SHARE

คัดลอกแล้ว

จากกรณีศาลปกครองเพิกสอนใบอนุญาตโครงการ ‘แอชตัน อโศก’ ทำให้เกิดความคิดเห็นต่างๆ เกิดขึ้นเกี่ยวกับที่ดินคอนโดมิเนียมติดกับที่ของ รฟม. ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กัน อย่างโครงการ นิว โนเบิล รัชดา ลาดพร้าว และ โครงการ โนเบิล รีวอลฟ์ รัชดา พัฒนาโดย บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)ทั้ง 2 โครงการตั้งอยู่ติดถนนรัชดาภิเษก

จากความกังวลของหลายฝ่าย ในกรณีที่ดินเดิมของทั้ง 2 โครงการถูกเวนคืนบางส่วน จึงไม่มีทางเข้าออกของตัวเอง ทำให้เกิดคำถามตามมาว่าจะซ้ำรอยกับเคสก่อนหน้านี้หรือไม่?

ทางโนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จึงชี้แจงว่าได้สร้างทั้ง 2 โครงการถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้ :

1.)โครงการ นิว โนเบิล รัชดา ลาดพร้าว ได้ขออนุญาตก่อสร้างโดยใช้ทางเข้า-ออกจากถนนรัชดาภิเษก (ซึ่งเป็นทางเข้า-ออกของอาคารจอดรถและจรดังกล่าวเป็นทางเข้า-ออกของ รฟม.) โดยที่ดินเดิมของโครงการฯ มีทางเข้า-ออกสู่ถนนสาธารณะ แต่ถูกเวนคืนโดย รฟม. ส่งผลให้ที่ดินที่เป็นที่ตั้งโครงการฯ ไม่มีทางเข้า-ออก ด้วยเหตุนี้ รฟม. จึงอนุญาตให้ใช้ทางเข้า-ออกของอาคารจอดรถเดิมเป็นทางเข้า-ออกของโครงการฯ เพื่อคงสิทธิในการใช้ทางเข้า-ออกสู่ถนนสาธารณะที่มีอยู่เดิม โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาในการให้การอนุญาตใช้ประโยชน์ดังกล่าว โดยได้จ่ายเงินค่าใช้ทางให้กับทาง รฟม. เพื่อใช้ประโยชน์จากทางเข้าออกนี้อย่างถูกต้องตามข้อกำหนด (ทางเจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้ชำระ)

การที่รฟม. อนุญาตให้ใช้ประโยชน์ดังกล่าวไม่ได้ทำให้วัตถุประสงค์ของการเวนคืนเดิมเสียไป และ รฟม. ยังคงใช้ที่ดินได้ตามวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืนตามปกติ อาคารจอดรถของ รฟม. ได้เปิดให้ใช้งานแก่ประชาชนทั่วไปตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน กรณีนี้จึงเห็นได้ชัดว่า รูปแบบการใช้งานเป็นไปตามวัตถุประสงค์เดิมทุกประการ ไม่มีการดัดแปลงรูปแบบการใช้งานที่มีอยู่เดิม ย้ายตำแหน่ง หรือเปลี่ยนแปลงความกว้างของทางเข้า-ออกแต่อย่างใด ทางเข้า – ออกของโครงการจึงเป็นไปตามกฎหมายแล้ว

2.) โครงการ โนเบิล รีวอลฟ์ รัชดา และโนเบิล รีวอลฟ์ รัชดา 2 ได้ขออนุญาตก่อสร้างโดยใช้ทางเข้า-ออกจากถนนรัชดาภิเษก ซอย 6 โดยที่ดินเดิมของโครงการฯ ได้ถูกเวนคืนโดย รฟม. บางส่วน เพื่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีศูนย์วัฒนธรรม อาคารจอดรถและลานจอดรถเพิ่มเติม ส่งผลให้ที่ดินโครงการฯ ไม่มีทางเข้าออก ด้วยเหตุนี้ รฟม. อนุญาตให้ใช้ที่ดินบางส่วนเพื่อให้โครงการนี้สามารถผ่านเข้า-ออกได้ เพื่อคงสิทธิในการใช้ทางเข้า-ออกสู่ถนนสาธารณะที่มีอยู่เดิม โดยไม่มีเงื่อนระยะเวลาในการให้การอนุญาตใช้ประโยชน์ดังกล่าว

การที่รฟม. อนุญาตให้ใช้ประโยชน์ดังกล่าวเป็นการใช้ตามวัตถุประสงค์เดิมทุกประการ ไม่มีการดัดแปลงรูปแบบการใช้งานที่มีอยู่เดิม ย้ายตำแหน่ง หรือเปลี่ยนแปลงความกว้างของทางเข้า-ออกแต่อย่างใด ซึ่งอาคารจอดรถของ รฟม. ได้เปิดให้ใช้งานแก่ประชาชนทั่วไปตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน

จึงทำให้เห็นได้ชัดว่า รูปแบบการใช้งานเป็นไปตามวัตถุประสงค์เดิมทุกประการ ไม่มีการดัดแปลงรูปแบบการใช้งานที่มีอยู่เดิม ย้ายตำแหน่ง หรือเปลี่ยนแปลงความกว้างของทางเข้า-ออกแต่อย่างใด เพราะแต่เดิม รฟม. ก็ใช้ที่ดินดังกล่าวเป็นทางเข้า-ออกของลานจอดรถอยู่แล้ว จึงสามารถกระทำได้

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้นำที่ดินอีกส่วนหนึ่งของบริษัทฯ จดทะเบียนเป็นภาระจำยอมเพื่อใช้เป็นทางเข้า-ออกร่วมกันของโครงการ โนเบิล รีวอลฟ์ รัชดา และโนเบิล รีวอลฟ์ รัชดา 2 ด้วย ดังนั้น ทางเข้า – ออกของโครงการจึงเป็นไปตามกฎหมายแล้ว

การที่โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ ออกมาชี้แจงกรณีนี้ หลังจากเกิดเคสของโครงการแอชตัน อโศก ได้ไม่นาน ก็เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินงาน บริษัทฯ และสร้างความมั่นใจแก่ลูกค้าว่า โครงการ นิว โนเบิล รัชดา ลาดพร้าว โครงการ โนเบิล รีวอลฟ์ รัชดา และโครงการ โนเบิล รีวอลฟ์ รัชดา 2 จะไม่เกิดปัญหาใดๆ อีกทั้งปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานไหน ยื่นข้อร้องเรียนใดๆ

จากกรณีที่เกิดขึ้นนี้ก็ทำให้ทางบริษัทฯ ตระหนักเกี่ยวกับการซื้อที่ดินติด รฟม. และหน่วยงานอื่นๆ ที่เสี่ยงจะเกิดข้อพิพาทในลักษณะนี้มากขึ้นในอนาคต เนื่องจากกฎหมายในประเทศไทยยังไม่มีความชัดเจนมากพอ ถูกตีความแตกต่างกันไปในแต่ละหน่วยงาน ทำให้เกิดความเสียหายทั้งต่อบริษัทผู้พัฒนาอสังหาฯ ภาคการเงิน รัฐวิสาหกิจ รวมถึงหน่วยงานราชการเอง นอกจากนี้ ข้อกำหนดที่ไม่ชัดเจนนี้ยังเป็นอุปสรรคต่อการใช้ที่ดินของภาคเอกชนอีกด้วย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า