SHARE

คัดลอกแล้ว

หอการค้าการไทย-จีน เผยแพร่ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย-จีน ต่อเศรษฐกิจไทยในระยะสั้นช่วงไตรมาส 4/2566 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ พบว่า ร้อยละ 43 คิดว่าเศรษฐกิจไทยยังทรงตัวเช่นเดิม ร้อยละ 41.5 มีความมั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น จากแนวโน้มเศรษฐกิจดังกล่าวร้อยละ 39.6 คิดว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 38.1 คาดว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์จะปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อสำรวจความเห็นเศรษฐกิจไทยในภาพรวม ผลสำรวจชี้ว่ามีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง

ขณะที่ผลสำรวจหอการค้าไทย-จีน ต่อเรื่องการเปิดฟรีวีซ่าเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจีนเข้าไทยนั้น หอการค้าไทย-จีน มองว่าเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้ 5 ล้านคน แม้จะเป็นเรื่องท้าทาย แต่มีข้อสังเกตว่านักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาไทยในปีนี้ (สถิติต้นปีจนถึงตอนนี้ 1.8 ล้านคน) เป็นนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพและมีค่าใช้จ่ายต่อคนค่อนข้างสูง ผลสำรวจกว่าร้อยละ 63 มีความเชื่อว่ารายได้ที่ได้จากนักท่องเที่ยวจีนจะไม่ลดลงและอาจจะเพิ่มขึ้น เพราะได้รายได้เพิ่มจากนักท่องเที่ยวคุณภาพ

การสำรวจครั้งนี้ ได้มีการสอบถามถึงนโยบายเศรษฐกิจที่รัฐบาลใหม่ควรต้องทำอย่างเร่งด่วน พบว่า 3 นโยบายแรกที่สำคัญที่สุด คือเรื่องการเงิน การแก้ไขปัญหาภาวะหนี้ครัวเรือน การแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ และการปรับลดต้นทุนพลังงาน

ส่วนนโยบายเร่งด่วนที่มีความสำคัญรองลงมาคือ การเร่งส่งเสริมการท่องเที่ยวกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และการเร่งกระตุ้นการส่งออก ส่วนการคาดการณ์เรื่องอัตราดอกเบี้ยนโยบายนั้น ร้อยละ 72.8 คิดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจจะปรับเพิ่มขึ้นอีกก่อนสิ้นปี 2566

โดยการสำรวจความเห็นดังกล่าวสอบถามจากคณะกรรมการกิตติมศักดิ์ คณะกรรมการบริหาร และสมาชิกหอการค้าไทยจีน และประธาน ผู้บริหาร และกรรมการสมาพันธ์หอการค้าไทยจีน และกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่หอการค้าไทยจีน จำนวน 265 คน ระหว่างวันที่ 15 – 25 สิงหาคม 2566 เพื่อคาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจไทยและจีน

โดยจากการสำรวจของหอการค้าไทยจีนพบว่าร้อยละ 59.2 มีความมั่นใจพอควร ที่คิดว่าเศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัวในช่วงที่เหลือของปี 2566

ในส่วนของเศรษฐกิจไทยนั้น ร้อยละ 69.4 เห็นด้วยว่า เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง เพราะคาดว่าแนวโน้มนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้นและการส่งออกที่ค่อยค่อยจะปรับตัวดีขึ้นในปลายปี

เมื่อสอบถามเรื่องความคิดเห็นกับอัตราแลกเปลี่ยนนั้นพบว่าผู้ตอบการสำรวจ ร้อยละ 43.4 คาดว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะอยู่ที่ช่วงประมาณ 34.6 ถึง 35.2 บาทต่อเหรียญสหรัฐอเมริกาในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้

ขณะที่ ร้อยละ 40.4 ลงความเห็นว่าเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนโดยรวมของจีนจะยังทรงตัว ขณะที่ร้อยละ 30.6 คิดว่าเศรษฐกิจจีนน่าจะปรับตัวดีขึ้น ร้อยละ 41.5 คิดว่าการส่งออกไทยไปจีนยังคงทรงตัว

ส่วนการนำเข้าของไทยจากจีนนั้น ร้อยละ 46.8 คาดว่าการนำเข้าของไทยจากจีนจะเพิ่มขึ้น ขณะที่ร้อยละ 45.7 คาดว่าจะมีการลงทุนจากจีนในประเทศไทยเพิ่ม คาดว่านโยบายจีนจะมีการรุกตลาดพันธมิตรมากขึ้นเพื่อแก้ไขภาวะการส่งออกที่ชะลอตัว และมีการกระจายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นๆ

ทั้งนี้หากพิจารณาถึงสินค้าที่จะส่งออกได้ดีประกอบไปด้วยสินค้า 4 รายการ คือ สินค้าเกษตรพื้นฐาน สินค้าเกษตรแปรรูป ประเภทอาหาร อาหารทะเล และเครื่องดื่ม สินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และผลิตภัณฑ์ยานยนต์และชิ้นส่วน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า