SHARE

คัดลอกแล้ว

“เมื่อทำงานหนักและนานขึ้น เราจะไม่สามารถทำงานอย่างชาญฉลาดได้” 

นี่คือคำกล่าวของ ‘Arianna Huffington’ ผู้ก่อตั้งสำนักข่าว ‘Huffington Post’ ที่แม้ก่อนหน้านี้เธอจะต้องใช้ความพยายามครั้งแล้วครั้งเล่า กว่าจะกลายเป็นนักเขียนและนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้ แต่เธอกลับไม่เชื่อว่า “การทำงานหนักจะทำให้ก้าวหน้าเร็วกว่าคนอื่นๆ”

ในช่วงที่ผ่านมาวัฒนธรรม ‘การทำงานหนัก’ หรือ ‘Overworking’ ได้รับความนิยม โดยมี ‘โซเชียลมีเดีย’ เป็นตัวเร่งปฏิกริยาผ่าน ‘การยกย่อง’ ผู้คนที่ทำงานหนัก แล้วประสบความสำเร็จ 

การยกย่องคนทำงานหนักแล้วประสบความสำเร็จกลายเป็น ‘มาตรวัด’ 

จนหลายคนอดไม่ได้ที่จะนำตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่นๆ 

เมื่อคนทำงานรุ่นราวคราวเดียวกันนำไปไกลแล้ว นั่นหมายความว่า “เรากำลังขี้เกียจและทำงานน้อยกว่าพวกเขาหรือไม่” หรือ “หากต้องการเติบโตต้องทำมากกว่าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายหรือเปล่า?” 

หากคุณเป็นอีกคนที่กำลังคิดแบบนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีพหลายคนอาจมองต่างออกไปพวกเขาบอกว่า ‘ขั้วตรงข้าม’ กับความสำเร็จไม่ใช่ความล้มเหลว แต่เป็นการ ‘ทำงานหนัก’ ต่างหาก

[ ความสำเร็จมาจากความสมดุล ไม่ใช่ความเหนื่อยหน่าย ]

หลังการแพร่ระบาดโควิด-19 ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกการทำงานอย่าง The Great Resignation, Quiet Quitting, Quiet Hiring ฯลฯ ล้วนเป็นภาพสะท้อนผลกระทบจากค่านิยมการทำงานหนักที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงหลัง 

รายงานจาก ‘Fast Company’ ระบุว่า หลังจากปี 2022 เป็นต้นมา การทำงานหนักอย่างไม่หยุดหย่อนมีแนวโน้ม ‘ถูกต่อต้าน’ จากกลุ่มคนทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ 

แม้สภาพสังคมการทำงานจะบีบให้การทำงานหนักกลายเป็นฟันเฟืองของความสำเร็จ ‘Work-life Integration’ และ ‘Work-life Harmony’ ถูกพูดถึงในสังคมมากขึ้น

แต่ถึงอย่างนั้นก็พบว่า การผสานชีวิตและงานเข้าด้วยกันไม่ใช่เส้นทางสู่ความสำเร็จ รังแต่จะทำให้ ‘สมดุลชีวิต’ น้อยลงทุกวัน

‘Rita Kamel’ นักยุทธศาสตร์ด้านอาชีพ อธิบายว่า สิ่งที่ทำให้การทำงานหนักเกินไปกลายเป็นปรากฏการณ์แห่งยุค เพราะค่านิยมดังกล่าวถูกให้คุณค่าว่า ‘เป็นหนทางเดียว’ ที่จะทำให้คนทำงานได้รับการยอมรับ  ได้รับการยกย่องจากคนรอบข้าง จนการทำงานหนักเกินไปถูกทำให้เป็นมาตรฐานการทำงานปกติ

ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว “ความสำเร็จต้องมีรากฐานจากความสมดุล” 

ทุกคนควรตระหนักว่า หน้าที่การงานไม่ใช่อัตลักษณ์เพียงหนึ่งเดียวของพวกเขา “ความยั่งยืนที่แท้จริงคือการหาสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว” ทำให้ชีวิตของคุณมีความสุข อย่าให้เส้นแบ่งตรงนั้นพร่าเลือนจนต้องเผชิญกับความเหนื่อยไม่รู้จบ

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังมองว่า การทำงานหนักเกินไปเป็น ‘อุปสรรคโดยตรง’ ต่อการใช้ศักยภาพและความสามารถในการทำงานอย่างเต็มที่

การทำงานหนักเกินไปจะนำไปสู่ความล้มเหลวและความรู้สึกแปลกแยกจากตนเองในที่สุด 

‘James Surowiecki’ ผู้เขียนบทความจาก ‘The New Yorker’ บอกว่า การให้คุณค่ากับคนทำงานด้วยระดับ ‘High performance’ ถูกทำให้กลายเป็นค่านิยมที่คนทำงาน ‘ต้องมี’ และ ‘ต้องเป็น’ ตลอด 24 ชั่วโมงมานานแล้ว 

‘การทำงานหนัก’ กลายเป็น ‘สัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรือง’ 

แม้ว่าในมุมหนึ่งจะมีคนทำงานบางส่วนยินยอมพร้อมใจทุ่มสุดตัวให้กับการทำงาน แต่หากพิจารณาดูดีๆ จะพบว่า ความทุ่มเทที่เกิดขึ้นมีรากฐานมาจากวัฒนธรรมการทำงานบางอย่างที่สวมครอบวิธีคิดอีกชั้นหนึ่ง

คือ “หากไม่ทำงานอย่างหนักคุณก็จะไม่โดดเด่น ไม่ได้เลื่อนขั้น ไม่ได้ปรับตำแหน่งเร็วกว่าคนอื่นๆ”

แม้นัยหนึ่งจะเป็นความทะเยอทะยานส่วนบุคคล แต่เมื่อองค์กรมี ‘รีแอคชัน’ กับความบ้างานส่วนบุคคลด้วยการให้รางวัลตอบแทนแบบ ‘พิเศษใส่ไข่’

นั่นก็หมายความว่า องค์กรเองก็มีส่วนสนับสนุน-ส่งเสริมให้เกิดคุณค่าในลักษณะนี้ด้วยเช่นกัน กลายเป็น ‘Role model’ ที่คนทำงานเข้าใจร่วมกันว่า ต้องทำงานหนักจึงจะได้มาซึ่งความสำเร็จเช่นนี้

[ ล้มเหลวอะไร ไม่เลวร้ายเท่าล้มเหลวทางร่างกาย-จิตใจ ]

หากทุกความสำเร็จถูกกลั่นกรองออกมาจากร่างและจิตใจที่เต็มไปด้วยความเครียดสะสมต่อเนื่อง นั่นแปลว่า คุณกำลังแบกรับความเสี่ยงกับสิ่งที่ไม่สามารถแก้ไขได้ 

ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติของการนอนหลับ อาการซึมเศร้า หรือเลวร้ายที่สุดคืออาการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอวัยวะภายในร่างกายอย่างหัวใจและสมอง

มีผลการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่า ความเหนื่อยต่อเนื่องสะสมอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพหลายประการ อาทิ อาการซึมเศร้า ความเหงา โรคพิษสุราเรื้อรัง ความจำบกพร่อง หรือโรคหัวใจ

พูดกันตามตรงแล้วอาการที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบทั้งสองทาง คือ ต่อตัวคนทำงาน และสำหรับองค์กรที่ต้องสูญเสียคนทำงานไปกะทันหัน

สำหรับบางองค์กรที่ชูวัฒนธรรม ‘Work-life Harmony’ อย่าง ‘Amazon’ ที่เชื่อว่า ต้องผสานงานกับชีวิตเข้าด้วยกัน การมองงานและชีวิตส่วนตัวแยกขาดจากกันต่างหากที่ทำให้ชีวิตไร้สมดุล และจะยิ่งก่อให้เกิดความเครียดสะสมมากกว่าเดิม

สำนักข่าว ‘The New York Times’ เคยสำรวจความคิดเห็นพนักงานในองค์กรดังกล่าวและพบว่า คนทำงานส่วนใหญ่รู้สึกเอ็นจอยและดื่มด่ำไปกับความตื่นเต้นท้าทายกับงานที่ได้รับมอบหมาย พวกเขาเต็มใจที่จะทำงานหนักหากเป็นงานที่ตนเองชอบ แต่นั่นต้องเกิดจากความสมัครใจไม่ใช่ ‘การบังคับ’

และหากพนักงานเริ่มโหมงานอย่างหนักแม้จะเป็นสิ่งที่พวกเขาเต็มใจและชื่นชอบก็ไม่ได้หมายความว่า เป็นเรื่องดีควรค่าแก่การสนับสนุน ‘ความพอดี’ และ ‘จุดกึ่งกลาง’ ยังเป็นสิ่งสำคัญ 

ทุกความสำเร็จที่เกิดขึ้นจะไม่มีความหมายเลยหากท้ายที่สุดผลลัพธ์ คือ ‘ความเป็นอยู่’ โดยรวมของคนทำงานคุณภาพลดลงเหลือ แต่เม็ดเงินผลกำไรของบริษัทเพิ่มขึ้น 

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังตกอยู่ในสภาวะทำงานอย่างหนัก เพราะถูกค่านิยมและวัฒนธรรมการทำงานบีบบังคับ อาจถึงเวลาแล้วที่ต้องลองเปลี่ยนวงจรชีวิต และทำให้ตนเองมีสมดุลในการใช้ชีวิตอีกครั้ง

ที่มา

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า