SHARE

คัดลอกแล้ว

เปิดทิศทางการต่างประเทศ กับ ‘ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ’ 1 ใน ว่าที่ ที่ปรึกษานโยบายการต่างประเทศของแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’

ทันทีที่ ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ตอบคำถามเรื่องประเทศเมียนมา ในงานแถลงการเซ็น MOU 8 พรรคร่วมรัฐบาล เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 22 พ.ค. 66 แล้วเอ่ยถึง ‘ฟูอาดี้ พิศสุวรรณ’ ทายาทของ ‘ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ’ อดีตเลขาธิการอาเซียนชาวไทย และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศว่า ‘ฟูอาดี้’ กำลังทำเรื่องนี้อยู่ในคณะกรรมการเปลี่ยนผ่านรัฐบาล (Transition Team) สปอตไลท์ของผู้ที่สนใจงานด้านต่างประเทศ ก็พากันจับจ้องมาที่ ดีกรีนักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (University of Oxford) ประเทศอังกฤษ คนนี้ แบบที่เจ้าตัวยอมรับว่า ทำให้เปลี่ยนชีวิตเยอะมากทันที

TODAY LIVE ในวันที่ 23 พ.ค. 66 คุยกับ ‘ฟูอาดี้’ ถึงที่มาที่ไปในการร่วมงานกับพรรคก้าวไกล พรรคการเมืองที่เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล หลังการเลือกตั้ง เมื่อ 14 พ.ค. 66 รัฐบาลที่จะมาเปลี่ยนผ่านอำนาจสู่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

‘ฟูอาดี้’ เริ่มเล่าว่า เขาได้ช่วยทำงานเบื้องหลังให้กับพรรคก้าวไกลหลายอย่าง ผ่านคนคุ้นเคยกัน คือ ‘ไอติม-พริษฐ์ วัชรสินธุ’ ผู้จัดการการสื่อสารและการรณรงค์นโยบายของพรรคก้าวไกล แล้ววันหนึ่งไอติมก็ขอให้มาช่วยงานด้านต่างประเทศ ซึ่งพรรคก้าวไกล ทำงานค่อนข้างเป็นระบบอยู่แล้ว โดยจะมี ‘กลุ่มคิดนโยบาย’ ที่เจอกันทุกเดือน คุยกันเป็นปีแล้ว ผ่านซูมบ้าง เจอตัวบ้าง ใครมีไอเดียอะไร ติดตามข่าวสาร โดยตนจะนำไอเดียต่างๆ เหล่านั้น ทำออกมาเป็นนโยบายที่จับต้องได้ จากนั้นก็ส่งเข้าในกลุ่มคณะกรรมการนโยบาย (Policy Board) ซึ่งจะเป็นผู้เลือกว่า จะใส่อะไรเข้าไปในนโยบาย 300 ของพรรค

เปิดเป้าหมายการทำงานในคณะกรรมการเปลี่ยนผ่านฯ ด้านการต่างประเทศ

‘ฟูอาดี้’ อธิบายว่า คณะกรรมการเปลี่ยนผ่านฯ ของ ‘พิธา’ มี 3 ขา คือ 1.ผู้มีส่วนร่วมในประเทศ เช่น สภาหอการค้า, สภาอุตสาหกรรมต่างๆ 2.องค์กรในต่างจังหวัด และ 3.ด้านการต่างประเทศ ซึ่งความสำคัญของคณะทำงานเปลี่ยนผ่านฯ นี้ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนอำนาจจากรัฐบาลหนึ่งสู่อีกรัฐบาลหนึ่งเหมือนในอดีต แต่เป็นการเปลี่ยนพื้นฐานทางความคิดว่า ประเทศชาติควรเดินหน้าไปอย่างไรด้วย เพราะสามารถพูดได้อย่างเต็มปากแล้วว่า เราเป็นรัฐบาลที่ได้รับฉันทามติจากประชาชน เป็นประชาธิปไตย มีเครื่องมือด้านการต่างประเทศเพิ่มขึ้น ดังนั้นต้องช่วย ‘พิธา’ คิดว่า จะต้องเปลี่ยนผ่านอย่างไร ต้องเริ่มบอกแล้วว่า แนวคิดทางการต่างประเทศตามพื้นฐานของสังคมของประเทศ ตามความชอบธรรมที่เปลี่ยนไป ต้องสื่อสาร ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ โดยเฉพาะนโยบายที่ได้สัญญากับประชาชนไว้แล้ว ที่สำคัญต้องบอกว่า เครื่องมือด้านต่างประเทศเปลี่ยนไปแล้ว

“ศิลปะแห่งการดำเนินงานการต่างประเทศ”

“เมื่อก่อนเราเปิดกล่องดินสอมา Art Box ของเรามีแต่สีเขียว มีตัวเลือกไม่เยอะ แต่ตอนนี้เรามีสีส้ม สีแดง มีหลายๆ อย่างเพิ่มขึ้นเยอะ เราสามารถมีลูกเล่น วาดรูปได้สวยงามขึ้น มีสีสันขึ้น จะใช้สีเขียวตอนไหน สีเขียวยังมีความสำคัญนะ ตอนไหนจะใช้สีส้ม ตอนไหนจะใช้สีแดง จะใช้สีน้ำเงิน มันมีตัวเลือกเพิ่มขึ้น… แค่มันเปลี่ยนตรงนั้น มันทำให้ปลดล็อกศักยภาพกระทรวงการต่างประเทศได้เยอะมาก… ถ้าเอาความสามารถบุคลากรของกระทรวงการต่างประเทศชุดเดิม แค่เปลี่ยนให้เครื่องมือเขาเพิ่ม เขาจะทำงานได้มีประสิทธิภาพมาก”

“ถ้าเราพูดกันเรื่องการต่างประเทศใช่ไหมครับ ผมเป็นคนที่เคารพรัฐมนตรีดอน (ดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศปัจจุบัน) มาก รู้จักกันมาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่คุณพ่อยังมีชีวิตอยู่เลยครับ แต่ต้องเข้าใจว่าในช่วงของรัฐมนตรีดอน เหมือนที่ผมบอก อุปกรณ์ เครื่องมือในด้านการต่างประเทศมันถูกจำกัด ตอนนี้มันเปิดมันมีหลายสีสัน มีดินสอสีที่แบบสีหลากหลายมากๆ ต้องใช้ตรงนั้นให้เป็นประโยชน์ เอาเครื่องมือนี้ไปให้คนเดิม เขาอาจจะเลือกแนวทางที่ต่างไป ผมกำลังบอกว่า เครื่องมือมันต่างๆ ไปแล้วนะ เรามีตัวเลือกอื่นๆ และเราควรใช้อย่างรอบคอบ อย่างระมัดระวัง แต่เราเปลี่ยนได้”

ไม่มีแน่นอน! ปฏิเสธกระแสข่าวจะให้ ‘อเมริกา’ มาตั้งฐานทัพในไทย

‘ฟูอาดี้’ ชี้แจงกระแส ถ้าก้าวไกลเป็นรัฐบาล สหรัฐอเมริกาจะเข้ามาตั้งฐานทัพในไทยว่า ในวิธีการทำงาน 1 ปีที่ผ่านมา ในการทำนโยบายด้านการต่างประเทศ ไม่เคยมีการพูดถึงเรื่องการให้ฐานทัพอเมริกาเข้ามาตั้ง แล้วส่วนตัวคิดว่าไม่เป็นประโยชน์กับประเทศไทยเลยในการตั้ง ‘พิธา’ พูดเสมอคือ อยากจะรีบาลานซ์ (Rebalance) หมายถึงการทำตัวเองให้ประเทศมองตัวเองเป็น มีอำนาจมากพอที่จะต่อรองกับอเมริกาได้ ต่อรองกับจีนได้ อะไรที่อเมริกาทำผิด เราต้องบอกว่าทำผิด อะไรที่รัสเซียผิด เราต้องบอกว่าผิด อะไรที่จีนทำผิดเราต้องบอกว่าผิดได้ อะไรก็ตามที่เป็นผลประโยชน์ต่อประเทศไทย เราต้องพูด เราต้องบอก และเราต้องมีอำนาจต่อรองมากพอ 

“ไม่มีแน่นอน และไม่คิดว่าอเมริกาอยากมาตั้งด้วย เพราะต้องใช้เงินเยอะ เราเคยมีอยู่ช่วงจอมพลสฤษดิ์ (ธนะรัชต์) ตอนช่วงยุคสงครามเย็น ใช้เป็นฐานทัพเพื่อที่จะเอาเครื่องบินไปรบที่เวียดนามตอนนั้น ตอนนี้มันไม่มีปัญหาแบบนั้นไม่มีอะไร เขาไม่ได้มาขอเรา เราไม่อยากให้เขามา เขาก็ไม่อยากจะมาเท่าไหร่ แต่มันมีปัญหาเยอะจากการตั้งฐานทัพในตอนนั้น ซึ่งเราก็เรียนรู้กันมา เราเรียนรู้แล้วเราก็ไม่อยากให้เขามาตั้งหรอกครับ ทุกประเทศที่มีฐานทัพอเมริกาอยู่ตอนนี้มีปัญหา โอกินาว่าทุกคนอยากให้ออกมา ไปได้แล้ว ที่โซลอาจจะยังจำเป็นเพราะเขามีเกาหลีเหนืออยู่แต่ประชาชนไม่ได้แฮปปี้”

‘ฟูอาดี้’ ยังเปิดเผยถึงผลกระทบจากการที่ไทยเคยเป็นฐานทัพให้อเมริกาในยุคสงครามเย็น ซึ่งเขาเกริ่นว่าอาจเป็นข้อมูลที่ยังไม่ได้รับทราบกันในวงกว้างว่า มีเรื่องสารเคมีที่ไปพ่นในเวียดนาม ตอนสงครามเวียดนาม เพื่อให้ต้นไม้ตาย นักต่อสู้จะได้หลบไม่ได้ แล้วมันเป็นสารเคมีที่เกิดความพิการในหลายเจเนอเรชั่น (Generation) ตอนนี้ กระทรวงทหารผ่านศึกของอเมริกา บอกว่า ใครก็ตามที่เคยทำงานในฐานทัพอเมริกาในไทย สามารถได้ประกันและสามารถเข้าไปรักษาผลกระทบจากสารเคมีตัวนี้ได้ ในไทยอาจมีสารเคมีนี้ตกค้างอยู่ เป็นเรื่องที่ไม่เคยพูดผ่าน อยากจะไปตรวจฐานทัพเก่าของอเมริกาในประเทศไทยว่า มีสารอะไรพวกนี้อยู่หรือไม่ ถ้ามีการทำอะไรผิดก็ต้องบอกว่าเขาทำผิด เขาก็ต้องช่วยเรา อะไรที่เขาทำไม่ดีก็ต้องบอก อะไรที่ตรงกับเขาในเชิงแนวคิดเสรีนิยมเราก็ไปกับเขาได้ ในทางการค้าการขาย เราก็ต้องออกไปจีน จีนก็ต้องนำเข้านักท่องเที่ยวจีนก็ยังมา มันต้องทำให้ดีต้องบาลานซ์ให้ดี เราเชื่อว่าเราทำได้ และเราไม่เชื่อว่าจะเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง

“สีเขียวโคตรสำคัญเลย ความมั่นคง ผมยังเชื่อว่าเราควรจะมีกองทัพ การทหารที่แข็งแกร่ง แต่แข็งแกร่งอย่างไร ทำการเมืองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จำเป็นไหมต้องมีพลทหารเยอะขนาดนี้ใช้เทคโนโลยีมาช่วยอะไรได้บ้าง ผมเชื่ออย่างมากผมเรียนมาด้านนี้ตลอด ทำมาตลอด กองทัพไทยต้องแข็งแกร่งและต้องสามารถคานอำนาจกับประเทศเพื่อนบ้าน คานอำนาจกับจีนอาจจะไม่ได้ บางอย่างอาจจะต้องใช้เล่ห์เหลี่ยมใช้เล่ห์กลกันบ้าง ในการที่จะบาลานซ์เราจะทำยังไง คือคิดว่ายังไงคนที่เรียนมาแบบผมยังไงกองทัพก็มีความสำคัญ แต่แค่จะเป็นกองทัพแบบไหน กองทัพที่อยู่ภายใต้ประชาชนหรือเปล่า คือเชื่อประชาชน เพราะประชาชนเป็นคนเสียภาษีให้คนในกองทัพใช่ไหม อาวุธอะไรต่างๆ  เราก็เป็นคนจ่าย เพราะฉะนั้นเขาต้องฟังคำสั่งจากประชาชน แต่เขาเองก็จะมีฟีดแบคบางอย่างที่เขาอยู่หน้างาน เขาก็มาบอกเรา เราก็บอกประชาชน มันก็เป็นการทำงานร่วมกันที่น่าจะดี”

ฝุ่น PM 2.5 เป็นเรื่องการต่างประเทศ

ฟูอาดี้ ยังพูดถึงปัญหา PM 2.5 ที่ไทยต้องเผชิญโดยเฉพาะที่ปีนี้วิกฤติติดอันดับโลกว่า ที่ผ่านมาเราไม่คิดว่ามันเป็นเรื่องการต่างประเทศ แต่จริงๆ มันเป็น มีมติการเมืองภายใน สังคมภายใน มิติของกฎหมาย สิ่งแวดล้อมที่ต้องทำ สมมุติเราเพิ่มภาษีนำเข้าจากข้าวโพดจากเมียนมา สปป.ลาวเพิ่มขึ้น หรือพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้มาจากการเผาป่า การต่างประเทศเป็นส่วนหนึ่งแน่นอน อีกเรื่องคือแก๊งคอลเซนเตอร์ เมื่อก่อนอยู่ในที่กัมพูชา แต่เดี๋ยวนี้อยู่ที่เมียนมา เคยไปคุยกับกระทรวงการต่างประเทศของมาเลเซียเขาบอกว่านี่คืออันดับ  1 ของเขาในการจะแก้ปัญหานี้ เพราะมีคนมาเลย์ที่ถูกหลอกไปนั่งอยู่ที่เมียนมาแล้วโทรศัพท์เข้ามาในมาเลเซียแล้วหลอกเพื่อสแกมให้โอนเงิน นี่ก็เป็นปัญหาต่างประเทศเหมือน ไม่ใช่แค่เรื่องมหาอำนาจ

นอกจากนี้ ‘ฟูอาดี้’ ยังตอบอีกหลายคำถามที่หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วไทยจะกลายเป็นเหมือน ‘ยูเครน’ หรือไม่ บทบาทของไทยในเมียนมาที่ ‘ฟูอาดี้’ บอกว่า เรื่องในเมียนมากระทบกับชีวิตของคนไทยโดยตรง รวมถึงเป้าหมายที่จะทำให้พาสปอร์ตของไทยเข้มแข็งขึ้น ซึ่งตรงกับนโยบายของพรรคเพื่อไทยด้วย และด้านสิ่งแวดล้อมในเวทีโลก เมื่อ ‘รัฐบาลพิธา’ ได้เข้ามาบริหารประเทศ

ติดตามทั้งหมดได้ในคลิปสัมภาษณ์เต็ม : 


 

My Country Talks ร่วมกับสำนักข่าว TODAY ขอเชิญผู้ที่มีความสนใจ เข้าร่วมกิจกรรม World Talks ที่จะชวนคนจากหลากหลายพื้นที่ของโลกมาแลกเปลี่ยนไอเดีย เรื่องราว มุมมอง ผ่านการสนทนาแบบ 1:1

ผู้เข้าร่วมจะได้รับโอกาสพูดคุยกับผู้ที่มาจากต่างวัฒนธรรม ต่างบริบท ต่างแนวคิด โดยคัดจากการตอบคำถามในแง่มุมต่างๆ

หากท่านสนใจเข้าร่วม สามารถเริ่มต้นจากการตอบคำถามด้านล่างนี้ หรือเข้าไปที่ https://www.theworldtalks.org/invite

*คำถามและบทสนทนาเป็นภาษาอังกฤษ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า