SHARE

คัดลอกแล้ว

แฮกเกอร์เหิมปล่อยคลิปเรียกค่าไถ่ ข้อมูลคนไทย 55 ล้านคน รมว.ดีอีเอส สั่งตั้งทีมล่าแฮกเกอร์พร้อมปิดกั้นเว็บไซต์แล้ว ด้าน ธปท.ยันไม่พบข้อมูลรั่วไหลจากธนาคารแห่งประเทศไทย

Cyber crime, A hacker using a virus to attack software

จากกรณีมีผู้ใช้งานบัญชี 9near โพสต์ขายข้อมูลที่อ้างว่าเป็นข้อมูลส่วนตัวของคนไทยกว่า 55 ล้านรายการ บนเว็บไซต์ Bleach Forums อ้างเป็นไฟล์ข้อมูลรายชื่อ วันเกิด ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และมีการแอบอ้างใส่ชื่อนายปริญญา หอมเอนก เป็นผู้สนับสนุน และให้ผู้คิดว่าข้อมูลของตนรั่วไหล ติดต่อกลับไปก่อนวันที่ 5 เม.ย. 16.00 น. เวลาประเทศไทย ไม่เช่นนั้นจะทําการเผยแพร่ข้อมูล ทั้งนี้ อ.ปริญญาฯ ได้เข้าแจ้งความกับกองบังคับการ ปราบปรามการกระทําผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) แล้ว ในวันเดียวกัน

ล่าสุดวานนี้ (31 มี.ค. 2566) นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ผู้ใช้งานบัญชี 9near ได้โพสต์ขายข้อมูลที่อ้างว่าเป็นข้อมูลส่วนตัวของคนไทยกว่า 55 ล้านรายการ บนเว็บไซต์ Bleach Forums โดยอ้างว่าได้มาจากหน่วยงานรัฐแห่งหนึ่งในไทย (Somewhere in government) และโพสต์ ตัวอย่างไฟล์ ซึ่งมีชื่อ นามสกุล ที่อยู่ วันเกิด เบอร์โทรศัพท์ และเลขประจําตัวประชาชน รวมทั้งมีการโพสต์ ลักษณะข่มขู่หน่วยงานและประชาชนในวงกว้าง

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ดำเนินการดังนี้ 

1) ประสานผู้ให้บริการ domain name สําหรับเว็บไซต์ 9near.org (Namesilo, LLC) ซึ่งเป็น ผู้ให้บริการในต่างประเทศ เพื่อขอปิดกั้นเว็บไซต์ 9near.org ตั้งแต่วันพุธที่ 29 มี.ค. 66 เวลา 19.00 น. เนื่องจากมี การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น และระบุข้อความในลักษณะข่มขู่ให้ผู้คิดว่าข้อมูลของตนรั่วไหล ติดต่อกลับไป ซึ่งเข้าข่ายกระทบต่อความมั่นคงของประเทศทําให้ประชาชนตื่นตระหนก ซึ่งขณะนี้ ยังไม่ได้รับการตอบรับหรือ ดําเนินการจากผู้ให้บริการ

2) ดําเนินการขอคําสั่งศาลตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งอาจเข้าข่าย

• มาตรา 14 (2) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทาง เศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่น ตระหนกแก่ประชาชน หรือ

• มาตรา 20 (2) ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามท่ี กําหนดไว้ในภาค 2 ลักษณะ 1 หรือลักษณะ 1/1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

ในขณะเดียวกันได้ประสานผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศ (เช่น AIS True NT) เพื่อดําเนินการปิดกั้นเว็บไซต์ดังกล่าวด้วย นอกจากนี้ ดศ. อยู่ระหว่างประสานสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) เพื่อสอบถามข้อมูลว่ามีหน่วยงานภาครัฐแจ้งว่ามีข้อมูลรั่วไหลหรือไม่

ทั้งนี้ โทษที่เกี่ยวข้องสูง โดยความผิดตามพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ฯ โทษสูงสุด จําคุก 5 ปี และการนําข้อมูล ส่วนบุคคลไปใช้อย่างผิดกฎหมาย เข้าข่ายผิด พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อาจถูก จําคุก 1 ปี หรือปรับ 1 ล้าน บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ต่อ 1 กรรม หรือต่อผู้เสียหาย 1 คน ได้ ซึ่งทําให้คนร้ายอาจถูกลงโทษจําคุกเป็น ร้อยปีได้ขึ้นกับข้อเท็จจริง และข้อมูลที่นําไปใช้กระทําผิดกฎหมายหรือเผยแพร่ทําให้ผู้อื่นเสียหาย

3) ได้ประสานสํานักงานตํารวจแห่งชาติเพื่อหาข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง และดําเนินการหาตัวผู้กระทํา ความผิด

นายชัยวุฒิ กล่าวว่าได้สั่งการให้เร่งจัดการอย่างเรื่องนี้อย่างเด็ดขาด ประสานตํารวจหาหลักฐานและตัว ผู้กระทําความผิดมาลงโทษ และขอฝากเตือนไปยังผู้ที่จะนําข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ผิดกฎหมาย ระวังโทษหนัก ทั้งจําคุกทั้งปรับ” ติดต่อ call center กระทรวงดิจิทัลฯ 1212 หรือ สายด่วน ตํารวจไซเบอร์ 1441

ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว. ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ธปท.ยันข้อมูลหลุดไม่สามารถนำไปใช้ทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน mobile banking ได้

น.ส.สิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับระบบการชำระเงินและคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ยืนยันว่า ไม่พบข้อมูลรั่วไหลจากธนาคาร โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้ร่วมกับศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศภาคการธนาคาร (TB-CERT) ภายใต้สมาคมธนาคารไทย (TBA) ในการตรวจสอบระบบของธนาคารแล้ว สถาบันการเงินมีระบบป้องกันข้อมูลของลูกค้าอย่างเข้มงวด และมีระบบตรวจจับความผิดปกติเพื่อให้การให้บริการทางการเงินมีความมั่นคงปลอดภัย

น.ส.สิริธิดา ระบุว่า ธปท.ได้เน้นย้ำให้สถาบันการเงินทุกแห่งต้องดำเนินการตาม พ.ร.ก. มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 อย่างเคร่งครัด  และในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน mobile banking ต้องมีหลายองค์ประกอบได้แก่ เครื่องโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการ ซึ่งต้องมีรหัสส่วนตัวในการเข้าใช้ รวมทั้งจะต้องยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมทางการเงิน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า