SHARE

คัดลอกแล้ว

สำรวจครั้งที่ 2 นิด้าโพล เผย ‘แพทองธาร’ ยังรั้งอันดับ 1 คนสนับสนุนให้เป็นนายกฯ แต่ ‘พิธา’ คะแนนนิยมขยับเพิ่มขึ้น ส่วนคะแนนของ ส.ส. ที่ประชาชนจะเลือกทั้ง 2 แบบ ‘เพื่อไทย’ ก็ยังอยู่อันดับ 1 แต่ ‘ก้าวไกล’ คะแนนก็เพิ่มขึ้น

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ศึกเลือกตั้ง 2566 ครั้งที่ 2” สำรวจระหว่างวันที่ 3-7 เม.ย. 66 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับศึกเลือกตั้ง 2566 ครั้งที่ 2

การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจ เมื่อถามถึง “บุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี” ในการเลือกตั้งครั้งนี้ พบว่า

อันดับ 1 ร้อยละ 35.70 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย)

อันดับ 2 ร้อยละ 20.25 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล)

อันดับ 3 ร้อยละ 13.60 ระบุว่าเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ)

อันดับ 4 ร้อยละ 6.10 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้

อันดับ 5 ร้อยละ 6.05 ระบุว่าเป็น นายเศรษฐา ทวีสิน (พรรคเพื่อไทย)

อันดับ 6 ร้อยละ 4.15 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย)

อันดับ 7 ร้อยละ 3.45 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย)

อันดับ 8 ร้อยละ 2.55 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย)

อันดับ 9 ร้อยละ 2.20 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์)

อันดับ 10 ร้อยละ 1.95 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า)

อันดับ 11 ร้อยละ 1.45 ระบุว่าเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย)

และร้อยละ 2.55 ระบุอื่นๆ ได้แก่ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) นายมงคลกิตติ์  สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนากล้า) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) และนายบุญรวี ยมจินดา (พรรครวมใจไทย)

สำหรับ “พรรคการเมืองที่ประชาชนจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต” พบว่า

อันดับ 1 ร้อยละ 47.20 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย

อันดับ 2 ร้อยละ 21.20 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล

อันดับ 3 ร้อยละ 10.80 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ

อันดับ 4 ร้อยละ 4.75 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์

อันดับ 5 ร้อยละ 3.75 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย

อันดับ 6 ร้อยละ 2.75 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ

อันดับ 7 ร้อยละ 2.15 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย

อันดับ 8 ร้อยละ 2.10 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ

อันดับ 9 ร้อยละ 2.05 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย

อันดับ 10 ร้อยละ 1.50 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า

และร้อยละ 1.75 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคกล้า พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคประชาชาติ พรรคไทยภักดี พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคสร้างอนาคตไทย และพรรคเทิดไท

ส่วน “พรรคการเมืองที่ประชาชนจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ” พบว่า

อันดับ 1 ร้อยละ 47.00 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย

อันดับ 2 ร้อยละ 21.85 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล

อันดับ 3 ร้อยละ 11.40 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ

อันดับ 4 ร้อยละ 4.50 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์

อันดับ 5 ร้อยละ 3.00 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย

อันดับ 6 ร้อยละ 2.65 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย

อันดับ 7 ร้อยละ 2.35 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ

อันดับ 8 ร้อยละ 2.10 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย

อันดับ 9 ร้อยละ 1.80 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ

อันดับ 10 ร้อยละ 1.55 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า

และร้อยละ 1.80 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคกล้า พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคประชาชาติ พรรคไทยภักดี พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคสร้างอนาคตไทย และพรรคเทิดไท

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.60 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.95 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.45 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.75 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.70 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.10 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.90 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.80 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.95 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.65 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.70 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.80 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.20 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.00 นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอื่นๆ

ตัวอย่าง ร้อยละ 33.60 สถานภาพโสด ร้อยละ 64.35 สมรส และร้อยละ 2.05 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 25.20 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 34.80 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.80 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.65 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.55 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 9.75 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.45 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.25 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.95 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.45 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 18.90 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 6.25 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 22.05 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 20.60 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 27.65 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 9.75 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.60 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.65 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.70 ไม่ระบุรายได้

[‘พิชาย’ ตีความผลโพล 2 ครั้ง ‘เพื่อไทย’ คะแนนลดในรอบปีเศษ]

รศ.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผู้อำนวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้ตีความผลโพลศึกเลือกตั้งครั้งที่ 2 ระบุว่า มีผู้นำการเมือง 3 คนที่คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น ที่เหลือมีแนวโน้มลดลง บุคคลที่คะแนนนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญคือ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และมี 3 พรรคที่คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น ที่เหลือมีทิศทางลดลง พรรคที่มีคะแนนนิยมเพิ่มขึ้นอย่างนัยสำคัญคือ พรรคก้าวไกล

รศ.พิชาย ระบุด้วยว่า ก่อนวันรับสมัครเลือกตั้ง นิด้าโพลสำรวจความนิยมนักและพรรคการเมืองรอบแรกเมื่อกลางเดือนมีนาคม 2566 ถัดมาหลังสมัครรับเลือกตั้ง ก็ได้สำรวจครั้งที่สองในช่วงต้นเดือนเมษายน พบข้อมูลที่น่าสนใจ คือ

1. ในการสำรวจครั้งที่สองแม้ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร จะได้รับความนิยมมากเป็นลำดับหนึ่ง แต่คะแนนนิยมของเธอกลับลดลงประมาณ 2.5% เป็นครั้งแรกในรอบหลายเดือนนับตั้งแต่เธอลงสนามการเมืองที่คะแนนนนิยมมีทิศทางลดลง ซึ่งอธิบายได้ 2 แง่มุม อย่างแรกคือ การปรากฏตัวของนายเศรษฐา ทวีสิน ในฐานะผู้สมัครตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในพรรคเดียวกันมีผลกระทบต่อคะแนนนิยมของเธอ โดยผู้เลือกตั้งที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทยจำนวนหนึ่ง ที่เคยสนับสนุนคุณแพทองธาร หันมาสนับสนุน คุณเศรษฐา แทน อย่างที่ 2 ได้รับผลกระทบจากแนวโน้มโดยรวมของกระแสความนิยมพรรคเพื่อไทยที่เริ่มมีทิศทางลดลง

2. เป็นครั้งแรกในรอบปีเศษ ที่ความนิยมของพรรคเพื่อไทยลดลง นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565  ปีกว่าที่ผ่านมาที่นิด้าโพลสำรวจความนิยมทางการเมือง คะแนนนิยมของพรรคเพื่อไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง   แต่ในการสำรวจครั้งนี้ช่วงต้นเดือนเมษายน 2566 คะแนนนิยมพรรคเพื่อไทยกลับลดลง

เมื่อเทียบกับการสำรวจในเดือนมีนาคม 2566 ในกรณี ส.ส. แบบแบ่งเขต ความนิยมของพรรคเพื่อไทย จาก 49.75 % เหลือ 47.20 %  หรือลดลง 2.55 % และกรณี ส.ส. บัญชีรายชื่อ ลดลงจาก 49.85 % เหลือ 47.00 % หรือลดลง 2.85 % คะแนนการลดลงของการเลือก ส.ส. ทั้งสองแบบ สอดคล้องกับคะแนนนิยมที่ลดลงของคุณแพทองธาร และสัดส่วนการลดก็ใกล้เคียงกัน   ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า คะแนนนิยมพรรคที่ลดลงส่งผลต่อการลดลงของคะแนนนิยมในตัวคุณแพทองธารด้วย

3. รายชื่อของคุณเศรษฐา เริ่มปรากฏใน 10 บุคคลแรกที่ประชาชนสนับสนุนเป็นนายกรัฐมนตรี  โดยได้ลำดับที่สี่ ต่อจากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา  แต่ก็ยังตามลำดับหนึ่งและสองอยู่มากทีเดียว

4. คะแนนนิยมของพรรคก้าวไกลยังคงมีทิศทางเพิ่มขึ้น แลเพิ่มในอัตราที่ค่อนข้างสูง ในส่วนหัวหน้าพรรค คุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ มีคะแนนนิยมเพิ่มขึ้นจาก 15.75 % เป็น 20.25 % หรือเพิ่ม 4.5 %   ซึ่งเป็นการเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญ สอดคล้องกับคะแนนนิยมการเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต ที่เพิ่มขึ้นจาก 17.40 % เป็น 21.20 % หรือเพิ่มขึ้น 3.8 %  และคะแนนนิยม ส.ส. บัญชีรายชื่อเพิ่มขึ้น จาก 17.15 % เป็น 21.85 % หรือเพิ่มถึง 4.7 %

สาเหตุหลักที่คะแนนนิยมของพรรคก้าวไกลเพิ่มขึ้น เพราะผู้สมัครพรรคนี้ ทั้ง ส.ส. แบ่งเขต และบัญชีรายชื่อ เป็นเพราะประชาชนเห็นและรับรู้นโยบายของพรรค และความสามารถในการคิดและพูดที่โดดเด่นของผู้สมัครจากการหาเสียงและการแสดงออกในเวทีดีเบตผ่านสื่อมวลชนมากขึ้นนั่นเอง

5. คะแนนนิยมของพรรครวมไทยสร้างชาติมีทิศทางลดลง ทั้งตัวผู้นำพรรคอย่างพลเอกประยุทธ์ และ ส.ส.แบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ คะแนนนิยมพลเอกประยุทธ์ลดลงจาก 15.65% เหลือ 13.60 หรือลดลง 2.05 %  ส.ส.แบบแบ่งเขตลดลงจากร้อยละ 11.75% เหลือ 10.80 % หรือลดลง 0.90 %  ส่วนคะแนน ส.ส.บัญชีรายชื่อลดลงจาก 12.15 % เหลือ 11.40 % หรือลดลงร้อยละ 0.75 %

6. พรรคอื่นๆ คะแนนนิยมก็มีทิศทางที่ลดลง แม้จะลดไม่มากก็ตาม เช่น  พรรคประชาธิปัตย์ เสรีรวมไทย ไทยสร้างไทย พลังประชารัฐ ขณะที่พรรคภูมิใจไทยมีทิศทางเพิ่มขึ้น แม้จะยังไม่สูงเท่ากับช่วงก่อนหน้าที่ต้องเผชิญกับกระแสวิจารณ์เรื่องผลกระทบจากนโยบายกัญชา

นอกจากนี้ รศ.พิชาย ยังระบุถึงสิ่งที่น่าสังเกตคือ สัดส่วนการเพิ่มคะแนนนิยมของพรรคภูมิใจไทยในระดับ ส.ส. แบบแบ่งเขต สูงกว่า ส.ส. แบบบัญชีรายชื่ออย่างเห็นได้ชัด มีความเป็นไปได้สูงว่า พรรคภูมิใจไทยเริ่มขับเคลื่อนจักรกลทางการเมืองในระดับเขตเลือกตั้งเข้มข้นมากขึ้น และดูเหมือน จะสามารถต้านแรงกระแทกจากกระแสวิจารณ์ของนายชูวิทย์ระดับหนึ่ง เช่นเดียวกัน พรรคชาติพัฒนากล้าก็มีคะแนนนิยมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากที่ไม่อยู่ในสิบลำดับแรก ก็เริ่มปรากฏขึ้นมาในลำดับสิบ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

นิด้าโพล ‘แพทองธาร’ ขึ้นนำ สำรวจครั้งแรกศึกเลือกตั้ง 66 สนับสนุนให้เป็นนายกฯ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า