SHARE

คัดลอกแล้ว

สรพ. ลงพื้นที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ นำเสนอกระบวนการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลที่ใช้นวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน ชูนวัตกรรมเด่น “ICU without walls” และ การพัฒนา “ระบบโลจิสติกส์ภายในโรงพยาบาลหาดใหญ่ด้วย Digital Transformation” เพื่อเพิ่มคุณภาพในการให้บริการประชาชน ลดข้อผิดพลาด เพิ่มความปลอดภัย ลดความแออัด ลดภาระงานบุคลากรทางการแพทย์ผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) นำคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการสื่อสารสาธารณะ เข้าศึกษาเกี่ยวกับโรงพยาบาล HA โรงพยาบาลคุณภาพ ประจำปี 2566” โดยการเสนอนวัตกรรมทางการแพทย์ ICU without walls และการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ภายในโรงพยาบาลหาดใหญ่ด้วย Digital Transformation

พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) กล่าวว่า โรงพยาบาลหาดใหญ่มีทิศทางการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลที่ใช้นวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน และอยากให้บุคลากรในสถานพยาบาล ที่พบเห็นประเด็นปัญหาหน้างานแล้วอยากใช้นวัตกรรมไปแก้ไข โดยกระบวนการคือเราได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่ผลิตนวัตกรรม อย่าง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) แล้วให้นวัตกรมาประกบกับคนทำงาน เพื่อแก้ปัญหาเชิงระบบ โดยนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ มาลดข้อผิดพลาดของมนุษย์ซึ่งต้องยอมรับว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้ โดยตัวอย่างโครงการที่ สรพ. เริ่มต้นขึ้นคือ Patient And Personnel Safety (2P Safety) คือ 1. การทำให้ผู้ป่วยปลอดภัย 2. บุคลากรปลอดภัย ด้วยการใช้นวัตกรรมเข้ามาช่วย ซึ่งที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ก็มีนวัตกรรมที่ดี 2 เรื่อง ได้แก่ ICU without walls และการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ภายในโรงพยาบาลหาดใหญ่ด้วย Digital Transformation ซึ่งเกิดจากประเด็นปัญหา และพบว่าการดูแลคนไข้ที่มีจำนวนมาก ทำให้การวินิจฉัยล่าช้า การรักษาล่าช้า ทำให้ต้องคัดกรองให้ได้ก่อน โดยสิ่งที่จะเข้ามาช่วยให้การคัดกรองทำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น คือ นวัตกรรม

“ทางโรงพยาบาลหาดใหญ่ได้ส่งเรื่องนี้เข้ามา สวทช.ก็ได้ส่งนวัตกรเข้าไปประกบ และร่วมออกแบบนวัตกรรมขึ้นมา ซึ่งจะได้เห็นทั้ง Rapid Response Alert ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้วินิจฉัยได้ก่อน ว่าคนไข้มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต แต่การพัฒนาไม่ได้หยุดนิ่ง ได้พัฒนาต่อไปในเรื่องของการดูแลผู้ป่วยหนักที่ต้องได้รับการรักษาห้อง ICU เกิดเป็นนวัตกรรม ICU without walls ที่มาจากปัญหาห้องICU เต็ม เข้ายาก และเน้นการให้ความเห็นของแพทย์เจ้าของไข้ โดยอาศัยหัวใจสำคัญที่ว่าถ้าผู้ป่วยหนักเกิดความจำเป็นต้องเข้า ICU เขาต้องได้เข้า จึงมีการนำนวัตกรรมมาลดอคติของคน โดยใช้เกณฑ์อาการของคนไข้เป็นตัวชี้วัด ว่าอาการอะไร มีระดับสูงแค่ไหน ถึงอยู่ในเกณฑ์ที่จะเข้ารับการรักษาในห้อง ICU และใครที่ต้องออกไปรักษาตัวห้องผู้ป่วยใน และยังขยายผลไปใช้ภายนอกโรงพยาบาลทั่วประเทศ ที่ต้องการส่งต่อผู้ป่วยมารักษา ICU โรงพยาบาลหาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรมเกี่ยวกับระบบโลจิสติกส์ภายในโรงพยาบาลหาดใหญ่ด้วย Digital Transformation” พญ.ปิยวรรณ กล่าว

พญ.ชุติมา จิระนคร รองผู้อำนวยการศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลหาดใหญ่ กล่าวถึง การพัฒนา ICU without walls นวัตกรรมที่ผู้ป่วยวิกฤตทุกคนสามารถเข้าไปรักษาได้ โดยมีระบบการเก็บข้อมูลและประเมินอาการผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ เพื่อสามารถจัดลำดับอาการ และบริหารเตียงภายในห้อง ICU ได้ นอกจากนี้แพทย์เจ้าของไข้ที่ต้องส่งตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ ยังสามารถใช้งานล็อกอินเข้าระบบ LINE OA ในการจองเตียง ICU ก่อนส่งตัวมารักษา ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ต่อยอดมาจาก Rapid Response Alert ระบบการประเมินระดับอาการผู้ป่วย ที่ประมวลผลด้วยระบบดิจิทัล AI ผ่านการวัดไข้ วัดความดันโลหิต วัดระดับอัตราการเต้นหัวใจ ที่นอกจากจะลดระยะเวลาในการตรวจผู้ป่วยแล้ว ยังแสดงผลออกมาเป็นระดับอาการ สีเขียว สีเหลือง สีแดง แจ้งเตือนไปยังพยาบาลและแพทย์ เพื่อให้การรักษาได้อย่างทันท่วงที

รศ.ดร.นพ.ณรงค์ศักดิ์ นาขวัญ หัวหน้าศูนย์ HYs-MEST โรงพยาบาลหาดใหญ่ กล่าวว่า การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ภายในโรงพยาบาลหาดใหญ่ด้วย Digital Transformation มาจากปัญหาความล่าช้า ในอดีตที่โรงพยาบาลไม่มีทีมเวิร์ค เกิดปัญหาเปลไม่เพียงพอ การขนส่งในโรงพยาบาลยังมีความซ้ำซ้อน ทำให้ผู้ป่วยรอเปลนาน ปัญหาไม่มีออกซิเจน หรือถังออกซิเจนเก่าเป็นสนิม จึงเกิดเป็นระบบการขนส่งทางการแพทย์ที่รับรองเรื่องความปลอดภัย ที่เรียกว่าศูนย์ HYs-MEST เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง ที่รวมบุคลากรในโรงพยาบาลที่ทำงานด้านการขนส่งภายในกว่า 80 ชีวิต และจัดระบบบริหารงานขนส่งโดยการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบดิจิทัลให้มากที่สุด ปรับกระบวนการทำงานให้ใช้คนน้อยที่สุด แต่ครอบคลุมงานขนส่งมากที่สุด อย่างการสลับเปลี่ยนหน้าที่ตามความต้องการในช่วงเวลานั้น ๆ เช่น ในช่วงที่ต้องการเจ้าหน้าที่ส่งผลแล็บ จะดึงทีมที่ทำหน้าที่อีกฝ่ายที่ในช่วงเวลานั้นยังไม่มีงานเข้ามาดำเนินการแทน ซึ่งนอกจากจะทำให้บุคลากรทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ และช่วยให้ระบบการขนส่งภายในทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น แล้วยังสร้างคุณค่าให้กับบุคลากรที่ได้มีส่วนช่วยให้บริการผู้ป่วยทำได้รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ

นพ.ไชยสิทธิ์ เทพชาตรี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหาดใหญ่ กล่าวว่า โรงพยาบาลหาดใหญ่ได้รับการรับรองกระบวนการคุณภาพมาตรฐาน HA ครั้งแรกในปี พ.ศ 2545 โดยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบันได้รับการรับรอง Re-accreditation ครั้งที่ 6 และยังได้การรับรองมาตรฐานเฉพาะโรค/เฉพาะระบบ ในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ การรับรองมาตรฐานเฉพาะโรค/เฉพาะระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในปี พ.ศ. 2562 ด้วย ซึ่งโรงพยาบาลหาดใหญ่ ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนากลไกเพื่อคุณภาพและความปลอดภัยของระบบบริการสุขภาพอย่างมีส่วนร่วม หรือ 2P Safety Hospital ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 และเข้าร่วมโครงการนวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข (2P Safety Tech) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ซึ่งในอดีตมีคนไข้ที่เดินทางมาพบแพทย์จำนวนมาก บางคนไม่ได้นัดหมาย มากกว่าครึ่งจะมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยเข้ามาด้วย ทำให้เกิดปัญหาเรื่องความแออัดในโรงพยาบาล

ที่สำคัญโรงพยาบาลหาดใหญ่ ยังรับส่งต่อผู้ป่วยจากพื้นที่ใกล้เคียงด้วย และจากการพัฒนานวัตกรรมดังกล่าวข้างต้น ส่งผลให้สามารถลดความแออัดและลดงานแพทย์ลงได้อย่างมาก อีกส่วนคือการบริการโรคสำคัญ เช่น โรคมะเร็ง ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ในพื้นที่ ทางโรงพยาบาลหาดใหญ่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุขให้พัฒนาเรื่องโรคมะเร็ง ตั้งแต่การตรวจสอบ คัดกรองให้เร็ว เพื่อให้การรักษาได้ผลดี และมีเครื่องมือในการรักษาที่พร้อม ทั้งการผ่าตัด การฉายรังสีรักษา การพักฟื้นผู้ป่วย จึงเกิดเป็น “ศูนย์รังสีรักษา ศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลหาดใหญ่-นาหม่อม” ซึ่งเป็นโรงพยาบาลประจำอำเภอที่อยู่ใกล้เคียง ช่วยให้การเข้าพบแพทย์ การครองเตียงในโรงพยาบาลหาดใหญ่ลดลง ซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2564 ให้บริการผู้ป่วยในเขตสุภาพที่ 12 ประกอบด้วย 7 จังหวัด คือ ตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และยะลา

“โรงพยาบาลให้บริการผู้ป่วยมากกว่าวันละ 3,000 คน และการดูแลประชาชน ต้องไม่มีคำว่าเตียงเต็ม ไม่ปฏิเสธคนไข้ ดังนั้นการสร้างนวัตกรรมขึ้นมา ก็เพื่อลดประโยชน์ของประชาชน” นพ.ไชยสิทธิ์ กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า