SHARE

คัดลอกแล้ว

เมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและรุนแรง จากภาวะโลกร้อน (Global Warming) สู่ภาวะโลกเดือด (Global Boiling) และจากยุค Climate change สู่ Climate crisis ทำให้ทุกธุรกิจจากทุกอุตสาหกรรมต้องปรับตัว ปรับรูปแบบการทำงานกันอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ตนเองอยู่รอด และทำให้ทุกส่วนในห่วงโซ่อยู่รอดด้วยเช่นกัน

โดยหนึ่งในคีย์เวิร์ดที่ภาคธุรกิจมักจะหยิบยกมาใช้แก้ไขปัญหา Climate crisis กันมากที่สุด คือ การทำธุรกิจที่สร้างความยั่งยืน (Sustainability) ให้กับทุกภาคส่วน เพราะสอดคล้องกับเป้าหมาย SDGs ขององค์การสหประชาชาติ และเป้าหมายของประเทศไทย ที่จะก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Net Zero) ภายในปี 2050

กลุ่มธุรกิจ TCP เอง เป็นกลุ่มธุรกิจในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ที่เห็นความสำคัญในเรื่องการสร้างความยั่งยืน และเล็งเห็นถึงโอกาสมากมาย ที่จะชวนคนทำธุรกิจมาร่วมกันสร้างความยั่งยืนไปพร้อมกัน จึงได้จัดงาน TCP Sustainability Forum 2023 ภายใต้แนวคิด “Net Zero Transition…From Commitment to Action” หรือ “การเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero จากพันธสัญญาสู่การปฏิบัติ” ปลุกพลังอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และเร่งลงมือหนุนประเทศไทย ให้เปลี่ยนผ่านไปสู่ Net Zero เพื่อวันที่ดีกว่า

บอกได้เลยว่า ยังคงเป็นงานที่ทำให้คนทำธุรกิจได้ขบคิด และนำแนวคิดหลายอย่างกลับไปปรับใช้ได้เป็นอย่างดี จะมีอะไรน่าสนใจบ้างนั้น มาหาคำตอบไปพร้อมกันได้เลย

ทำธุรกิจ Sustainability ต้องไม่มองแค่เรื่อง CSR       

เมื่อพูดถึงการทำธุรกิจเพื่อความยั่งยืน (Sustainability) หลายคนอาจมีภาพจำว่านี่เป็นเรื่อง CSR ที่อาจสร้างภาพลักษณ์ให้องค์กรได้เพียงชั่วคราวแล้วจบไป แต่ความจริงแล้ว คำนี้ควรมีความหมายที่ลึกลงไปนั้น

ดร.วิรไท สันติประภพ ประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้แง่คิดในเรื่องนี้ว่า การจะทำธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ต้องไม่มองแค่การทำเชิง CSR แต่ให้มองเป็นเรื่องยุทธศาสตร์ขององค์กร ที่ต้องทำให้สอดคล้องกับแกนของธุรกิจ (Core Business) ขณะเดียวกัน คนทำธุรกิจควรให้ความสำคัญกับเรื่องสังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) เท่ากับสิ่งแวดล้อม (Environmental) เพราะปัจจุบัน ผู้บริโภคยุคใหม่มีความคาดหวังให้ธุรกิจต้องดีต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยเหลือสังคม และไม่สร้างปัญหาให้กับคนรุ่นต่อไป

เป็นตัวเองที่ดีกว่า เดินหน้าสู่การเปลี่ยนผ่าน

มาถึงกรณีศึกษา จากองค์กรที่ลงมือสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจ และเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม เริ่มต้นที่กลุ่มธุรกิจ TCP โดยคุณสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ TCP หัวเรือใหญ่ในการจัดงานครั้งนี้

คุณสราวุฒิให้ข้อมูลว่า โจทย์ของกลุ่มธุรกิจ TCP ไม่ได้มองแค่การเปลี่ยนผ่านไปสู่ Net Zero แต่ต้องการรวมพลังภาคส่วนต่างๆ เปลี่ยนพันธสัญญา ให้เป็นการลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ด้วยการเปลี่ยนมายด์เซ็ท เปลี่ยนวิธีทำธุรกิจ “เป็นตัวเราที่ดีกว่าเดิม” โดยมองหาจุดร่วมระหว่างสิ่งที่จะต้องเปลี่ยน และตัวตนของธุรกิจ ว่าจะสามารถพาธุรกิจไปต่อในทิศทางใดได้บ้าง ควบคู่กับการหาวิธีลดผลกระทบเชิงลบ และเพิ่มผลกระทบเชิงบวกให้กับสิ่งแวดล้อมและสังคม ภายใต้เป้าหมายใหญ่ “ปลุกพลัง เพื่อวันที่ดีกว่า”

โดยมีเป้าหมายย่อยและแผนงานรองรับ ดังนี้

    1. พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สามารถรีไซเคิลได้ 100% และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายในปี 2024

[สิ่งที่ทำแล้ว]

ลดการใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ ขวดแก้ว ขวดพลาสติก กระป๋องอะลูมิเนียม และทำโครงการมากมายร่วมกับพันธมิตรธุรกิจ และภาคประชาสังคม เช่น โครงการเก็บสะอาด ใน 20 โครงการบ้านเอื้ออาทร ทำโรงงาน Crown TCP ผลิตกระป๋องอลูมิเนียมยั่งยืน และล่าสุด อยู่ระหว่างการหารือกับ TBC Ball ประเทศเวียดนาม เรื่องขั้นตอนการนำกระป๋องอลูมิเนียมรีไซเคิลกลับเข้าสู่ระบบ เป็นต้น รวมถึงผลักดันการทำงานร่วมกันในระดับอุตสาหกรรม ผ่านสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) และสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย

[ผลลัพธ์ปัจจุบัน]

บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม TCP สามารถรีไซเคิลได้ 100% แล้ว ครอบคลุมทุกชิ้นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ฉลาก ฝา ห่วง และการยกเลิกการใช้ขวดสี โดยมีกระป๋องที่ถูกเก็บกลับ มากกว่า 63 ล้านใบ (803 ตัน) ลดการปล่อยคาร์บอน 7,339 tCO2e

    1. ลดการใช้ทรัพยากรน้ำ และคืนน้ำกลับสู่ธรรมชาติและชุมชนให้มากกว่าน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต (Net Water Positive) ภายในปี 2030

[สิ่งที่ทำแล้ว]

บริหารจัดการต้นทุนน้ำ ลดการใช้น้ำในกระบวนการผลิต และลดการปล่อยน้ำเสียออกจากโรงงาน

[ผลลัพธ์ปัจจุบัน]

สามารถคืนน้ำกลับให้ชุมชนประมาณ 15 ล้านลูกบาศก์เมตร บรรลุเป้าหมาย Net Water Positive แล้ว

    1. ตั้งเป้าบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน จากทุกกระบวนการทำงานทั้งในไทยและต่างประเทศ ภายในปี 2050

[สิ่งที่ทำแล้ว]

ลงทุนกับพลังงานทางเลือก และมาตรการที่จะสร้างการเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero เช่น ใช้เชื้อเพลิงชีวมวลเป็นพลังงานหมุนเวียน ติดตั้ง Solar Rooftop ในพื้นที่โรงงานและสำนักงานใหญ่ ลงทุนในระบบการผลิตอัจฉริยะ ตั้งเป้าใช้รถ EV ในอุตสาหกรรม 30% ภายในปี 2030 เป็นต้น

[ผลลัพธ์ปัจจุบัน]

กลุ่มธุรกิจ TCP ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2,300 tCO2e (คิดเป็น 4% เทียบจากปีฐาน 2021), Solar Rooftop ที่ติดตั้งสร้างกำลังผลิตได้ 23% จากพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งหมดของโรงงาน

    1. เพิ่มทางเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพ

[สิ่งที่ทำแล้ว]

กลุ่มธุรกิจ TCP เดินหน้าตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งนับเป็น 70% ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

ต้องให้ความสำคัญกับความร่วมมือ

อย่างไรก็ดี ในทุกแผนการทำงานเพื่อสร้างความยั่งยืนของกลุ่มธุรกิจ TCP คุณสราวุฒิเน้นย้ำว่า การเปลี่ยนแปลงทั้งหมด นอกจากจะเกิดความตั้งใจของกลุ่มธุรกิจ TCP แล้ว ยังเกิดจากความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์จากภาคส่วนต่างๆ ด้วย เพราะเชื่อมั่นว่า “ถ้าเราร่วมกัน จะสร้างการเปลี่ยนแปลงได้”

เช่นเดียวกับ คุณอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มมิตรผล พาร์ทเนอร์คนสำคัญของกลุ่มธุรกิจ TCP ที่ได้เน้นย้ำเรื่องนี้ด้วยเหมือน เพราะมิตรผลเอง สามารถประสบความสำเร็จในฐานะธุรกิจที่สร้างความยั่งยืนแบบทุกวันนี้ได้ ก็เพราะให้ความสำคัญกับการร่วมมือกับหลายภาคส่วน ในการพัฒนาเทคโนโลยี และสนับสนุนเงินทุนให้เกษตรกรไร่อ้อย มีอาชีพ มีรายได้ที่มั่นคง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไปพร้อมกับการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะเมื่อเกษตรกร และสิ่งแวดล้อมอยู่ได้ ธุรกิจก็จะอยู่ได้

ขณะที่ คุณธนวงษ์ อารีรัชชกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC อีกหนึ่งพาร์ทเนอร์คนสำคัญของกลุ่มธุรกิจ TCP ที่โดดเด่นเรื่องการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน กล่าวเสริมในประเด็นของการร่วมมือระหว่างกันว่า ความสำเร็จในการสร้างความยั่งยืนของ SCGC คือการให้ความสำคัญกับการสร้างความร่วมมือกับกลุ่มคน 2 กลุ่ม คือ 1. ความร่วมมือของคนในองค์กร และ 2. ความร่วมมือกับบุคคลภายนอก อย่างพันธมิตรจากภาคส่วนต่างๆ

“ปัญหาขยะ” ความท้าทายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน

ภายในงานครั้งนี้ มีหัวข้อเสวนาที่น่าสนใจมากมายจากผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา แต่หนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการสร้างความยั่งยืนของกลุ่มธุรกิจ TCP มิตรผล SCGC รวมถึงองค์กรต่างๆ อีกมากมาย คือ “ปัญหาขยะ” ที่มีมากเกินไป และกำจัดได้ไม่หมด

โดยข้อค้นพบจากวงเสวนาเรื่อง ความท้าทายในการขับเคลื่อนให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ และการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม (Climate Positive) ในประเทศไทย พบว่า ปัญหาขยะพลาสติกเป็นปัญหาใหญ่มากในตอนนี้ เพราะมีขยะจำนวนมากที่ไม่สามารถนำกลับไปรีไซเคิลได้ ต้องใช้วิธีฝังกลบหรือเผา ซึ่งล้วนเป็นวิธีที่ไม่ยั่งยืน นอกจากนั้น ขยะขวดแก้ว ก็เป็นปัญหาที่แก้ไขยาก เพราะมีน้ำหนักมาก แต่ไร้ราคา

ซึ่งหนึ่งในกรณีศึกษาที่ช่วยแก้ไขปัญหาได้ คือ การทำให้บรรจุภัณฑ์สามารถรีไซเคิลได้ 100% ของกลุ่มธุรกิจ TCP เพราะนอกจากจะมีการใช้นวัตกรรมใหม่ๆ มาพัฒนาวัสดุบรรจุภัณฑ์แล้ว ยังมีการร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่น เพื่อกำจัด คัดแยก และเก็บกลับขยะบรรจุภัณฑ์สู่ระบบรีไซเคิล ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ได้ในที่สุด

ต้องยอมรับว่างานในครั้งนี้ ทำให้หลายคน รวมถึงผู้เขียนเอง ได้เข้าใจคำว่า Sustainability มากขึ้น รวมถึงได้เปิดมุมมองที่น่าสนใจ และเกิดไอเดียใหม่ เกี่ยวกับการทำธุรกิจ Sustainability ในวันที่สภาพอากาศเร่งรัดให้ธุรกิจต้องเปลี่ยนแปลง

อย่างไรก็ตาม TCP Sustainability Forum 2023 ไม่ใช่งานด้านความยั่งยืน ที่กลุ่มธุรกิจ TCP เพิ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่ปีนี้พิเศษตรงที่เป็นเสมือนการนำสมุดพกมารายงานผลลัพธ์ ว่ากลุ่มธุรกิจ TCP นั้น ได้ลงมือทำอะไรไปแล้วบ้าง หลังจากที่ประกาศความตั้งใจไว้ในงาน Collaborative Partnership for Sustainability เมื่อปี 2022

ยิ่งไปกว่านั้น งานนี้ยังเป็นความตั้งใจของกลุ่มธุรกิจ TCP ที่อยากสร้างแรงบันดาลใจ และแบ่งปันแนวทางการเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero ให้กับบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เพราะอย่างที่คุณสราวุฒิกล่าวตอนหนึ่งว่า

“การสร้างความยั่งยืนให้สิ่งแวดล้อม และสังคม เป็นเรื่องที่ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องร่วมมือกัน ถึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลง และเรื่อง Sustainability ไม่ควรเป็นความลับ ควรแชร์กันได้ เพื่อให้ทุกฝ่ายเติบโตไปพร้อมๆ กัน”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า