SHARE

คัดลอกแล้ว

ผู้เชี่ยวชาญจากหลายแวดวง ร่วมวงถกประเด็น “SAVE THAI DISH สภาพอากาศเปลี่ยนไป อาหารไทยไม่เหมือนเดิม” อีเวนต์สิ่งแวดล้อมแห่งปีจากสำนักข่าวทูเดย์ ที่ชวน 7 ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร และสิ่งแวดล้อม จาก 7 องค์กร ทั้งในประเทศ และระดับนานาชาติ มาร่วมกันหาทางออกให้ “อาหารไทย” สามารถไปต่อได้ ในวันที่ต้องเผชิญกับวิกฤตโลกรวน

สำหรับการพูดคุยในช่วงแรก เริ่มต้นด้วยการแลกเปลี่ยนความเห็นและสะท้อนมุมมองในหัวข้อ “From Climate Change to Thai Dish สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนไป อาหารไทยไม่เหมือนเดิม” นำโดย ศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, รัสรินทร์ ชินโชติธีรนันท์ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร สิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติ และผู้บริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท ListenField, กนกพร ดิษฐกระจันทร์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และ นันทพร ตีระพงศ์ไพบูลย์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาเครือข่ายองค์กรอาวุโส มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (SOS) และ Natural Chef (อิสระ) เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นและฉายภาพผลกระทบจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป

พร้อมร่วมกันสืบเสาะความสัมพันธ์ระหว่าง ‘สภาพภูมิอากาศ’ กับ ‘ความมั่นคงทางอาหาร’ ในวันที่โลกร้อน ภัยแล้ง สร้างผลกระทบทุกภาคส่วน ตั้งแต่ดิน น้ำ อากาศ และส่งผลอย่างมหาศาลต่อภาคเกษตร ปศุสัตว์ รวมถึงวัตถุดิบในการปรุงอาหารไทย และทั่วโลก

ถัดจากนั้น วราวุธ ศิลปะอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บรรยายในหัวข้อ “เปิดมุมรัฐบาล เมื่ออาหารไทยอาจไม่เหมือนเดิม” ชวนตระหนักรู้ถึงปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง และผลกระทบต่อประเทศไทย รวมถึงมองผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหาร และความมั่นคงทางอาหาร ผ่านหน้าที่ บทบาท และนโยบายในอนาคต ของรัฐบาลไทย

วราวุธ กล่าวในช่วงหนึ่งว่า ภาครัฐเป็นอีกหนึ่งแรงสำคัญในการขับเคลื่อน และผลักดันให้อาหารไทย ยังคงรักษาคุณภาพดีได้ และสามารถส่งออกไประดับโลกได้ ท่ามกลางวิกฤติสภาพอากาศที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง

โดยหนึ่งในนโยบายที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ทำไปแล้ว คือ การสนับสนุนให้เกษตรกรไทยปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง เพื่อประหยัดทรัพยากร และเพิ่มผลิต

จากนั้น ทาธฤษ กุณาศล ผู้จัดการฝ่ายบริการการเกษตร บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด แสดงวิสัยทัศน์ในหัวข้อ “From Farm to Food Security รับมือกับวิกฤตอาหารผ่านหลักการเกษตรเชิงฟื้นฟู” โดยกล่าวถึง การจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน (Sustainable Sourcing) คือ สิ่งที่เนสท์เล่ ประเทศไทยให้ความสำคัญเสมอมา เพื่อช่วยปกป้องและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม พร้อมกับส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้ความเชี่ยวชาญและให้การสนับสนุนให้มีผลผลิตอย่างยั่งยืน โดยในประเทศไทย เนสท์เล่ได้ใช้น้ำนมวัวและเมล็ดกาแฟโรบัสต้า ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน 100%

 “Nescafé Plan” คือโครงการหลัก ที่ได้กระจายต้นกล้ากาแฟสายพันธุ์ที่ดีให้กับชาวสวนกาแฟ ตลอดจนถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีด้านการเกษตรในการปลูกกาแฟ ส่งเสริมการปลูกพืชร่วม เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพและฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรดิน เพื่อให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนจากผลิตผลในระยะยาว

“เนสท์เล่ ซึ่งเป็นผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ทำงานใกล้ชิดกับเกษตรกรมากว่า 130 ปี ต่างสะท้อนว่า ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนทำให้โรคแมลงต่างๆ เกิดขึ้นใหม่และควบคุมได้ยากขึ้น การใช้สารกำจัดแกลงมากขึ้น นี่เป็นวาระของโลก ไม่ใช่แค่วาระแห่งชาติ”  ทาธฤษ กล่าว

ทั้งนี้ ในแต่ละปี เนสท์เล่ได้จัดการอบรมให้กับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟกว่า 2,000 คน และกระจายต้นกล้ากาแฟให้เกษตรกรในท้องถิ่นรวมกว่า 3.5 ล้านต้นนับตั้งแต่ปี 2006 รวมถึงสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟกว่า 2,500 คนให้ผ่านเกณฑ์การทำสวนกาแฟตามมาตรฐานสากล 4C (Common Code for Coffee Community)

นอกจากนี้ ยังได้สนับสนุนการทำเกษตรกรรมเชิงฟื้นฟูในการจัดการฟาร์มโคนม ด้วยการอบรมและสนับสนุนการจัดการระบบโภชนะสำหรับวัวเพื่อเพิ่มคุณภาพและปริมาณน้ำนมดิบ รวมทั้งให้ความรู้เกษตรกรในการยกระดับมาตรฐานฟาร์มให้ตรงตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม และให้ความช่วยเหลือให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งน้ำและนำพลังงานทางเลือกมาใช้ในฟาร์มอีกด้วย

“ถ้าวันนี้เรายังไม่เปลี่ยนแปลงภาคเกษตร แล้วเราโดนความเสี่ยงของภาวะสภาพภูมิอากาศเข้ามามันจะเกิดปัญหาที่ใหญ่เกินกว่าจะควบคุมได้ เพราะฉะนั้นความรับผิดชอบของเรา เรื่องของ Food security มันไม่ใช่เฉพาะความรับผิดชอบทางการบริโภคเท่านั้น การผลิตก็ต้องมีความรับผิดชอบด้วยในขณะเดียวกันภาคต้นน้ำ เขาเองก็ต้องผลิตอย่างมีความรับผิดชอบเช่นเดียวกัน เพื่อที่จะให้ห่วงโซ่คุณค่าสามารถที่จะไปกันได้ในระยะยาว ก็ขอความร่วมมือจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงนี้ เราก็จะสามารถอยู่ได้ในระยะยาวด้วยกัน”  ทาธฤษ กล่าวทิ้งท้าย

ด้าน พิริยะ อุไรวงค์ ผู้เชี่ยวชาญประจำโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP) ร่วมให้ข้อมูลเรื่อง “Save Global Dish with UNDP เมื่อสภาพอากาศ ส่งผลถึงอาหารทั่วโลก” พร้อมสะท้อนว่าไม่ใช่แค่ประเทศไทยเท่านั้นที่กำลังเผชิญกับวิกฤตจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ทุกประเทศทั่วโลกต่างก็ต้องเร่งหาทางรับมือกับปัญหานี้ ที่ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรและปศุสัตว์ ซึ่งในอนาคตปัญหาจะยิ่งทวีความรุนแรง และกลายเป็นวิกฤต ‘อาหาร’ ขาดแคลน

อย่างไรก็ตาม นอกจากการเสวนาจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว ภายในงานยังมีการจัดแสดงข้อมูลอันน่าสนใจ ที่ชี้ให้เห็นว่า Climate Crisis กำลังเป็นวิกฤตที่สร้างผลกระทบให้อาหารไทยด้วย โดยงานนี้มีประชนชนทั่วไป นิสิต นักศึกษา และผู้คนในแวดวงอุตสาหกรรมอาหาร เข้าร่วมงานอย่างคับคั่งกว่า 200 คน

สำนักข่าวทูเดย์ ต้องขอขอบคุณผู้เชี่ยวชาญ ผู้เข้าร่วมงาน รวมถึงผู้รับชม LIVE ทุกคน ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องผลกระทบต่ออาหารไทย ในยุคที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในงานครั้งสำคัญนี้

รับชม LIVE งาน “SAVE THAI DISH สภาพอากาศเปลี่ยนไป อาหารไทยไม่เหมือนเดิม” ย้อนหลัง 
FB: https://fb.watch/myNWBGLUJy/?mibextid=NnVzG8
YouTube: https://youtube.com/live/S4HBXiE3Bzc?feature=share

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า