SHARE

คัดลอกแล้ว

เป็นธรรมดาในชีวิตการทำงานที่จะต้องเจอกับความคิดเห็นอันหลากหลาย ทั้งแบบที่ฟังแล้วรับได้ ไปจนถึงแบบที่ฟังแล้วสร้างความสะเทือนใจ เสียใจ เพราะหีบห่อไว้ด้วยคำพูดรุนแรง-ความหมายทิ่มแทง ปราศจาก ‘วาทศิลป์’ ในการพูด หรือที่เรียกว่า ‘Bad Feedback’ 

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยได้รับ ‘Bad Feedback’ แล้วรู้สึกแย่ นั่นไม่ได้หมายความว่า คุณเป็นคนปิดกั้น ไม่รับความเห็นต่าง แต่เพราะเราเป็นมนุษย์ที่ยังมีความรู้สึกและยังแคร์อยู่ว่า ศักยภาพ-ผลงานของตัวเองจะเป็นเช่นไร

นักเขียนงานด้านจิตวิทยาบอกว่า ไม่ต้องรู้สึกแย่เมื่อเกิดความรู้สึกเหล่านี้ขึ้น แต่จงระลึกไว้เสมอว่า อย่างน้อยที่สุด คุณยังเป็นมนุษย์ทำงานคนหนึ่งที่ไม่ปิดกั้นความคิดเห็น ยังมีความกระตือรือร้นที่อยากจะพัฒนาตัวเองอยู่

เพียงแต่เราต้องมาหาคำตอบก่อนว่า ความหมายโดยนัยของฟีดแบ็กที่รุนแรงเหล่านี้มีอะไรที่สามารถหยิบมาเป็น ‘Key Takeaway’ ได้บ้าง

[ ทำความเข้าใจอารมณ์ของตัวเอง แกะความหมายใต้ความรุนแรง ]

ผู้เชี่ยวชาญด้านอารมณ์ในที่ทำงานให้ความเห็นว่า สิ่งแรกที่ต้องทำหลังได้รับ ‘Bad Feedback’ ไม่ใช่การรับคำวิจารณ์เหล่านั้นใส่ตัวทันที แต่ต้องหาทางแกะอารมณ์ก่อนว่า เรากำลังรู้สึกอะไรอยู่ โกรธ เสียใจ กลัว วิตกกังวล ฯลฯ

Liz Fosslien ผู้เขียนหนังสือขายดีจาก The Wall Street Journal ที่มีชื่อว่า ‘No Hard Feelings: The Secret Power of Embracing Emotion at Work and Big Feelings: How to Be Okay When Things Are Not Okay’ บอกว่า หากคุณเริ่มรู้สึกว่า ตนเองอยู่ในสภาวะที่มีอารมณ์ท่วมท้นไปหมดให้ลองพิจารณาและ ‘ตั้งชื่อ’ ให้อารมณ์เหล่านั้นดู

เมื่อได้รับคำพูดที่ไม่ดีเรามักติดอยู่ในวังวนของคำพูดเหล่านั้น Liz จึงแนะนำว่า ให้ดึงตัวเองออกจากสถานการณ์นั้นแล้วสร้างพื้นที่ปลอดภัยด้วยการตั้งสติแล้วมี ‘Self-talk’ กับตัวเอง 

เช่น คุณอาจจะพูดกับตัวเองว่า “ตอนนี้ฉันไม่พร้อมจะอยู่ที่นี่และจะค่อยกลับมาทีหลัง” หรือ “ฉันกำลังมีอารมณ์และปฏิกริยารุนแรงกับสิ่งที่หัวหน้าพูด และต้องการขอเวลานอก”

จากนั้นให้ประเมินระดับอารมณ์ของตัวเอง จาก 1 ถึง 10 ณ ตอนนี้เราอยู่ในเลเวลไหน และระดับใดที่เป็นเดดไลน์ของตัวเอง (ถ้า 10 คือโกรธมาก ถ้า 4 แปลว่าสงบลงแล้ว เป็นต้น)

หลังจากนั้นใช้วิธี ‘แยกเมล็ดข้าวออกจากแกลบ’ ความหมายก็คือ ใน ‘Bad Feedback’ ที่ได้รับมา ส่วนไหนคือข้อเท็จจริงหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และสามารถนำมาพัฒนาผลงานต่อได้

เพราะสำหรับบางคนแล้วแม้เขาจะพูดออกมาด้วยอารมณ์โกรธ คำพูดไม่น่าฟัง แต่คำพูดรุนแรงเหล่านั้นก็อาจจะช่วยต่อยอดให้คุณประสบความสำเร็จได้เหมือนกัน หัวหน้าของคุณอาจจะอ่อนด้อยทักษะทางการสื่อสารและไม่สามารถถ่ายทอดฟีดแบ็กออกมาได้ดีพอ

นี่เป็นอีกขั้นตอนที่ให้ความรู้สึก ‘ท้าทาย’ กับภาวะทางอารมณ์อยู่ไม่น้อย เพราะแม้จะเป็นกรณีที่เรารู้สึกไม่เห็นด้วยกับการใช้คำพูดและวิธีนำเสนอ แต่ให้ลองท้าทายตัวเองด้วยการค้นหาแง่มุมที่อีกฝ่ายพูดดู 

ผู้เชี่ยวชาญเปรียบเทียบว่า แม้จะมีแกลบเต็มถังและมีข้าวสารเพียงเมล็ดเดียว แต่ก็คุ้มที่จะลองค้นหาแล้วหยิบมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดดู ไม่แน่ว่า นั่นอาจจะเป็นเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณค่ากับคุณก็ได้นะ

[ ฟีดแบ็กกลับไป ตัดสินใจว่าจะ ‘ตกปลา’ หรือ ‘ตัดเบ็ด ]

เมื่อถอดรหัสฟีดแบ็กออกมาได้แล้ว หากคุณเห็นด้วยกับข้อเสนอเหล่านั้นให้หยิบมาทำตามดู จากนั้นอัปเดตให้หัวหน้าของคุณรู้ว่า คุณได้นำคำติชมมาพัฒนา-ปรับปรุงอย่างไรบ้าง หากไม่เห็นด้วยในจุดไหนให้อธิบายด้วยเหตุผลอย่างมีวุฒิภาวะ 

แน่นอนว่า ในจุดที่เป็นคำพูดรุนแรง ‘คุณ’ ในฐานะผู้ฟังและได้รับฟีดแบ็กนั้นโดยตรงก็มีสิทธิที่จะสะท้อนกลับไปให้หัวหน้ารับรู้ด้วยว่า วิธีถ่ายทอดคำพูดของเขาส่งผลกระทบกับคุณอย่างไรบ้าง

Liz เล่าว่า หนึ่งในผู้เข้าร่วมการเวิร์กชอปของเธอเล่าให้ฟังว่า เคยพูดอย่างตรงไปตรงมากับหัวหน้าที่ชอบพูดเสียงดังและตะคอกใส่บ่อยๆ ว่า “ฉันรู้ว่าตอนนี้คุณกำลังอารมณ์เสีย แต่เวลาคุณตะคอกใส่ฉัน ฉันทำงานต่อไม่ได้”

หลังจากนั้นหัวหน้าของเธอขอโทษและตระหนักได้ว่า เขาทำร้ายการทำงานของเธอโดยไม่ตั้งใจมากขนาดไหน หลังจากนั้นความรุนแรงทางคำพูดและอารมณ์ก็ลดลง สะท้อนให้เห็นว่า การพูดคุยอย่างตรงไปตรงมามีประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย

ในทางกลับกันก็มีหัวหน้าหลายคนที่ไม่สามารถยอมรับฟีดแบ็กได้ แต่การลาออกทันทีไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด เราอาจเริ่มจากการเว้นระยะห่าง เพราะหัวหน้าที่ไม่รับฟังและมีกำแพงย่อมสร้างความลำบากใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างลูกน้อง

แต่ถ้าเว้นระยะห่างและทำงานตามมาตรฐานไปสักพักแล้ว ยังเกิดช่องว่างที่เราและหัวหน้าต่อไม่ติด สื่อสารกันไม่ได้อยู่ นั่นก็อาจเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ได้ว่า เราควรไปต่อหรือพอแค่นี้ เราอาจลองปรึกษาผู้บริหารที่มีอำนาจเหนือกว่าดูว่าจะช่วยกันแก้ปัญหายังไงได้บ้าง

ถ้าสุดท้ายหัวหน้าไม่สามารถให้คำแนะนำดีๆ ที่เป็นประโยชน์กับการทำงานได้ การมองหางานใหม่ก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร แต่เป็นการเปิดโอกาสให้ตัวเองได้เจอกับสิ่งที่ดีที่ใช่มากกว่า

อ้างอิง  hbr 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า