SHARE

คัดลอกแล้ว

ข่าวร้ายที่มักจะมากับช่วงฤดูร้อนคงหนีไม่พ้น ‘เด็กจมน้ำ’ ช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมาพบสถิติเด็กจมน้ำเสียชีวิตกว่า 900 ราย เฉลี่ยวันละ 2 ราย ส่วนใหญ่มักจะเกิดช่วงเดือนเมษายน และเหตุเกิดจากแหล่งน้ำธรรมชาติมากที่สุด

ช่วงฤดูร้อนเป็นช่วงที่เด็กปิดเทอม เด็กๆ อาจจะชวนกันไปเล่นน้ำกันตามลำพัง โดยขาดการดูแลจากพ่อแม่หรือผู้ปกครอง จนนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุจมน้ำได้ สอดคล้องกับข้อมูลของกรมควบคุมโรค เปิดเผยสถิติช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ 2561-2565 พบเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จมน้ำเสียชีวิตในช่วงฤดูร้อนซึ่งตรงกับช่วงปิดเทอม (เดือนมีนาคม-พฤษภาคม) จำนวน 953 ราย ตกเฉลี่ยถึงวันละ 2 ราย ซึ่งเดือนเมษายนพบเหตุการณ์เด็กจมน้ำมากที่สุดมากถึง 65 ราย รองลงมาคือเดือนมีนาคม 64 ราย และเดือนพฤษภาคม 63 ราย โดยกลุ่มอายุที่มักจมน้ำเสียชีวิตอยู่ในช่วง 4-14 ปี เพศชายจมน้ำสูงกว่าเพศหญิงถึง 2.2 เท่าตัว

โดยแหล่งน้ำที่พบว่าเด็กจมน้ำมากที่สุดเป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติ 76.5%, เขื่อน/อ่างเก็บน้ำ/ฝาย 11.1%, ทะเล 5.3%, ภาชนะภายในบ้าน 3.5%, สระว่ายน้ำ/สวนน้ำ 1.8% สาเหตุหลักเกิดจากการเล่นน้ำ รวมถึงมีการพลัดตกลื่นด้วยแต่ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือขาดการดูแลจากผู้ปกครอง และขาดความรู้เรื่องแหล่งน้ำเสี่ยงอันตราย

ย้อนกลับไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา วันที่ 7 มกราคม 2566 สื่อไทยหลายสำนักรายงานว่าพบร่างหลังชวนกันไปเล่นน้ำที่คูน้ำ ระดับความลึกถึง 3 เมตร ซึ่งอยู่หลังสวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา หรือสวนใหญ่ อยู่ในตัวเมือง จ.สุรินทร์  พ่อแม่ร่ำไห้ขอโทษที่ดูแลลูกไม่ดี เหตุการณ์เกิดขึ้นระหว่างที่พ่อแม่กำลังขายลูกชิ้นอยู่บริเวณสวนสาธารณะใกล้คูน้ำแห่งนี้ ส่วนเด็กๆ ชวนกันไปเล่นน้ำรอระหว่างพ่อแม่ขายลูกชิ้นอยู่ ซึ่งจุดนี้ไม่ได้มีป้ายเตือน หรือที่กั้น ก่อนหน้านี้เคยมีรั้วลวดหนาม แต่มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ทำให้ไม่มีการติดป้ายเตือนหรือกั้นเป็นเขตพื้นที่ที่บ่งบอกว่าเป็นเขตน้ำลึกหรืออันตราย

 

แม้จะมีการถอดบทเรียนซ้ำแล้วซ้ำอีกแต่ดูเหมือนจะยังไม่นำไปสู่แนวทางการป้องกันอย่างจริง แต่ถ้าหลายภาคส่วนลองเปลี่ยนมานโยบายผลักดันให้ความรู้เด็ก-เยาวชน ปักหมุดกลุ่มเสี่ยงจมน้ำ ด้วยการฝึกทักษะ กู้ชีพ กู้ภัย เตรียมพร้อมรับมืออุบัติเหตุและภัยพิบัติ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นมี ความจำเป็นที่ต้องได้รับการฝึกอบรมที่ถูกต้อง เพื่อให้พร้อมต่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน หลักสูตรการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (Basic  CPR)  และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) จะทำให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้วิธีการช่วยเหลือและฝึกปฏิบัติจริงกับอุปกรณ์เพื่อให้ฝึกปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง เพราะการเจ็บป่วยฉุกเฉินหรืออุบัติสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา

พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา เลขานุการคณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย สภาผู้แทนราษฎร ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข ยังจำเหตุการณ์ในขณะที่ลงพื้นสำรวจสถานการณ์ ที่จ.ปัตตานี พบเคสเด็กจมน้ำเป็นเหตุการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ โดยไม่มีอะไรแจ้งเตือนว่าเป็นเขตอันตราย แม้ช่วยเหลือทำ CPR จนถึง โรงพยาบาล ก็ไม่สามารถช่วยชีวิตได้ทัน เพราะเด็กจมน้ำนานถึง 15 นาที และญาติช่วยเหลือผิดวิธีก่อนที่เจ้าหน้าที่กู้ชีพฉุกเฉินพบเจอ จึงตั้งเป้าแก้ปัญหาไปที่เด็ก-เยาวชน ที่บ้านอยู่ติดริมน้ำ ริมทะเล หรือในละแวกชุมชน ห้วย หนอง คลอง บึง ที่อาจสุ่มเสี่ยงอันตราย โดยได้วางโมเดลไว้ในภาคใต้ได้ร่วมกับกลุ่มลูกเหรียง จ.ยะลา และ รร.เดชะปัตตนยานุกูล จ.ปัตตานี เพราะมองว่าเด็ก-เยาวชน โดยเฉพาะเด็กอายุก่อน 14 ปี จะมี Growth Mindset สามารถจำ ทำ เลียนแบบ และส่งต่อการเรียนรู้แบบพี่สอนน้องได้ โดยเฉพาะคำว่า “ตะโกน โยน ยื่น” เมื่อพบเจอคนจมน้ำ เหตุฉุกเฉิน

นพ.อภิชาต วชิรพันธ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค มีคำแนะนำสำหรับผู้ปกครองในฤดูร้อนอย่างน้อยเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไปควรได้เรียนว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด เนื่องจากในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา เด็กขาดโอกาสในการเรียนว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และวิธีการช่วยเหลือคนตกน้ำหรือจมน้ำที่ถูกต้อง ส่วนเด็กเล็กต้องอยู่ในระยะที่แขน เอื้อมถึงหรือคว้าถึง ผู้ปกครองควรดูแลอย่างใกล้ชิด และควรสมเสื้อชูชีพให้เด็กๆ ก่อนลงเล่นน้ำ

ช่วยเหลือคนหัวใจหยุดเต้น 4 นาที ผู้ป่วยรอดชีวิตมากกว่า 4 เท่า กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ให้ความสำคัญกับการกู้ชีพฉุกเฉิน เนื่องจากที่ผ่านมาพบคนไทยเสียชีวิตโดยส่วนใหญ่เกิดจาก โรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจและหลอดเลือด โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และอุบัติเหตุ จมน้ำ ผู้ป่วยหรือผู้ได้รับบาดเจ็บเหล่านี้บางรายอาจมีภาวะการหยุดหายใจกะทันหัน ถ้าปล่อยไว้นานเกิน 4 นาที แม้จะช่วยให้ฟื้นคืนชีพกลับมาได้ ก็จะเกิดสภาวะการตายของสมองอย่างถาวร การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน จึงเป็นวิธีช่วยเหลือผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิตให้สามารถฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้ หรือที่เรียกว่า CPR มีการศึกษาวิจัยที่ว่าหากผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือทันทีหลังจากหัวใจหยุดเต้นภายใน 4 นาที จะทำให้ผู้ป่วยรอดชีวิตมากกว่า 4 เท่า พร้อมให้ความสำคัญการพัฒนาระบบกู้ชีพ-กู้ภัย

ที่ผ่านมาได้มีการขับเคลื่อนและพัฒนางานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เพื่อพัฒนาหลักสูตรที่จะทำให้หน่วยกู้ชีพมีความรู้ความสามารถในการเข้าช่วยชีวิตผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินในระดับพื้นที่ได้ทันในระดับเบื้องต้น เช่น หลักสูตร FR (First Response) ที่พัฒนาขึ้นให้กับทีมกู้ชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงการให้ความรู้กับประชาชนเบื้องต้นร่วมกับกรม ปภ. เพื่อให้สามารถช่วยชีวิตผู้ประสบเหตุหรือผู้ป่วยได้ทันท่วงที นอกจากนี้ยังจัดทำสื่อในรูปแบบคลิปวิดีโอ สร้างความรู้การใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator: AED) อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพา ในชื่อ “AED กระตุกหัวใจ เครื่องมือช่วยชีวิต ที่ทุกคนใช้ได้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า