SHARE

คัดลอกแล้ว

‘เศรษฐา’ ไม่สบายใจ ‘โซเชียล’ ใช้คำพูดบาดหัวใจ-ทำสังคมแตกแยกแบ่งพวก ขอช่วยกันเยียวยา ควบคู่แก้รัฐธรรมนูญ

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษ “Next Chapter ประเทศไทย” จัดโดย ประชาชาติธุรกิจ ในวันนี้ (29 ก.ย. 66) ที่ โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก เขตปทุมวัน โดยสรุปนายเศรษฐา กล่าวตอนหนึ่งว่า เป็นที่ประจักษ์กันอยู่แล้วว่า ปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดอันหนึ่ง ปัญหาสังคมปัญหาความเหลื่อมล้ำก็เป็นเรื่องใหญ่ ปัญหาการต่างประเทศก็เป็นเรื่องใหญ่ เรื่องแรกที่จะหยิบยกมาพูดก่อนถึงปัญหาด้านสังคม ความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียม เป็นปัญหาที่ใหญ่มากๆ และอาจเป็นต้นตอของปัญหาทั้งหมดก็ได้

เรื่องนี้เป็นภารกิจใหญ่ของรัฐบาล เป็นปัญหาที่หมักหมมมาในระยะเวลาที่ยาวนานมากๆ ไม่อยากจะบอกว่าถูกการละเลย ปล่อยปละ ไม่มีการแก้ปัญหามา แต่ว่ามันเป็นปัญหาที่ยาก เป็นปัญหาที่ใหญ่ และมีหลายๆ มิติ ซึ่งอาจทำให้การแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ตนจะไม่เคลมว่ารัฐบาลนี้มีวิธีแก้ปัญหาแบบสมบูรณ์ทั้งหมด ที่จะให้ฟังแล้วมีความสบายใจ แต่ว่าเราเริ่มกันด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปัจจุบันมีวางโรดแมปไว้แล้วบ้าง ถึงแม้ว่ายังไม่สมบุูรณ์ แต่รองนายกฯ ภูมิธรรม ก็จะต้องทำต่อไป เรื่องเป็นการแก้ไขกฎกติกาอยู่ร่วมกันอย่างมีสันติของภาคส่วนหนึ่งที่ต้องจัดการกันไป

แต่ตนขอพูดอีกแง่มุมหนึ่ง ตนว่าเรามีส่วนทุกคนในการที่จะร่วมด้วยช่วยกันแก้ไขปัญหา เพราะเป็นปัญหาทุกคน ทุกคนมีส่วนที่จะทำให้ปัญหานี้เกิดขึ้นมา เรื่องของการที่เราต้องอยู่ในภาวะปัจจุบันนี้ที่มีความเหลื่อมล้ำ ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสูงที่สุดประเทศหนึ่ง คนจนก็จนมาก คนรวยก็รวยมาก ถ้าเกิดต้องการให้รัฐบาลออกเป็นมาตรการ เป็นคำสั่งการออกมาที่จะมาแก้ไขปัญหา ตนคิดว่าปัญหามันจะไม่ถูกแก้ไข

“ปัญหามันก็อยู่มา เกิดมา และก็ถูกแก้ไขด้วยจิตใต้สำนึกของทุกคน ผมยืนตรงนี้ก็มาขอร้อง มาวิงวอนให้ทุกท่าน เข้าใจ ผมเชื่อว่าเรานั่งกันอยู่นี้ เรารู้กันอยู่แล้วว่าเรื่องความเหลื่อมล้ำ เรื่องปัญหาความไม่เสมอภาค ความไม่เท่าเทียมในทุกๆ มิติ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิเสรีภาพในการเลือกเพศสภาพ หรือว่าในการเลือกประกอบอาชีพเหล่านี้ก็เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเกิดท่านคิดว่าเรื่องเหล่านี้สำคัญก็ช่วยกันสนับสนุนช่วยกันออกความเห็นในทิศทางที่เชิงบวก”

“ถ้าเกิดเห็นด้วยแต่มีข้อแม้บ้างก็ขอให้เสนอออกมาในทิศทางที่เป็นประโยชน์ เพราะในช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมา หรืออาจจะยาวกว่านั้นเนี่ย ในส่วนของผมเอง ขอพูดในฐานะคนไทยแล้วกันว่า เมื่อเรามีความเห็นต่าง เมื่อเรามีความไม่พอใจในการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่ง แทนที่จะพูดจากันด้วยภาษาทุกคนรับฟังกันได้อย่างสบายหู มีสีหน้าที่ดูแล้วมีมิตรภาพบความเห็นต่าง ผมว่าจะเป็นการกระทำที่ดีกว่า แต่ปัจจุบันนี้เรื่องของการให้ความสำคัญกับโซเชียลมีเดียเยอะ มีคนพูดกันเยอะ มีคนแสดงความคิดเห็นเยอะ มีการใช้คำพูดที่บาดหัวใจ นะครับ ฟังแล้วก็สะอื้นได้พอสมควรเหมือนกัน ถึงแม้ว่าเป็นเรื่องที่เห็นต่างกันเล็กๆ น้อยๆ ก็ตามที แต่เป็นเรื่องที่การที่ชิงเหลี่ยมชิงพริบชิงไหวชิงพริบที่ทำให้ตัวเองได้เปรียบ แต่ว่าผลกระทบในเชิงลึกมีมาก กับการที่สังคมมีความแตกแยก มีการแบ่งบวกที่ชัดเจน”

นายเศรษฐา ระบุด้วยว่า แต่ละคนมีวิธีการสื่อสารแตกต่างกัน คำพูดมีความหมายลึกซึ้ง และว่าปัญหาไม่ได้เพิ่งเกิดเมื่อ 2-3 ปี ปัญหาเกิดมานานแล้ว หลายคนอาจบอกว่าการใช้ภาษาที่รุนแรง ชัดเจน อาจจะเป็นวิธีการที่แก้ปัญหา แต่ตนจะขอให้มองอีกมุมหนึ่งว่า ถ้าทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา แล้วก็หันเข้าหากัน อาจใช้คำพูดที่ยาว ตนเป็นคนที่พูดน้อยได้ใจความ ตนก็เป็นส่วนหนึ่งที่อาจจะทำให้เกิดความขัดแย้งเกิดขึ้น แต่เราต้องปรับปรุงตัวเองเพื่อลดความขัดแย้งจากการพูดจา

“เรื่องการที่เราใช้คำว่าปฏิรูป สังคายนา ล้างบาง ผมยกตัวอย่างเป็นคำพูดอย่างนี้แล้วกัน ผมว่าทุกๆ คนก็มีความภูมิใจในองค์กรของตัวเอง ผมเข้าใจว่าทุกคนมีความหวังดีกับองค์กรของตัวเอง ผมเข้าใจว่าทุกๆ องค์กรมีคนดี คนไม่ดี แต่ว่าการที่เราใช้คำพูดที่รุนแรง วิธีการที่ก่อให้เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวกที่ชัดเจน มันเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาหรือเปล่า หรือการแก้ไขปัญหามันอยู่การกระทำ ไม่ใช่อยู่ที่การพูด ผมเชื่อว่าอยู่ที่อันหลังนะครับ มันอยู่ที่วิธีการในการทำ การที่เอาสถาบันต่างๆ มาพูดในที่สว่าง ที่มีคำพูดที่รุนแรง ผมเชื่อว่าไม่เป็นการแก้ไขปัญหา การแก้ไขปัญหาคือการพูดคุยกันในภาษาที่ทุกคนยอมรับได้ แต่ไปเน้นหนักเรื่องการกระทำ เรื่องขบวนการในการแก้ไขปัญหาที่จะทำให้สังคมดีขึ้น”

“ผมเชื่อว่าผมไม่ต้องพูดเยอะในเรื่องนี้ ผมเชื่อว่าทุกคนตระหนักดีอยู่แล้ว การกระทำตัวของทุกๆ คน ในสังคม มีส่วนช่วยทำให้สังคมลดความเหลื่อมล้ำ คนที่มีเยอะเรื่องของการใช้โซเชียลมีเดียในการอวด แสดงตนว่าเหนือท่าน หลายๆ เรื่องพวกนี้ถ้าเกิดลดลงไปได้บ้าง คนที่อยู่ของชายขอบของสังคม เขาก็จะมีความสบายใจขึ้น ผมเชื่อว่าทุก ท่านในที่นี้อาจจะรวมถึงตัวกระผมเองก็อาจต้องรับผิดชอบไปเหมือนกัน ไม่สายเกินไปเราลองมาช่วยเยียวยาให้มันสังคมดีขึ้นจากการกระทำของพวกเราเองทุกคนผมพูดไปหลายวงแล้วไม่อยากจะเน้นมากเดี๋ยวจะหาว่าผมมีอคติกับเรื่องนั้นเรื่องนี้ แต่ว่ามีความไม่สบายใจจริงๆ กับเรื่องนี้ แล้วคิดว่าเรามีความต้องรับผิดชอบต่อสังคม อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เราจะนำประเทศเดินไปข้างหน้าได้ควบคู่กับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญให้เป็นฉบับที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น” นายเศรษฐา กล่าว

 

นายเศรษฐา ยังกล่าวอีกว่า ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาที่ทุกคนเข้าใจดี ดูได้จากประเทศเพื่อนบ้านอัตราการเจริญเติบโตหรือจีดีพีของประเทศเพื่อบ้านโตกว่าเราสองเท่า ประเทศเราเองก็ประสบปัญหาเหมือนกัน เรากำลังอยู่ในช่วงที่เราฟื้นตัวจากโควิด-19 รัฐบาลเองก็ใช้เวลานานกว่าจะเข้ามาถึงจุดตรงนี้ได้ เราก็พยายามที่จะเข็นนโยบาย

เหตุผลหนึ่งที่เราแพ้เวียดนาม ไม่ใช่เรื่องการขึ้นค่าแรง มันเป็นเรื่อง FTA ที่เรามีน้อยกว่า เป็นเรื่องที่เราไม่ได้ออกไปประกาศว่าเราจะมีการเปิดประเทศครั้งใหญ่ ไม่ได้นำเอกชน ไม่ได้นำองค์กรรัฐที่สนับสนุนการลงทุนระหว่างประเทศเข้ามามีส่วนในการโฆษณา หลายๆ บริษัทให้ความสนใจ ไมโครซอฟต์ กูเกิล เทสลา บริษัทเทคใหญ่ๆ จะลงทุนครั้งหนึ่งไม่ต่ำกว่า 5 พันล้านเหรียญ ธุรกรรมต่อเนื่องก็จะมีมาอีก เราคาดหวังอย่างสูงว่าจะเกิดขึ้น มีการคุยต่อเนื่องไม่ใช่จับมือเจ๊าะแจ๊ะก็จบ การประชุมเอเปคที่ซานฟรานซิสโก กลางเดือนพฤศจิกายน มีการนัดหมายแล้วว่าจะไปคุยต่อ และเป็นความหวังลึกๆของรัฐบาลว่าจะตกลงกันได้ในขั้นพื้นฐานกับหลายๆ บริษัท

“จะเป็นนิมิตหมายอันดีให้กับทั่วโลกว่าประเทศไทยได้เปิดแล้ว และพร้อมสำหรับการลงทุนครั้งยิ่งใหญ่เพราะเราไม่สามารถพึ่งการเจริญเติบโตของจีดีพีได้จากภาคการเกษตรอย่างเดียว ต้องมีการลงทุนครั้งใหญ่ ครั้งใหญ่ที่สุด” นายเศรษฐา กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า