SHARE

คัดลอกแล้ว

สัปดาห์ที่แล้วประเทศไทยกลายเป็น เดสติเนชั่นสำคัญของกลุ่มนักธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก คำว่า โพ้นทะเลหมายถึง นักธุรกิจชาวจีนที่อยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก อาทิ ชาวจีนในสิงคโปร์ ชาวจีนในมาเลเซีย พวกเขามารวมตัวกันในงานประชุม นักธุรกิจชาวจีนโลก World Chinese Entrepreneurs Convention คร้ังที่ 16 หรือ WCEC

ทำไมถึงมาจัดประเทศไทยได้ ปกติการประชุม WCEC จะจัดทุก 2 ปี หมุนเวียนประเทศเจ้าภาพ ประเทศไทยปีนี้ ถือว่าได้กลับมาเป็นเจ้าภาพอีกครั้งในรอบ 28 ปี ที่สำคัญช่วงสถานการณ์โควิดเกิดขึ้นทำให้ว่างเว้นการประชุมไปนาน ทำให้การประชุมคร้ังนี้คึกคักมาก มีผู้เข้าร่วมงานมากถึง 3,000 คน โดยเป็นนักธุรกิจชาวจีนทั้งในจีนเอง นักธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีน และนักธุรกิจจีนที่อยู่อาศัยในอีกกว่า 50 ประเทศมารวมตัวกันที่ประเทศไทย

โดยธีมการจัดงานครั้งนี้ คือ ฟื้นเศรษฐกิจโลกด้วยภูมิปัญญานักธุรกิจชาวจีน

พอนักธุรกิจเชื้อสายจีนทั่วโลกมากรุงเทพฯพร้อมกันนับพันๆคน ในช่วงการจัดงาน 4-5 วันในพื้นที่กรุงเทพฯ ประธานกรรมการหอการค้าไทย-จีน บอกว่า อีเวนต์นี้สร้างเงินสะพัดในระบบเศรษฐกิจไทยกว่า 500 ล้านบาท เพราะโรงแรม 4-5 ดาว โรงแรมริมแม่น้ำเจ้าพระยาถูกจองที่พักเต็มหมด รวมทั้งช่วยกระจายรายได้ไปถึงบริษัทนำเที่ยวต่าง ๆ เพราะนอกจากมาประชุม นักธุรกิจเหล่านี้มีโปรแกรมที่ทางหอการค้าไทย-จีน จัดให้ไปท่องเที่ยวพักผ่อนตามสถานที่ต่าง ๆ บ้างก็ไปช้อปปิ้ง ตีกอล์ฟ ชมสถานที่แลนด์มาร์คในกรุงเทพฯ

ประชุมครั้งนี้ประเทศไทยจะได้อะไร หลักๆคือบรรยากาศการประชุมในงานนี้ฝั่งประเทศไทยระดมภาคเอกชน ภาครัฐ มาร่วมต้อนรับ พร้อมเปิดฟอรั่มให้ข้อมูลนักลงทุน นักธุรกิจจีน โดยทางไทยส่งผู้บริหารทั้ง BOI EEC มาให้ข้อมูลการลงทุน ภาคการเงินมีธนาคารแห่งประเทศไทยมาบอกเล่าถึงสถานะของประเทศที่บริหารจัดการเงินเฟ้อได้ดีกว่าประเทศอื่น มีหนี้ต่างประเทศในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น คือ 40% ของ GDP ที่สำคัญไทยติดท็อปๆประเทศที่มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศในระดับสูง คือ สูงถึง 1.7 เท่าของ GDP แต่ก็ต้องยอมรับว่าขณะนี้กำลังเร่งแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังสูงอยู่

ด้านธนาคารกรุงเทพฯ ที่ ชาติศิริ โสภณพนิช ซีอีโอมาขึ้นเวทีเล่าถึงศักยภาพภาคการเงินของไทยและการออกไปลงทุนในต่างประเทศ ภาพใหญ่ได้เจ้าสัวซีพี ธนินท์ เจียรวนนท์ มาคุยถึงศักยภาพของประเทศไทยที่เป็นศูนย์กลางอาเซียนทั้งทำเล และฐานส่งออกสำคัญในอนาคตที่ธุรกิจต่างๆสามารถมาลงทุนในไทยเพื่อเข้าสู่ตลาดผู้บริโภคอาเซียน และเอเชียตะวันออก ที่มีประชากรรวมแล้วกว่า 2,000 คน รวมทั้งชักชวนให้จีนสนใจลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซีของไทย นอกจากนี้ยังมีทั้งประธานหอการค้าไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซีอีโอ และผู้บริหารจากภาคเอกชนต่างๆมาร่วมขึ้นเวทีเล่าถึงโอกาสการลงทุนในประเทศไทยให้ฟัง

ขณะเดียวกันงานนี้ก็มีการเปิดเวทีรับฟังมุมมองจากผู้บริหารจีนที่ทำธุรกิจในไทยด้วยไม่ว่าจะเป็นตัวแทนจาก บริษัทเกรท วอลล์ มอเตอร์ , บีวายดี ออโต้ , หัวเว่ย เทคโนโลยี เป็นต้น

ถามว่าตอนนี้นักลงทุน นักธุรกิจชาวจีนกำลังสนใจอะไรในประเทศไทย คำตอบคือ เรื่องของฐานการผลิตอีวี ที่มี 3 ค่ายใหญ่ สนใจเข้ามาลงทุนในไทย รวมถึงเรื่องการแพทย์ และธุรกิจแนวสุขภาพ

เมื่อดูกรณีของนักลงทุนจีนแล้วทำให้ต้องย้อนมองเส้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของไทยในอดีต ที่มาจากการลงทุนของต่างประเทศ และแน่นอนว่าจะต้องพูดถึง “ญี่ปุ่น” เพราะญี่ปุ่นคือเบอร์หนึ่งของการลงทุนจากต่างประเทศในไทย โดยไทยถือเป็นฐานผลิตหลักของบริษัทญี่ปุ่นมาหลายสิบปี และเงินลงทุนโดยตรง (FDI) จากนักลงทุนญี่ปุ่น ก็เป็นเงินลงทุนอันดับหนึ่งติดต่อกันมาโดยตลอด

หากดูตั้งแต่ในอดีตญี่ปุ่นมีบทบาทต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในไทยอย่างมาก ขณะที่ปัจจุบัน “จีน” ก็กำลังจะเข้ามาร่วมแชร์การเป็นเบอร์หนึ่ง โดยเมื่อต้นปีมานี้จีนเพิ่งขึ้นแซงญี่ปุ่นเป็นเบอร์หนึ่งการลงทุนในไทย (นับในส่วนของมูลค่าการลงทุน)

ญี่ปุ่นเป็นนักลงทุนอันดับหนึ่งของไทยมาตลอดหลายปี จนกระทั่งจีนเข้ามาลงทุนอันดับหนึ่งเมื่อปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงที่บรรดาผู้ผลิตเร่งปกป้องห่วงโซ่อุปทานจากสงครามการค้าสหรัฐ-จีน โดยไทยและเวียดนามอยู่ในกลุ่มผู้ที่ได้รับประโยชน์มากที่สุด จนกระทั่งเกิดโควิด-19 (2563-2564) ทำให้จีนต้องปิดพรมแดนและระงับกิจกรรมการลงทุน ทำให้ญี่ปุ่นกลับมาเป็นเบอร์หนึ่งอีกครั้ง มาปี 2565 ที่จีนกลับมาเป็นแหล่งลงทุนรายใหญ่อันดับ 1 ของไทย โดยเน้นไปที่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อีวี และศูนย์ข้อมูล

เหตุที่นักลงทุนจีนแซงหน้าญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในไทยก็มีจากหลายเงื่อนไขทั้งปัจจัยจากปัญหาสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ของสหรัฐฯ-จีน ทำให้ฝั่งตะวันตกมีการดำเนินนโยบายที่เขั้มงวดกับจีน ส่งผลให้ภาคการผลิตและอุตสาหกรรมของจีนต้องขยายฐาน รวมทั้งย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศ ซึ่งไทยถือเป็นตัวเลือกหนึ่งของจีน โดยมีคู่แข่งในภูมิภาค อาทิ เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เมียนมา มาเลเซีย ที่แข่งขันดึงการลงทุนจากจีนอย่างเต็มที่เช่นกัน

ถามว่าการมาของทุนจีนต่างจากญี่ปุ่นในอดีตมากน้อยแค่ไหน

หากย้อนไปเทียบดูการมาของทุนจีนในยุคนี้กับทุนญี่ปุ่นที่มาไทย นักลงทุนญี่ปุ่นมาลงทุนในไทยตั้งแต่ปี 2505 กระทั่งในช่วงปี 2520 เงินลงทุนจากญี่ปุ่น ถ้าเทียบให้เห็นภาพคือสูงกว่าเงินลงทุนจากสหรัฐฯเกือบ 3 เท่า โดยญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในธุรกิจประกอบรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมทั้งลงทุนในอุตสาหรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น โดยเฉพาะสิ่งทอ ทั้งเพื่อขายในเมืองไทยและส่งออก ทำให้ประเทศไทยมีสินค้าแบรนด์ญี่ปุ่นเข้ามาแทนที่แบรนด์อเมริกันมากขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อดูบทบาทของญี่ปุ่นในช่วงการพัฒนาและเติบโตเศรษฐกิจไทยในอดีต ในช่วงแรกเป้าหมายของญี่ปุ่น คือการเข้ามาลงทุนของบริษัทญี่ปุ่นในไทย เพื่อต้องการรักษาตลาดการบริโภคในไทยที่มีกำลังซื้อในสินค้าแบรนด์ญี่ปุ่น ต่อมาก็ขยับสู่การมาลงทุนไทยในฐานะที่ไทยคือฐานผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ผลิตภัณฑ์เกือบทั้งหมดที่ผลิตในไทยส่งกลับไปขายยังญี่ปุ่น รวมทั้งส่งออกประเทศอื่น

ในอดีตยุคญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในไทยเมื่อหลายสิบปีก่อน เคยผ่านการถูกนักศึกษาเดินขบวนประท้วง เคยมีการแสดงความเห็นคัดค้านจากกลุ่มนักศึกษาและนักการเมืองจำนวนหนึ่งที่มองว่าไทยกำลังพึ่งพาญี่ปุ่นมากเกินไป แต่วิธีแก้ภาพพจน์ของญี่ปุ่นในไทยคือ การสร้างการลงทุนด้านวัฒนธรรมด้วยการสนับสนุนให้นักศึกษา นักวิชาการ สื่อ มีโอกาสไปศึกษาดูงานได้รู้จักสังคมญี่ปุ่นเพื่อให้คนไทยค่อย ๆ ยอมรับญี่ปุ่นมากขึ้นนั่นเอง รวมทั้งวิธีมาลงทุนของญี่ปุ่นคือ การมาแบบนักลงทุนญี่ปุ่นร่วมทุนกับทุนไทย โดยเลือกหุ้นส่วนไทยที่เป็นเจ้าของบริษัทขนาดใหญ่ และดำเนินการบริหารร่วมกันกับหุ้นส่วนคนไทย ซึ่งก็เป็นวิธีที่ได้ผล

มองเช่นนี้ในกรณีของจีนที่มาลงทุนในไทยมากขึ้นมีความคล้ายกันกับญี่ปุ่นในอดีต เช่น กรณี BYD ยักษ์ใหญ่ของจีนมาลงทุนตั้งโรงงานฐานการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในไทยด้วยเม็ดเงินสูงถึงกว่า 1.7 หมื่นล้านบาท เพราะไทยถือเป็นตลาดกำลังซื้อในอนาคตของรถไฟฟ้า รวมทั้งยังอยู่ในฐานะฐานการผลิต และภูมิศาสตร์ของไทยที่จะเป็นตลาดระบายสินค้าในกลุ่มอาเซียนที่มีประชากรรวมกันจำนวนมาก

สรุปได้ว่านักธุรกิจจีนพวกเขามองเห็นไทยเป็น “ตลาดที่มีศักยภาพ” มีความพร้อมและอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่จะสามารถก้าวเป็นศูนย์กลางอาเซียน เพื่อเชื่อมโยงตลาดประเทศเพื่อนบ้านได้และกระจายออกไปทั้งตลาดอาเซียน

แม้จะเห็นถึงความคึกคักของนักธุรกิจจีน แต่ด้านหนึ่งก็เป็นความท้าทายของผู้ประกอบการไทยเอง ที่ต้องเผชิญคู่แข่งที่มีความได้เปรียบ โดยเฉพาะด้่านเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า เพราะการพัฒนาเทคโนโลยีของจีนทั้ง AI และอุตสาหกรรมแนวใหม่ เช่น พลังงานทดแทน รถยนต์ไฟฟ้า จังหวะนี้ไทยจะกระโดดตามให้ทันไปกับกระแสแบบไหน โดยที่ไม่เพลี่ยงพล้ำบนเวทีโลก

 

บทความโดย ชลาทิพย์ ถิรสุนทรากุล

 

อ้างอิง
https://www.bangkokbanksme.com/en/china-japanese-trade-investing-in-clmvt
https://www.prachachat.net/economy/news-1235826
https://www.krungsri.com/th/business/other-services/empowerment/business-insights/knowledge-trend/opportunity-thailand-japanese-investors
https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/business-maker/china-investment-in-thailand.html
หนังสือประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย โดยคริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า