SHARE

คัดลอกแล้ว

จะปังหรือจะพัง นักเศรษฐศาสตร์และนักวิชาการหลายคนทยอยออกมาแสดงทัศนะต่อนโยบายแจกเงินหมื่นดิจิทัลของรัฐบาลเศรษฐาตั้งแต่ก่อนหน้าการเลือกตั้ง จนถึงวันนี้ที่เพื่อไทยได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลและประเทศไทยมี เศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี ความข้องใจในนโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเลตหนึ่งหมื่นบาทยังคงเป็นที่ถกเถียง ว่าจะรุ่ง หรือจะร่วง

ระหว่างที่นโยบายนี้ยังคงถูกยกมาพูดคุยกันในทุก ๆ วัน TODAY LIVE เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2566 มีโอกาสพูดคุยกับ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ ถึงสภาพเศรษฐกิจทั้งไทยและเทศ และปัจจัยการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเศรษฐากับความท้าทายที่รออยู่

ภาพรวมเศรษฐกิจไทยขยายตัวช้า ซ้ำเศรษฐกิจโลกกระทบ

รศ.ดร.สมชาย: เศรษฐกิจในครึ่งปีแรกขยายตัวช้ากว่าที่หลายคนคาดโดยเฉพาะในไตรมาส 2 ขยายตัวเพียง 1.8% มีการคาดการณ์ว่าจะขยายตัวประมาณ 3% กว่า เพราะฉะนั้นรวมกันแล้วครึ่งปีแรกขยายตัว 2.2% ตอนแรกนักเศรษฐศาสตร์ทั้งรัฐและเอกชนคาดว่าปีนี้จะขยายตัวประมาณ 3.6-3.8% เมื่อตัวออกมาแบบนี้โอกาสที่มันจะไปถึงตรงนั้นคงยากมาก อย่างเก่งอาจจะขยายสักปีละประมาณ 3% เป็นส่วนหนึ่งที่อธิบายว่าทำไมรัฐบาลเศรษฐาถึงพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น

ระยะนี้ที่ต้องคำนึงอีกประการคือ เศรษฐกิจโลกหรือประเทศจีนที่เราเกี่ยวข้องด้วย เนื่องจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนต่ำกว่าที่หลายคนคาดเอาไว้ ปีนี้จีนจะถึง 5% ค่อนข้างยากเลยกระทบไทยค่อนข้างมาก เพราะว่าเบอร์ 2 ของโลกเศรษฐกิจขยายตัวต่ำทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจโลกขยายตัวช้าลง จะช้าส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการท่องเที่ยว แต่การท่องเที่ยวของไทยปีนี้ตัวเลขออกมาค่อนข้างจะดี คาดว่าจะถึง 28-29 ล้านคน จีนเองที่มีปัญหาแต่ในระยะ 2-3 เดือนหลังจะเข้ามาไทยค่อนข้างมาก ทั้งปีคนจีนเข้ามาไทยสัก 4-5 ล้านคนก็โอเค

แต่ที่เป็นปัญหาของไทยตอนนี้คืออัตราดอกเบี้ยกับเงินเฟ้อโลก แม้ว่าในอเมริกาจะลดลงเหลือ 3% และในยุโรปก็ลดลง แต่เกรงว่าเงินเฟ้อจะคาอยู่เพราะราคาน้ำมันกำลังอยู่ในขาขึ้น เราจะเห็นเบรนด์ขึ้นมาถึง 90 กว่า พอเป็นแบบนี้ธนาคารกลางอเมริกา และสหภาพยุโรปต่างมองว่าอาจจะหยุดการขึ้นดอกเบี้ยนิดหนึ่ง แต่ตั้งใจจะขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งใน 2-3 เดือนนี้ เงินเฟ้อยังมีความไม่แน่นอน สิ่งที่เห็นได้ชัดคือดอกเบี้ยยังคงตัวระดับสูงอาจจะขึ้นต่อนิดหน่อย หรือปีหน้าที่หวังดอกเบี้ยจะลงเยอะโอกาสจะลดลงมีน้อย ถึงจะลดลงก็อาจจะน้อยกว่า ก็ส่งผลทำให้คนมีความรู้สึกว่าต้องไปซื้อสินทรัพย์ที่เป็นตัวดอลลาร์ เนื่องจากให้ผลตอบแทนสูง พูดง่าย ๆ อเมริกาขึ้นอัตราดอกเบี้ยจาก 0-0.25% ขึ้นมาถึง 5.25-5.5% และมีโอกาสขึ้นต่อ ช่องว่างประมาณ 5% ของยุโรปจาก 0.5% ขึ้นมาถึง 4.5% เพราะงั้นช่องว่างของไทยก็ยังมีเยอะ

แม้ก่อนหน้าที่ธนาคารกลางขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เราก็ขึ้นจาก 0.5% เป็น 2.25% ช่องว่างคือไทยขึ้น 2% อเมริกาขึ้น 5% ยุโรปขึ้นประมาณ 4% ช่องว่างตัวนี้อธิบายว่าทำไมแบงก์ชาติจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยเมื่อไม่นานมานี้เพราะต้องลดช่องว่าง หากไม่ลดช่องว่างจะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนของประเทศต่าง ๆ อ่อนตัวต่อดอลลาร์ เงินยูโรก็อ่อนตัวกับดอลลาร์ เงินบาทก็อ่อนตัวกับดอลลาร์ค่อนข้างจะมากกว่าปกติ เนื่องจากไทยมีปัญหาเรื่องจีนเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะงั้นนี่ก็เป็นเหตุผล พร้อมกับเงินเฟ้อที่คาดว่าจะสูงขึ้นบวกกับค่าใช้จ่ายที่รัฐบาลที่จะใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ หากการบริหารที่ทำให้เกิดความกังวลอาจจะทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น แต่ที่แน่นอนอาจจะทำให้หนี้สาธารณะที่ปัจจุบันอยู่ที่ 61% มีโอกาสที่จะขึ้นต่อ สิ่งนี้เป็นเรื่องของเสถียรภาพ เป็นส่วนหนึ่งที่อธิบายสถานการณ์ว่าด้านหนึ่งอัตราการเติบโตช้าก็จำเป็นต้องกระตุ้น แต่พอกระตุ้นก็มีความเสี่ยงในเรื่องของเสถียรภาพ เป็นเหตุผลที่นายกฯ กับแบงก์ชาติมาคุยกันว่าเราจะกระตุ้นยังไงให้มันเกิดเสถียรภาพได้

ขึ้นดอกเบี้ยแล้ว คนรากหญ้าจะได้รับผลกระทบอย่างไร?

รศ.ดร.สมชาย: การขึ้นดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับแบงก์ชาติ แล้วก็ขึ้นอยู่กับธนาคารพาณิชย์ว่าจะขึ้นด้วยหรือไม่ โดยปกติธนาคารพาณิชย์มักจะขึ้นดอกเบี้ย แต่ก็ไม่จำเป็นต้องขึ้นทุกครั้ง ถึงอย่างนั้นก็ยอมรับว่ามีแนวโน้มจะขึ้น พออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นคนที่กู้ยืมมีหนี้สิน ภาระก็จะสูงขึ้นจากดอกเบี้ย ขณะเดียวกันก็เกรงว่าการขึ้นดอกเบี้ยอาจจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวช้าลง แต่ขอเรียนว่าอัตราดอกเบี้ยที่ไทยขึ้น 0.25 กับสิ่งที่รัฐบาลกำลังทำอยู่คิดว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้ก็ยังขยายตัว อย่างครึ่งปีหลังไตรมาสที่ 4 น่าจะขยายตัวได้ดีขึ้นถ้ากระตุ้นเร็วจาก 2.2 เป็น 2.8 แต่ถ้ากระตุ้นดี ๆ ปีหน้ามองเปอร์เซ็นต์ต่ำ ๆ อาจจะขึ้นไปถึง 3.5% หรืออาจจะถึง 4% แต่รัฐบาลอาจจะหวังถึง 5% ก็ต้องดูไป

เพียงแต่ในปีหน้าถ้าไทยต้องการกระตุ้นให้มันถึง 4% หรือ 5% มันมีสิ่งที่จะต้องมาดูนิดหนึ่ง เพราะเสถียรภาพทางการคลังที่วัดได้จากหนี้สาธารณะเรานั้นเกินจุดจับตามองแล้วจาก 60% เป็น 61% มีการมองว่าจะขึ้น 64-65% ที่สำคัญคือการขาดดุลงบประมาณปัจจุบันประมาณ 3% กว่า ปีหน้ามีโอกาสที่จะขึ้นไปถึง 4% กว่า อีกอันนึงคืองบประมาณแผ่นดินที่เป็นงบลงทุนเหลืออยู่ 20% ปกติควรจะเป็น 30% ดังนั้นการที่มีรายจ่ายเพิ่มขึ้นมาในรายจ่ายพวกนี้จะเป็นงบประจำที่สูงขึ้น สิ่งที่รัฐบาลต้องทำคืออย่าให้รายจ่ายตัวนี้เพิ่ม ต้องมีรายรับเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจรองรับเสถียรภาพทางการคลัง เป็นความท้าทายของรัฐบาลชุดนี้ว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจขยายไป 4-5% โดยไม่กระทบกับเสถียรภาพทางการคลังที่หลายคนเป็นห่วงได้หรือไม่

แนวโน้มนายกฯ แบงก์ชาติ คุยกันแล้วทิศทางเป็นแบบไหน

รศ.ดร.สมชาย: ไม่สามารถตอบได้ แต่แง่วิเคราะห์ทางด้านแบงก์ชาติจะเน้นเรื่องเสถียรภาพทางการเงิน และเน้นความมีเหตุมีผลด้านเศรษฐกิจ แต่ในแง่ของการเมืองบางครั้งจะเน้นความได้เปรียบเชิงการเมืองในวาระที่แตกต่างกันไป หากเราเน้นความได้เปรียบทางการเงินและสัญญากับประชาคมแล้วว่าวันนี้ต้องทำตัวเร่ง แต่ว่าตัวเร่งมันอาจจะไม่ได้ไปด้วยกัน พอไม่ไปด้วยกันถ้าเกิดความขัดแย้งว่า ถ้ากระตุ้นแบบนี้อาจจะมีประสิทธิภาพ จะขึ้นอยู่กับรัฐบาลกับแบงก์ชาติบางประเทศ อย่างในอเมริกาที่แบงก์ชาติค่อนข้างเป็นอิสระ เพราะฉะนั้นแม้ว่าจะขัดแย้งแต่ด้านรัฐบาลก็ให้แบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ย

แต่ในบางประเทศรัฐกับแบงก์ชาติมันอาจจะขัดแย้งกันไม่ได้ เช่น คุณจะต้องปล่อยให้ผมกระตุ้นได้ไหม ถ้าหากไม่ได้ ความขัดแย้งอาจนำไปสู่ความไม่ลงรอยกัน ซึ่งในอดีตประเทศไทยก็เคยมีอยู่ แต่ขณะนี้ไม่ได้พูดว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นมา เพียงแต่คงจะต้องมาทำความเข้าใจร่วมกันว่า แบงก์ชาติ ภาระของเขาคือรักษาเสถียรภาพ ต้องดูแลเรื่องดอกเบี้ย เงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งในบางครั้งอาจจะไม่ตรงกับที่รัฐบาลต้องการ เพราะการขึ้นดอกเบี้ยของแบงก์ชาติ รัฐบาลอาจจะมองต่างมุมกันได้ ถ้าคุยกันต่างคนต่างก็อธิบายให้รู้หน้าที่ หน้าที่ของแบงก์ชาติกับหน้าที่ของรัฐบาล บางครั้งมันไปด้วยกันได้ บางครั้งอาจจะต้องทำอย่างหนึ่งกระทบอีกอย่างหนึ่ง ต้องดูกันว่ามันจะสอดคล้องกันหรือไม่ในอนาคต

ไทยเศรษฐกิจฟื้นตามหลังอาเซียน เศรษฐกิจโลกไม่แน่นอน

รศ.ดร.สมชาย: หลังโควิดไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น ตอนโควิดเมื่อ 2-3 ปีที่แล้วติดลบ 6.1% ปีต่อมา 1.1-1.8% กว่า ปีต่อมา 2-2.5% ปีนี้คาดว่าจะเป็น 3% กว่า ๆ ตอนนี้อยู่ที่ 2.2% ต้องยอมรับว่ามันฟื้นตัว แต่ฟื้นตัวในอัตราที่ต่ำที่สุดในอาเซียน เลยหวังว่ารัฐบาลใหม่มาจะใช้กลไกที่สัญญาไว้กับประชาชนในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นเร็วที่สุด คิดว่าปีนี้อาจจะพยายามฟื้นตัวให้ได้ 3% แต่ผมดูแล้วค่อนข้างยาก ปีหน้ารัฐบาลบอกว่าจะเอาถึง 5% อันนี้ก็คิดว่าไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าจะขึ้นมาได้ 3-4% อาจจะได้ พูดง่าย ๆ คือจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลต้องกระตุ้น แต่ถ้าไม่กระตุ้นเศรษฐกิจปีหน้าฟื้นตัวก็ไม่ได้ลำบากนักเพราะว่าเศรษฐกิจโลกชักมีความไม่แน่นอน

ในอเมริกากลัวว่าไตรมาสนี้เจอปัญหาหลายเรื่องทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่ขอเรียนว่าเวลาที่เขาพูดกันต้องฟังหูไว้หู วิเคราะห์ผิด ๆ กันก็แย่มากถ้ามองโลกในแง่ร้าย แต่ต้องยอมรับว่ามันอันตรายมีความเสี่ยง ยังไงเศรษฐกิจก็ชะลอตัวลง เมื่อชะลอตัวลงเราก็ต้องบริหารในลักษณะที่ยอมรับความเสี่ยงที่กำลังเกิดขึ้น เงินเฟ้อที่ยังไม่ยอมลดลง และเศรษฐกิจจีนที่เราต้องพึ่งพายังมีปัญหาอสังหาริมทรัพย์ นี่เป็นส่วนหนึ่งที่อธิบายว่าเรากำลังเผชิญความท้าทายของเศรษฐกิจโลกซึ่งไม่ค่อยเอื้ออำนวยต่อเรา

ในด้านนึงเราอาจมีความจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นเศรษฐกิจจริง แต่การกระตุ้นก็มีความเสี่ยงเพราะเงินเฟ้อมีเรื่องของต้นทุน เรื่องของเสถียรภาพเป็นเรื่องที่ต้องคุยกันตลอดทั้งปี เพราะด้านนึงกระตุ้น อีกด้านนึงมันอยู่ในความไม่แน่นอน ความเสี่ยงในด้านเสถียรภาพมันมีขึ้นมา เพราะงั้นจะทำยังไงให้เกิดดุลยภาพคือกระตุ้นได้ดีภายใต้กฎที่มันยังรองรับได้ อันนี้เป็นสิ่งที่อาจจะเกิดจากการดำเนินนโยบาย พูดง่าย ๆ ต้องเต้นรำให้เก่งไม่ตกเวที

การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยหรือเงินเฟ้อดูที่ปัจจัยอะไร?

รศ.ดร.สมชาย: ดูที่การขยายตัวของหนี้สาธารณะ ตอนนี้มันเกิน 60% ไปแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าเกิน 60% แล้วมันจะมีปัญหา แล้วต้องติดตามการขาดดุลงบประมาณทะลุ 3-4% ทั้งยังต้องดูดุลบัญชีเดินสะพัดเพราะตัวนี้วัดว่าประเทศมีรายรับ-รายจ่ายโดยรวมยังไง คนก็จะมาดูว่าแล้วเงินเฟ้อเป็นยังไงบ้าง เพราะฉะนั้นก็มีการพูดกันว่า ถ้าเงินเฟ้อสูงขึ้นเกินกว่าที่เราคาดการณ์ ดุลบัญชีเดินสะพัดจะมีปัญหาโดยเฉพาะหนี้ขึ้นมาหลายตัว แต่เราไม่ได้ดูตัวเดียว หากเป็นแบบนี้สิ่งที่มีความเสี่ยงอีกอันนึงคือเรตติ้งของบริษัทที่ขยายเพดานหนี้ก็ปรากฏว่าเรตติ้งถูกลดไป แต่ไม่ใช่ลดทุกบริษัท เพราะงั้นสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์เตือนก็หมายความว่าถ้าเรามองข้ามเสถียภาพไปนิดนึงจุดที่ไม่ดีเริ่มต้นจะมาจากการที่บริษัทถูกลดเรตติ้งลง พอเรตติ้งลงผลตอบแทนปฏิบัติสูงขึ้น ต้นทุนในการกู้จะแพงขึ้น นี่คือการดู

ชมรายการแบบเต็ม ๆ ได้ที่ todayLIVE

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า