SHARE

คัดลอกแล้ว

แม้โลกจะผ่านยุคโควิด-19 มาแล้ว แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งกับชีวิต ทรัพย์สิน อาชีพ และธุรกิจในวงกว้าง คือสิ่งที่โลกจะลืมไม่ลงไปตลอด ในแง่ชีวิตประจำวัน เราได้เปลี่ยนมาสู่วิถีไฮบริดมากขึ้น ส่วนในแง่ธุรกิจ ก็ต้องปรับตัวกันไป เพราะไม่มียืนยันได้เลยว่า ภัยโรคระบาดแบบโควิด-19 จะไม่มีวันเกิดขึ้นอีก

การท่องเที่ยว ธุรกิจสายการบิน สนามบิน กระทบจังๆ อย่างไม่ต้องสงสัย แต่ยังมีอีกธุรกิจที่ดูเหมือนว่า คนทั่วไปไม่ค่อยรู้จักในฉากหน้า แต่มีบทบาทสำคัญให้ธุรกิจการบินเดินหน้าต่อได้นั่นก็คือ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิง การบิน

TODAY Bizview มีโอกาสได้พูดคุย ทำความรู้จักกับ BAFS หรือบาฟส์ บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ ผู้ได้ชื่อว่าเป็น เด็กปั๊มแห่งวงการสายการบิน พูดถึงการปรับตัวซึ่งเป็นสิ่งที่ได้เรียนรู้จาก โควิด-19 นำโดย หม่อมหลวงณัฐสิทธิ์ ดิศกุล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ นายจักรสนิท กฤษสอาดใจ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานบัญชีและการเงินกลุ่มบริษัท

[ รู้จักธุรกิจ BAFS​ ]

BAFS มีสามธุรกิจใหญ่คือ 

  • บริการระบบเติมน้ำมันอากาศยาน
  • ธุรกิจด้านการเก็บรักษา และขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงผ่านระบบท่อขนส่งน้ำมันใต้ดิน
  • ธุรกิจลงทุนหรือร่วมทุนในโครงการพลังงานหมุนเวียน พลังงานทดแทน และสิ่งแวดล้อม และ รับเหมาเฉพาะแรงงาน จัดหาคนเติมน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่อากาศยานต่างๆ เช่น  ท่าอากาศยานสมุย ท่าอากาศยานสุโขทัย และท่าอากาศยานตราด 

ซึ่งในสามธุรกิจหลักนี้ มีหลายบริษัทย่อยๆ แตกออกไป และมีรายละเอียดเชิงเทคนิคมาก กล่าวแบบสรุปคือ BAFS ไม่ได้เป็นผู้ผลิตเชื้อเพลง แต่เป็นผู้นำเชื้อเพลิงมาเข้าระบบจัดเก็บในถังน้ำมันตามสนามบินต่างๆ และขนย้ายน้ำมันผ่านท่อส่ง หรือผ่านรถบรรทุกน้ำมันเพื่อนำไปเติมให้แก่เครื่องบิน ซึ่ง BAFS ต้องทำหน้าที่จัดเก็บน้ำมันเป็นหลักพันล้านลิตร คัดกรอง ขนย้ายและเติมน้ำมัน นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ BAFS มีฉายาว่า เด็กปั๊มแห่งวงการการบิน

ตัวอย่างลูกค้าของ BAFS คือ การบินไทย, ไทยสไมล์, บางกอกแอร์เวยส์, Emirates, Korean Air, แอร์เอเชีย, Qatar Airways เป็นต้น 

จะเห็นได้ว่าธุรกิจใหญ่ ผูกพันอยู่กับการบินเป็นหลัก ดังนั้นเมื่อ โควิด-19 มาถึง ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับบริษัทจึงมีมูลค่ามหาศาล 

“จากเดิมบริษัทเติมเชื้อเพลงให้ 900 ไฟลท์ต่อวัน เหลือวันละราวๆ สิบไฟลท์เท่านั้น” หม่อมหลวงณัฐสิทธิ์ กล่าว 

[ ออกหุ้นกู้ ปรับตัว แตกไลน์ธุรกิจใหม่ ]

โควิด-19 เป็นบทเรียนราคาแพง ทำให้ต้องปรับตัว แตกไลน์ธุรกิจใหม่ๆ หากใครติดตามข่าววงการหุ้น จะรู้ว่า BAFS ขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุนมูลค่า 1,000 ล้านบาท โดยมีอัตราดอกเบี้ยช่วง 5 ปีอยู่ที่ 6.85% จุดประสงค์หลักๆ คือ การนำเงินไปชำระหนี้ และลงทุนในธุรกิจใหม่ กระจายความเสี่ยง

คุณจักรสนิท ซีเอฟโอของบริษัทกล่าวว่า “การออกหุ้นช่วยปรับโครงสร้างทางการเงิน เพราะเรากระทบจากโควิด โดยหุ้นกู้สามารถนับเป็นทุนทางบัญชีได้ทั้งจำนวนทำให้อัตราส่วนหนี้เสียลดลง ภาพรวมแข็งแรงมากขึ้น เงินลงทุนอีกส่วนหนึ่งคือ นำไปลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ มองธุรกิจรายได้มั่นคง สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้เราได้”

สำหรับการลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพในธุรกิจเดิม และเพิ่มธุรกิจใหม่ที่นอกเหนือจากเชื้อเพลง การบิน คือ บริการภาคธุรกิจ เช่น HR outsourcing การจัดสรรหาบุคลากรในพื้นที่ การเอาท์ซอร์สดูแลซ่อมบำรุงอาคารสำนักงาน และบริการดิจิทัลโซลูชั่น พัฒนาแอปให้คนทำงานที่บ้านได้ จุดเด่นคือ ทำให้คนไทยเข้าถึงง่าย ไม่ตั้งราคาแพง 

เมื่อถามว่า เรื่องธุรกิจซอฟต์แวร์ อาจสู้เจ้าอื่นที่มีชื่อเสียงในตลาดมาก่อนได้ยากหรือไม่ หม่อมหลวงณัฐสิทธิ์ บอกว่า “จริงๆ แล้วเราเก่งเรื่องงานระบบ ISO ที่ใช้ในธุรกิจต่างๆ แต่ที่ผ่านมา คนข้างนอกไม่รู้ว่าเรามีศักยภาพตรงนี้ เราเลยคิดว่าเราสามารถต่อยอดเป็นโปรดักต์ได้ ที่สำคัญ BAFS ยังเป็นบริษัทแรกที่เอาบล็อกเชนมาใช้กับการเติมน้ำมันเครื่องบิน เชื่อมโยง node ข้อมูลของทุกคน ทำ smart contract ได้ ลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่” 

อย่างไรก็ตาม เงินก้อนใหญ่ของการลงทุน จะยังลงไปที่ธุรกิจหลักของบริษัทเป็นหลัก เช่น ธุรกิจขนส่งน้ำมันโดยเชื่อมท่อในภาคตะวันออก การขยายต่อจากอ่างทองไปสระบุรีอีก 52 กิโลเมตรการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่มองโกเลีย เป็นต้น

ทางบริษัทคาดการณ์ว่า ในอีก 5 ปี รายได้ของ BAFS จะอยู่ที่ 7,500 ล้านบาท ครึ่งหนึ่งเป็นรายได้มาจากธุรกิจการบิน อีก 40% มาจากธุรกิจสาธารณูปโภค และพลังงาน (Utilities & Power) และที่เหลือเป็นกลุ่มธุรกิจด้านการบริหารจัดการและบริการธุรกิจ (Business Solutions & Services) ที่แม้ยังเล็กอยู่ แต่ในอนาคตจะโตขึ้น เพราะเป็นธุรกิจเทคโนโลยี

[ ความท้าทายระยะยาว ในวันที่โลกต้องการการฟื้นฟู ] 

ปฏิเสธได้ยากว่า เชื้อเพลิงการบิน มีส่วนทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศสูงขึ้น ความตื่นตัวในอุตสาหกรรมการบิน นำเชื้อเพลงชีวภาพมาใช้จึงมากขึ้นเรื่อยๆ  IATA หรือ สมาคมการบินระหว่างประเทศบอกไว้เลยว่า ในอนาคต จะต้องมีสัดส่วนน้ำมันชีวภาพ 65-70% ของสัดส่วนเชื้อเพลิงทั่วโลก 

ส่วนองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ICAO ออกมาสนับสนุนให้มีการทดแทนเชื้อเพลิงอากาศยานหรือน้ำมันเจ็ทที่ผลิตจากฟอลซิลด้วยการใช้ SAF (sustainable aviation fuels) ในสัดส่วนที่เหมาะสมภายในปี 2050 

หม่อมหลวงณัฐสิทธิ์ บอกว่า “ความท้าทายตอนนี้คือ ซัพพลายการผลิตน้ำมันชีวภาพ อาจยังไม่เพียงพอ รวมถึงความปลอดภัยในการบิน หากนำน้ำมันชีวภาพมาใช้ แต่อย่างไรก็ตาม ความยั่งยืนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไทยจะถูกบังคับให้ต้องทำตามองค์การระหว่างประเทศ ถ้าไม่ทำก็ต้องไปเสียภาษีเพิ่มเอา”

และในระยะยาวมั่นใจว่า BAFS สามารถดำเนินการตรวจสอบ ควบคุมความปลอดภัยของน้ำมันชีวภาพ ได้ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า