SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – 9 โมงวันนี้ สนช. นัดประชุม ร่างกฎหมาย ป.ป.ช.ต่อ หลังจากเมื่อวานนี้สมาชิกอภิปรายคัดค้าน ห่วงกระทบเสรีภาพประชาชน

นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต้องเลื่อนการประชุม สนช.เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. …  (พ.ร.ป. ว่าด้วย ป.ป.ช.) ซึ่งประชุมกันตั้งแต่เวลา 11.00 น.ของวันที่ 21 ธ.ค. มาประชุมต่อในวันนี้ (22 ธ.ค. 60) โดยจะเริ่มประชุมอีกครั้งในเวลา 09.00 น.

พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร ประธานคณะกรรมาธิการ วิสามัญฯ (เพิ่มเติม ม.37/1)

เนื่องจาก การอภิปรายของสมาชิกสนช. ไม่เห็นด้วยกับการที่คณะกรรมาธิการวิสามัญ (กมธ.) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบกรามการทุจริต เพิ่มเติมมาตรา 37 /1 คือ การให้อำนาจ ป.ป.ช. สามารถสืบค้นข้อมูลของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และ ประชาชน ผ่านอุปกรณ์สื่อสารทั้งหมด และขอให้ถอนออก  แต่ กมธ.เสียงข้างมาก ยังคงยืนยัน ให้คงมาตรา 37/1 ไว้ใน จึงทำให้การประชุมเมื่อวานนี้ไม่จบ แม้จะมีการสั่งพักการประชุม ให้กมธ. เสียงข้างมาก ข้างนอก และสมาชิก ไปหารือนอกรอบแล้วก็ตาม

สมชาย แสวงการ สมาชิก สนช. หนึ่งในผู้ที่ขอให้ ตัด ม.37/1 ออกจากร่างกฎหมายป.ป.ช.

ด้านนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุถึงการพิจารณาร่างกฎหมาย ป.ป.ช. ของสนช.ว่า ขณะนี้สนช.กำลังออกกฎหมายบางฉบับ เช่น กม.ป.ป.ช. ให้หน่วยงานรัฐ สามารถดักฟังการติดต่อของประชาชนทางโทรศัพท์ได้ ตนมองว่า กฎหมายเหล่านี้ ถ้าไว้ก่อนก็น่าจะรอได้ เพราะกระทบต่อเสรีภาพของประชาชนโดยตรง เว้นแต่สนช.เห็นว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดักฟัง ก็แล้วแต่ท่าน ตนเพียงแสดงความห่วงใยไว้เท่านั้น

ขณะที่นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ออกแถลงการณ์ โดยสรุปขอให้ สนช.ตัด มาตราที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. สืบค้นข้อมูลจากอุปกรณ์การสื่อสาร ซึ่งรวมถึงการดักฟัังโทรศัพท์ออก เพราะหากยังดื้อผ่านเป็นกฎหมายออกมา จะยื่นฟ้องศาลรัฐธรรมนูญต่อไป

นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ทวิตข้อความคัดค้านการจะเพิ่มอำนาจดักฟังโทรศัพท์ให้ป.ป.ช.เช่นกัน และ ยังไม่มั่นใจว่า ผลการโหวตของ สนช.จะออกมาเป็นอย่างไร

ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการ วิสามัญฯ ได้มีการแก้ไขเนื้อหาในร่างพ.ร.บ.ด้วยการเพิ่มมาตราที่สำคัญ คือ มาตรา 37/1 ว่าด้วยการให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สามารถเข้าถึงข้อมูลทุกช่องทางที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าจะเกี่ยวข้องกับการทุจริต

คณะกรรมาธิการ วิสามัญฯ ร่างกฎหมาย ป.ป.ช.

โดยมาตรา 37/1 บัญญัติว่า “ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเอกสารหรือข้อมูลข่าวสารอื่นใดที่ส่งทางไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ เครื่องมือ หรือ อุปกรณ์ในการสื่อสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศใด ถูกใช้หรืออาจถูกใจเพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิดที่เป็นความผิดฐานร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือ ความผิดอื่นพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญนี้กำหนด ซึ่งการกระทำควาผิดดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญมีผลกระทบอย่างกว้างขวาง พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ซึ่งได้รับการอนุมัติจากป.ป.ช.เป็นหนังสือ จะยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ เพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสารดังกล่าวก็ได้

การอนุญาตให้อธิบดีผู้พิพากษาฯ พิจารณาถึงผลกระทบต่อสิทธิส่วนบุคคลหรือสิทธิอื่นใดประกอบกับเหตุผลและความจำเป็น และสั่งอนุญาตได้คราวละไม่เกิน 90 วัน โดยกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้ และให้ผู้เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสาร ให้สิ่งสื่อสารตามคำสั่งดังกล่าว ให้ความร่วมมือ เพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรานี้ “

 

 

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า