SHARE

คัดลอกแล้ว

เหตุการณ์ที่ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ลาออกจากตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในช่วงเช้าวันนี้ (1 ก.ค. 2566) ได้กลายมาเป็นที่พูดถึงกันอย่างมากในโลกออนไลน์

สาเหตุหลักไม่ใช่แค่เรื่องการลาออกจากตำแหน่งเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวพันไปถึง พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ ที่ออกมาแสดงท่าทีกดดันก่อนหน้านี้

 

เหตุการณ์ก่อน พล.ต.อ.สมยศ ลาออก

จุดเริ่มต้นต้องย้อนกลับไปในที่ประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยฯ เมื่อ 10 ต.ค. 2565 ที่ พล.อ. ประวิตร กล่าวไว้ว่า “ฟุตบอลนี่แพ้ไม่ได้นะครับ ซีเกมส์เนี่ย แพ้ก็ต้องเอานายกสมาคมออก ต้องได้แชมป์นะครับ ผมฝากไว้เลย”

ต่อมา การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 32 ณ ประเทศกัมพูชา ช่วงเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา ในรอบชิงชนะเลิศ ฟุตบอลชายทีมชาติไทยแพ้ให้กับทีมชาติอินโดนีเซียไป 5-2 ในช่วงต่อเวลาพิเศษ คว้าได้เพียงเหรียญเงิน

นอกจากจะไม่ได้แชมป์แล้ว ระหว่างเกมยังเกิดเหตุชุลมุนขึ้น เมื่อนักฟุตบอลและสตาฟฟ์โค้ชไปทะเลาะวิวาทในจังหวะที่อินโดนีเซียยิงขึ้นนำ 3-2 กลายเป็นอีกเหตุการณ์อัปยศที่ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของฟุตบอลไทย

และเมื่อวานนี้ (30 มิ.ย. 2566) ในการประชุมสมัชชาใหญ่สามัญ ประจำปี 2565 คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย พล.อ. ประวิตร ได้ออกมาพูดถึงประเด็นดังกล่าวอีกครั้ง

โดย พล.อ. ประวิตร ระบุว่า “ไม่อยากให้ประเทศชาติเสียชื่อเสียง ด้วยสมาคม สมาคมเดียว ที่ทำให้สมาคมอื่นๆ เขาตั้งใจทำงานเสียหายไปด้วย จะต้องรับผิดชอบร่วมกัน เพราะฉะนั้นนายกสมาคมฟุตบอลฯ จะต้องลาออกนะครับ”

“โค้ชด้วยลงไปต่อยกับเขาได้ยังไงเสียหายหมด ทีวีถ่ายทอดสดไปทั่วโลก เขาเห็นกันหมด มันเป็นเรื่องใหญ่ไม่ใช่เรื่องเล็ก คนไทย 70 ล้านคนอายชาติอื่นมาก”

 

ปัญหาที่อาจตามมา

ในแถลงการณ์ลาออกของทาง พล.ต.อ.สมยศ มีข้อความที่อาจเป็นปัญหาอยู่ 2 ส่วนด้วยกัน 

ในส่วนแรก มีการระบุว่า “พลเอกประวิตรฯ ได้สั่งการให้ พลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อรับผิดชอบผลงานการแข่งขันฟุตบอล และเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทของนักฟุตบอลและสตาฟฟ์โค้ช ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ที่ประเทศกัมพูชา ตามคำแนะนำของ พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา”

ในขณะเดียวกัน แถลงการณ์ยังเอ่ยอย่างชัดเจนว่า “ตน (พล.ต.อ.สมยศ) ในฐานะนายกสมาคมฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแแล และจดทะเบียนกับการกีฬาแห่งประเทศไทย พร้อมที่จะปฏิบัติตามคำสั่งของ พลเอกประวิตรฯ”

จากข้อความเหล่านี้เอง ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่า อาจเป็นการขัดต่อข้อบังคับของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) ที่กำหนดว่า สมาคมฯ ต้องดำเนินกิจการอย่างเป็นอิสระ และปราศจากอิทธิพลจากบุคคลที่สาม

ผลของการละเมิดข้อบังคับดังกล่าว อาจส่งผลให้ทาง FIFA สั่งแบน ‘ทีมชาติไทย’ ออกจากการแข่งขันในระดับนานาชาติได้ หากมองว่าสมาคมฟุตบอลฯ ถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง

 

แม้ พล.อ. ประวิตร จะพูดในฐานะประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ แต่ในมุมมองของ FIFA นั้น สมาคมฟุตบอลที่ขึ้นตรงกับ FIFA ตามบทบัญญัติ (Statutes) หมายถึงผู้ที่ผ่านการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งเข้ามา ด้วยกระบวนการที่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งการันตีได้ว่าการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งนั้น เป็นไปอย่างอิสระเต็มที่  

ซึ่งที่ผ่านมา พล.ต.อ.สมยศ ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ ทั้ง 2 สมัย ตามกระบวนการเลือกตั้งจากสมาชิกตามปกติ ไม่ได้มาจากการแต่งตั้งของ พล.อ. ประวิตร แต่อย่างใด

โดยในสมัยที่ 1 ที่จัดการเลือกตั้งเมื่อก.พ. 2559 พล.ต.อ.สมยศ ได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้น 62 จาก 68 เสียง ขณะที่คู่แข่งอย่าง นายชาญวิทย์ ผลชีวิน ได้ 4 คะแนน และ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ได้ 1 คะแนน

ต่อมา ในสมัยที่ 2 ที่เลือกตั้งเมื่อเดือน ก.พ. 2563 พล.ต.อ.สมยศ ชนะ ดร.ภิญโญ นิโรจน์ ที่ในตอนนั้นดำรงตำแหน่ง ส.ส. นครสวรรค์ พรรคพลังประชารัฐ ไปด้วยคะแนน 51-17

 

อย่างไรก็ดี การลาออกของ พล.ต.อ.สมยศ ในครั้งนี้ จะต้องมีการแจ้งเหตุผลในการลาออกต่อ สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน (AFF) สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) และสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) อย่างเป็นทางการต่อไป

ซึ่งแฟนบอลชาวไทยคงต้องมารอดูกัน ว่าหลังจากชี้แจงไปแล้ว ทาง FIFA จะยังมองว่า สมาคมฟุตบอลฯ เป็น ‘อิสระ’ และ ‘ปราศจากการแทรกแซง’ อยู่หรือไม่

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า