SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาคีองค์กรด้านสิทธิและความหลากหลายทางเพศกว่า 33 องค์กร ร่วมจัดเวทีสิทธิประชาชนเพศหลากหลายกับนโยบายพรรคการเมือง 2566” เมื่อวันที่ 30 มี.. 2566 ณ สำนักงานกลางนักเรียนคริสเตียน กรุงเทพฯมหานคร เพื่อเปิดพื้นที่ให้ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้นำเสนอประเด็นปัญหาความไม่เท่าเทียมทางเพศและได้มีส่วนร่วมในการออกแบบและนำเสนอนโยบายสาธารณะต่อพรรคการเมือง โดยมี วศินี พบูประภาพ ผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว TODAY เป็นผู้ดำเนินรายการ

เวทีนี้มีพรรคการเมืองที่ส่งตัวแทนมาร่วมจำนวน 12 พรรค ได้แก่ 

  1. ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ พรรคก้าวไกล
  2. วรนัยน์ วาณิชกะ พรรคชาติพัฒนากล้า
  3. อุดมศักดิ์ ศรีสุทิวา พรรคชาติไทยพัฒนา
  4. ภาคิน เจริญนนทสิทธิ์ พรรคไทยสร้างไทย 
  5. แทนคุณ จิตต์อิสระ พรรคประชาธิปัตย์
  6. ภิญโญ รู้ธรรม พรรคเปลี่ยนอนาคต 
  7. ปวิศรัฐฐ์ ติยะไพรัช พรรคเพื่อชาติ 
  8. ชานันท์ ยอดหงษ์ พรรคเพื่อไทย 
  9. ณัฏฐ์ มงคลนาวิน พรรคภูมิใจไทย 
  10. พงศ์พล ยอดเมืองเจริญ พรรครวมไทยสร้างชาติ 
  11. ณิชกานต์ รักษ์วงฤทธิ์ พรรคสามัญชน 
  12. ฐิติพร ฌานวังศะ พรรคเสมอภาค

โดยผู้จัดเวทีเสวนาแบ่งรอบการตอบคำถามเป็น 3 รอบ ดังนี้

รอบที่ 1 ให้ตัวแทนพรรคการเมืองแนะนำตัวและนำเสนอนโยบายเกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางเพศของพรรคตัวเอง (ระยะเวลาคนละ 2 นาที)

รอบที่ 2 แบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่มโดยวิธีการจับฉลาก และให้แต่ละกลุ่มตัวแทนพรรคตอบคำถามเดียวกันจากเจ้าของประเด็นด้านต่างๆ 

รอบที่ 3 ให้ผู้เข้าร่วมรับฟังสามารถถามคำถามกับตัวแทนพรรคการเมือง พรรคละ 1 คำถาม

สำนักข่าว TODAY รวบรวมข้อมูลนโยบายที่ตัวแทนแต่ละพรรคการเมืองได้จัดสรรเวลานำเสนอบนเวทีเสวนา มาให้ได้อ่านกันแบบเข้าใจง่าย

หมายเหตุ : พรรคการเมืองที่ไม่ได้กล่าวถึงนโยบายดังกล่าวอาจไม่ได้หมายความว่าไม่มีนโยบายนั้นๆ แต่อาจไม่ได้หยิบยกขึ้นมาในระหว่างการตอบคำถาม หรือไม่ได้มีช่วงเวลาในการตอบเนื่องจากกติกาที่ทางผู้จัดกิจกรรมกำหนด

แต่ละพรรคจะเอายังไงกับ ‘สมรสเท่าเทียม’ ?

ร่างสมรสเท่าเทียมค้างพิจารณาอยู่ที่วาระ 2 และเมื่อเกิดเหตุการณ์ยุบสภาก็ทำให้กฎหมายนี้ไม่ถูกพิจารณาและยังเป็นความหวังที่ยังไม่เป็นจริงของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศที่จะได้รับสิทธิในการสมรสคืนมาให้เท่าเทียมกับคู่สมรสชายหญิง

การหาเสียงในครั้งนี้จึงได้เห็นพรรคการเมืองหยิบยกเอากฎหมายดังกล่าว กลับขึ้นมาหาเสียงอีกครั้ง แต่ขณะเดียวกันหากมองย้อนไปในสภาฯ ก็มีกฎหมายอีกร่างคือ...คู่ชีวิตที่ถูกนำมาพิจารณาคู่กัน ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าการแบ่งแยกเป็นกฎหมายใหม่ทำให้ไม่ได้รับสิทธิที่เท่าเทียมกัน 

แม้ว่าจะค้างพิจารณาอยู่ทั้ง 2 ฉบับ แต่พรรคการเมืองที่จะกลับเข้ามาทำงานในสภาฯ เห็นอย่างไร กับการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อให้บุคคลทุกเพศสามารถแต่งงานกันได้ หรือสมรสเท่าเทียม

นี่เป็นคำตอบจาก 12 พรรคการเมือง

พรรคที่สนับสนุนสมรสเท่าเทียม’ : พรรคก้าวไกล / พรรคชาติพัฒนากล้า / พรรคชาติไทยพัฒนา / พรรคไทยสร้างไทย / พรรคประชาธิปัตย์ / พรรคเพื่อชาติ / พรรคเพื่อไทย / พรรคภูมิใจไทย / พรรคสามัญชน

พรรคที่ไม่ได้พูดถึงสมรสเท่าเทียมบนเวที : พรรคเสมอภาค / พรรคเปลี่ยนอนาคต

พรรคที่ไม่ชัดเจน : พรรครวมไทยสร้างชาติ ไม่พูดชัดว่าจะสนับสนุนสมรสเท่าเทียมโดยระบุว่าสิทธิการอุ้มบุญเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่ง...คู่ชีวิตยังไม่มี แต่เมื่อมีผู้เข้าร่วมรับฟังถามว่าจะทำอย่างไรในการพูดคุยกับสมาชิกพรรคคนอื่น พงศ์พล ยอดเมืองเจริญ ตอบว่าจะไปบังคับให้มันเกิดขึ้นจริง ผมจะพยายามถึงที่สุด

ข้อสังเกต : พรรคชาติพัฒนากล้า ใช้คำพูดว่าจะยกมือให้สมรสเท่าเทียมและพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคที่เคยเสนอร่าง...คู่ชีวิต’ (คนละร่างกับของ ครม.) ใช้คำพูดว่าส่งเสริมเรื่อง พ...สมรสเท่าเทียม เท่านั้น

พรรคไหนบ้าง ที่มองสวัสดิการสุขภาพ LGBTQ+ เป็นเรื่องสำคัญ ?

พรรคที่พูดถึงการเทคฮอร์โมนและการผ่าตัดแปลงเพศบนเวทีเสวนา : 

พรรคไทยสร้างไทยสนับสนุนกองทุนผ่าตัดแปลงเพศ และผลักดันให้มีงบ สปสช. เบิกจ่ายเทคฮอร์โมนได้

พรรคประชาธิปัตย์ตรวจคัดกรองให้ฮอร์โมนก่อนหลังแปลงเพศ

พรรคเพื่อชาติฟรีฮอร์โมนทางเพศและการตัดมดลูกต้องรวมอยู่ในสวัสดิการสุขภาพ

พรรคเพื่อไทยผู้ต้องการข้ามเพศเข้าถึงฮอร์โมนได้ ต้องอยู่ใน สปสช. 

พรรคสามัญชน  ต้องการระบบสาธารณสุขให้กับการเทคฮอร์โมน และการผ่าตัดยืนยันเพศ

พรรคเสมอภาครัฐต้องดูแลเรื่องฮอร์โมนและการข้ามเพศ

พรรคที่พูดถึงแนวทางป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV บนเวทีเสวนา : 

พรรคก้าวไกลยุติ HIV ภายใน 8 ปี

พรรคประชาธิปัตย์ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV ไม่ต้องถูกตรวจก่อนเข้าทำงาน 

พรรคเพื่อไทยผลักดันเรื่องของเบิกจ่ายยา PrEP PEP 

พรรคที่พูดถึงสวัสดิการสุขภาพในด้านอื่นๆ บนเวทีเสวนา :

พรรคประชาธิปัตย์ใช้เทคโนโลยีเจริญพันธุ์เพื่อช่วยเหลือคู่รัก LGBT+ ให้มีลูกได้

พรรคเพื่อชาติสิทธิเข้าถึงถุงยางอนามัยทุกแบบ รวมถึงถุงยางอนามัยสำหรับสตรี

พรรคเพื่อไทยผ้าอนามัยฟรีสำหรับผู้มีประจำเดือน และเรื่องการอบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างสม่ำเสมอให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ

พรรครวมไทยสร้างชาติให้ความเห็นว่าควรมี committee ด้านสุขภาพ ที่มีกลุ่มหลากหลายทางเพศเข้าไปร่วมด้วย และส่งเสริมให้มีบุคคลากรทางการแพทย์ที่มีความหลากหลายทางเพศ

พรรคสามัญชนเปลี่ยนระบบสาธารณสุขไม่ให้เป็นแค่ระบบสองเพศ

พรรคเสมอภาคเปิดให้มีการเข้าถึงบริการสุขภาพกายและจิตสำหรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ และนำเสนอเรื่องสวัสดิการสุขภาพในสถานที่ทำงาน

พรรคที่พูดถึงการคุ้มครอง Sex Workers และการทำให้ถูกกฎหมาย :

พรรคก้าวไกลยกเลิก พ...ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี และทำให้ Sex Workers ได้รับการคุ้มครอง ได้สิทธิแรงงาน

พรรคไทยสร้างไทยรัฐต้องเข้าไปคุ้มครอง

พรรคประชาธิปัตย์หามาตรการดูแลอย่างครบวงจร 

พรรคเพื่อชาติเห็นด้วยกับการทำให้ถูกกฎหมาย

พรรคสามัญชนเห็นด้วยกับการทำให้ถูกกฎหมาย 

พรรคที่ไม่ได้พูดถึงเรื่องเกี่ยวกับสวัสดิการสุขภาพบนเวทีนี้ : พรรคชาติพัฒนากล้า / พรรคชาติไทยพัฒนา / พรรคภูมิใจไทย / พรรคเปลี่ยนอนาคต

พรรคไหนเห็นถึงอัตลักษณ์ทางเพศและตัวตน LGBTQ+ ?

พรรคที่เห็นด้วยกับการรับรองอัตลักษณ์ทางเพศ : พรรคก้าวไกล / พรรคชาติไทยพัฒนา / พรรคประชาธิปัตย์ / พรรคเพื่อไทย / พรรคสามัญชน / พรรคเสมอภาค

พรรคที่ไม่ได้พูดถึงเรื่องการรับรองอัตลักษณ์ทางเพศบนเวทีนี้ : พรรคชาติพัฒนากล้า / พรรคไทยสร้างไทย / พรรคเพื่อชาติ / พรรคภูมิใจไทย / พรรคเปลี่ยนอนาคต

พรรคที่เห็นด้วยกับการให้เลือกใช้คำนำหน้านามเองได้ : พรรคก้าวไกล / พรรคชาติพัฒนากล้า / พรรคเพื่อชาติ / พรรคภูมิใจไทย / พรรครวมไทยสร้างชาติ

พรรคที่พูดถึงการขจัดการเลือกปฏิบัติและการเหยียดเพศ : 

พรรคชาติพัฒนากล้าผลักดันให้มีการฟ้องร้องการเลือกปฏิบัติในสถานที่ทำงาน และเสนอเอาคำว่าศีลธรรมอันดีออกจากกฎหมาย และใส่คำว่าสิทธิมนุษยชนเข้าไปแทน

พรรคชาติไทยพัฒนาเห็นด้วยว่าต้องมีการหาทางหยุดการเลือกปฏิบัติ

พรรคประชาธิปัตย์ส่งเสริมการใช้กฎหมายและการให้คำปรึกษาผู้ถูกเลือกปฏิบัติหรือถูกคุกคาม

พรรคเพื่อชาติต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ

พรรครวมไทยสร้างชาติมองว่าการที่ LGBT+ บริจาคเลือดไม่ได้ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ 

พรรคสามัญชนยุติการเกลียดกลัว หนุนปฏิรูประบบราชทัณฑ์ให้มีความปลอดภัยทางเพศ

พรรคเปลี่ยนอนาคตเห็นด้วยว่าต้องมีการหาทางหยุดการเลือกปฏิบัติ

ข้อสังเกต : ตัวแทนจากพรรครวมไทยสร้างชาติ ระบุว่าส่วนตัวสนับสนุนกับการรับรองอัตลักษณ์แต่ไม่ใช่มติของพรรค นอกจากนั้นเรื่องคำนำหน้านาม พงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เสนอว่ากลุ่มคนที่เป็น non-binary จะให้ใช้คำนำหน้านามว่านานาพร้อมอธิบายว่าเรามี ‘นาย’ และ ‘นางสาว’ “ถ้าเป็นมิกซ์ก็แปลเป็นนานา” และถามผู้เข้ารับฟังว่าชอบไหม ก่อนจะได้รับเสียงตะโกนกลับว่า “ไม่อยากได้ เขาใช้ gender X” ก่อนระบุว่าเป็นเพียงแค่ไอเดียหนึ่ง

พรรคไหนพูดถึงนโยบายสวัสดิการคนทำงานกลุ่ม LGBTQ+ บ้าง ?

พรรคก้าวไกลลดการตาบอดทางเพศ (Gender Blindness) สร้างความเท่าเทียมในการออกแบบนโยบาย

พรรคชาติพัฒนากล้าเพิ่มความเท่าเทียมการจ้างงาน

พรรคชาติไทยพัฒนาผลักดันให้มี ส.. ที่ความหลากหลายทางเพศในสภา

พรรคประชาธิปัตย์หนุนให้มีกองทุน SME ให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศได้เข้าถึงและต่อยอดได้ เพื่อสนับสนุนศักยภาพของผู้มีความหลากหลายให้โดดเด่นมากขึ้น

พรรคเพื่อชาติการลาของ Transgender ต้องเป็นสวัสดิการ ทุกองค์กรต้องผลักดันให้เกิดขึ้น

พรรคเพื่อไทยแรงงาน LGBTQ+ ลาไปเลี้ยงบุตรบุญธรรมได้ 

พรรคภูมิใจไทยรับข้อเสนอเรื่อง นโยบายและสวัสดิการที่เคารพสิทธิประชาชนเพศหลากหลายในสถานที่ทํางาน จำนวน 5 ข้อที่ คณะทำงานเครือข่ายสิทธิประชาชนเพศหลากหลายกับนโยบายพรรคการเมือง 2566 เสนอ ไปพิจารณาต่อ

พรรคสามัญชนต้องมี Gender Quota ในการจ้างงานที่เป็นธรรม

พรรคเสมอภาคกำหนดข้อบังคับให้ที่ทำงานต้องมีสัดส่วนจ้างงานอย่างเท่าเทียม

การศึกษาจะเปิดกว้างเข้าใจ LGBTQ+ แค่ไหน ในสายตาพรรคการเมืองเหล่านี้ ?

พรรคก้าวไกลรื้อบทเรียน ต้องมีการโอบรับความหลากหลาย นักเรียนต้องมีสิทธิแสดงออกตามเจตจำนงเพศของตนเอง อบรมครูให้มีความเข้าใจเรื่องสิทธิความหลากหลายทางเพศ

พรรคชาติพัฒนากล้าปฏิรูปกระทรวงศึกษา สร้างสิทธิมนุษยชนต่อทุกเพศ

พรรคชาติไทยพัฒนาผลักดันให้ครูเข้าใจความหลากหลาย

พรรคไทยสร้างไทยสนับสนุนการจัดหลักสูตรสร้างความเข้าใจในโรงเรียนในทุกสังกัด

พรรคประชาธิปัตย์เพิ่มหลักสูตรเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศ

พรรคเพื่อชาติแก้กฎกระทรวงให้นักเรียนแต่งตัวตามเพศสภาพได้ ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากใคร

พรรคเสมอภาคปรับปรุงหลักสูตรแกนกลาง โดยเฉพาะวิชาสุขศึกษา ขจัดการเลือกปฏิบัติ และให้แต่งกายตามเพศสภาพได้

พรรคเปลี่ยนอนาคตเสนอเปลี่ยนกระทรวงศึกษาเป็นกระทรวงปัญญาเพราะต้องมองไปถึงการสร้าง Knowledge

หมายเหตุ : พรรคการเมืองที่ไม่ได้กล่าวถึงนโยบายต่างๆ อาจไม่ได้หมายความว่าไม่มีนโยบายนั้นๆ แต่อาจไม่ได้หยิบยกขึ้นมาในระหว่างการตอบคำถาม หรือไม่ได้มีช่วงเวลาในการตอบเนื่องจากกติกาที่ทางผู้จัดกิจกรรมกำหนด

สามารถรับไลฟ์ย้อนหลังได้ทางประชาไท : https://www.youtube.com/watch?v=3viGdBb1LsA 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า