หาทางแก้ไปค่ะ”

ปฏิกิริยาจากผู้สร้าง-ผู้กำกับหนังที่มีต่อกติกาใหม่ต่างไม่เห็นด้วยพร้อมแสดงท่าทีชัดเจน อาทิ

เต๋อ-นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์

“ในตำแหน่งผู้กำกับและผู้เขียนบท fast & feel love ผมขอถอนตัวจากการได้รับสิทธิ์ในการถูกคัดเลือกเพื่อได้รับการพิจารณาในรางวัลสุพรรณหงส์ในปีนี้ เพราะโดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับกติกาและเงื่อนไขครับ / ขอบคุณครับ”

ไก่-ณฐพล บุญประกอบ  ผู้กำกับสารคดี ‘เอหิปัสสิโก’

“ผมในฐานะทีมเขียนบท/ผู้กำกับร่วมในภาพยนตร์เรื่อง One for the Road ขออนุญาตถอนตัวจากการถูกเสนอชื่อเพื่อคัดเลือกเข้าชิงรางวัลสุพรรณหงส์ปีนี้ จนกว่าทางสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติจะมีมติในการเปลี่ยนแปลงกฎกติกาในการคัดเลือกหนังและเห็นคุณค่าของภาพยนตร์ และทีมงานไทยทุกคนครับ”

ปิ๊ง-อดิสรณ์ ตรีสิริเกษม ผู้กำกับภาพยนตร์ เรื่อง ‘บุพเพสันนิวาส ๒’ แสดงจุดยืนผ่านอินสตาแกรมสตอรี่ ประกาศถอนตัวจากการถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลสุพรรณหงส์ในปีนี้จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง พร้อมระบุว่า เป็นการตัดสินใจส่วนตัว ไม่เกี่ยวข้องกับบริษัท

นอกจากนี้ บรรดานักแสดงก็พากันออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านเกณฑ์ใหม่นี้ ผ่านโซเชียลมีเดียของตัวเอง อย่างเช่น  อิชณน์กร พึ่งเกียรติรัศมี – ณัฏฐ์ กิจจริต 2 นักแสดง เจ้าของรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม และ นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง 4 Kings

“ข้าพเจ้าทั้ง 2 ขอประกาศจุดยืน ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายพิจารณาเกณฑ์การคัดเลือกภาพยนตร์เข้าชิงใหม่อีกครั้ง หากทางสมาพันธ์ยังยืนยันที่จะใช้เกณฑ์การตัดสินเดิม ละเลยคุณค่าของภาพยนตร์ไทยละเลยคุณค่าของคนทำงานเบื้องหลัง ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ข้าพเจ้าทั้ง 2 ยินดีให้ริบคืนทั้งหมด ด้วยความเต็มใจ”

ขณะที่ อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ ที่ปรึกษาพิเศษ Nation Group ก็เปิดเผยว่า ลาออกจากตำแหน่งรองประธานสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์

“ขอแจ้งให้สาธารณะทราบโดยทั่วกัน ผมขอลาออกจากการเป็นรองประธานสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติด้วยเหตุผลตามหนังสือลาออก​ ขอขอบคุณเลขาธิการสมาพันธ์ฯ คุณพรชัย​ ว่องศรีอุดมพร ที่ชวนมาร่วมทำงานเพื่อวงการภาพยนตร์ไทย​ หลังจากงาน​ World Film Bangkok​ 15​”

นอกจากนี้คอมมูนิตี้คนทำหนังไทยยังได้ออกมาเปิดเผยสิ่งที่ผู้ผลิตหนังรายย่อยต้องเผชิญ 

นันทวัฒน์ จรัสเรืองนิล โปรดิวเซอร์ จากบริษัท อายดรอปเปอร์ ฟิลล์ จำกัด ได้ออกมาเล่าประสบการณ์จากการทำหนังเรื่อง School Town King ที่เจออุปสรรคหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินทุน, คณะเซนเซอร์, วันฉาย, ดีลราคาบัตร และอื่นๆ ตามโพสต์นี้

“2 ปีที่ผ่านมาเราได้ยินถึงกฎบ้าๆ (ช่วงที่ School Town King ถูกเสนอชื่อเข้าชิงสารคดียอดเยี่ยม) ที่สุพรรณหงส์จะเพิ่มคุณสมบัติของหนังไทยที่จะได้รับสิทธิเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลให้เป็นตามกฎที่ไม่ make sense อย่างที่ทุกคนได้เห็นกันในปัจจุบันที่สุพรรณหงส์ใช้ไปแล้ว คนตัวเล็กๆ ทำหนังกันเองมันไม่ใช่เรื่องง่าย รางวัลสุพรรณหงส์เคยเป็นจุดมุ่งหมาย หรือเครื่องประดับความตั้งใจอันทรงเกียรติของคนทำหนังไทย มันควรเป็นจุดหมายที่ทุกคนไปถึงได้และมีสิทธิที่จะไปถึง เพียงแค่การทำหนังให้ออกฉายในโรงภาพยนตร์นั้นก็ยากเข็ญจนพวกเราเองเกือบจะถอดใจอยู่หลายครั้ง”

นันทวัฒน์ ได้เปิดเผยประสบการณ์ ดังนี้

–  เงินทุน ถ้าไม่ได้ผู้สนับสนุนหลาย ๆ ท่านหนังคงจะไม่เสร็จออกมา

– คณะเซนเซอร์ที่พร้อมจะ ปสด กับภาพและเสียงที่เกิดขึ้นในหนังโดยไม่มีมาตรฐานอะไรรองรับทั้งนั้น (ในโพสต์มีกระดาษแจ้งเรตแบบไม่เป็นทางการอยู่) ก็ต้องอกสั่นขวัญแขวนไปเป็นอาทิตย์ก่อนหนังฉายแต่โชคดีรอดมาได้

– พอได้เข้าโรงก็ได้ดีลยืนโรงเดียว, รอบเดียวต่อวัน, 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะเพิ่มรอบ และโรงให้ตามแต่โรงเห็นสมควร (มีให้รอบวันธรรมดา 17.00 แมวที่ไหนจะมาดู)

– ดีลราคาบัตรดูหนัง แบ่ง 50:50 จากนั้นลดลงเป็นขั้นบันไดโดยที่เจ้าของหนังเสียเปรียบทุกครั้ง

– การส่งไฟล์ฉายหนัง(DCP)และใบปิดโรง เจ้าของหนังต้องทำหน้าที่ผลิตและจัดส่งไปที่โรง ตจว.ที่เราขยายไปเอง ตามแต่ละสาขา

– หนังหลุดโรงแล้ว ก็เจอราคาจาก streaming plateform ที่กดต่ำ เพราะมันไม่ exclusive สำหรับ plateform อีก

– มาถึงได้รับรางวัลยิ่งใหญ่อย่าง ภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม จากเวทีสุพรรณหงส์ พวกเราขึ้นไปรับรางวัลอยากพูดขอบคุณทีมงาน โดนยกไมค์ออกอีก

ประเด็นนี้เป็นเรื่องร้อนแรงในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยอย่างมาก และยังต้องติดตามว่าที่สุดแล้วจะจบลงอย่างไร

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า