SHARE

คัดลอกแล้ว

หลายคนอาจไม่รู้ว่าคนไทยกว่า 1 ใน 3 มี ‘หนี้’ และจำนวนมากมีหนี้ในปริมาณสูง

คนไทยที่มีหนี้เกิน 1 ล้านบาทมีจำนวนถึง 14%
คนไทยที่มีหนี้เกิน 1 แสนบาทมีจำนวนมากถึง 57%
และมูลค่าหนี้เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าใน 10 ปีที่ผ่านมา

นอกจากนั้น คนไทยยังมีหนี้ ‘หลายบัญชี’ โดยกว่า 32% ของคนไทยมีหนี้ 4 บัญชีขึ้นไป

ทำให้ ‘สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP’ ของไทย สูงกว่าประเทศตลาดเกิดใหม่ (emerging market economies) ด้วยกัน อย่างเช่น อินเดีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย

เราจะเห็นว่า ‘สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP’ ของไทย สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก เพราะสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยสูงพอๆ กับประเทศพัฒนาแล้ว (advanced economies) อย่างสวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา

ที่สำคัญ สัดส่วนหนี้ต่อ GDP ของไทยยังขยายตัวเร็วกว่าหลายประเทศอย่างชัดเจน โดยเพิ่มขึ้นถึง 55% ในช่วง 12 ปีที่ผ่านมา (2552-2564)

อีกอย่าง คือ 2 ใน 3 ของบัญชีหนี้ครัวเรือนไทยเป็น ‘สินเชื่อที่ไม่สร้างรายได้’ เป็นสินเชื่อส่วนบุคคล 39% และบัตรเครดิต 29% หรือเรียกว่า หนี้เพื่อการอุปโภค ใช้แล้วหมดไป ไม่ช่วยให้มีรายได้เพิ่มหรือมีชีวิตดีขึ้นในอนาคต

ขณะที่หนี้ที่สามารถสร้างรายได้ อย่างหนี้เพื่อธุรกิจและหนี้บ้านมีสัดส่วนเพียง 4% จากบัญชีทั้งหมด ทั้งๆ ที่พอไปเทียบกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่มีสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ใกล้เคียงกันกับไทยนั้นมีสัดส่วนหนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้บ้าน

ทำให้ ธปท. มองว่า สถานการณ์นี้ของคนไทย ‘ค่อนข้างน่ากังวล’ เพราะหนี้ส่วนใหญ่ไม่สร้างรายได้ รวมถึง 20% ของคนไทยที่เป็นหนี้มี ‘หนี้เสีย’

ส่วนใหญ่ ‘วัยเริ่มทำงาน’ (20-35 ปี) มีสัดส่วนหนี้ที่อาจไม่สร้างรายได้สูงที่สุด และมีสัดส่วนของผู้กู้ที่มีหนี้เสียสูงที่สุด คือ 25%

อีกกลุ่ม คือ กลุ่มเกษตรกรและกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่มีสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้สูงที่สุด และสุ่มเสี่ยงที่จะชำระหนี้ไม่ได้ หรือชำระได้เพียงดอกเบี้ยหรือบางส่วน

จึงทำให้ ‘ปัญหาหนี้ครัวเรือนไทย’ ยังเป็นที่พูดถึงอย่างต่อเนื่อง เพราะจะส่งผลกระทบฉุดรั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจ และเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ

ด้าน ธปท. อธิบายว่า หนี้ครัวเรือนเกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น

– ขาดภูมิคุ้มกัน : จากรายได้ที่ไม่แน่นอนและจะไม่แน่นอนมากขึ้นในอนาคต ร่วมกับยังไม่มีระบบสวัสดิการที่เข้าถึงได้และมีประสิทธิภาพมารองรับ

– ขาดรายได้ : โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง รายได้น้อย ขาดสภาพคล่อง ทำให้เข้าไม่ถึงหนี้ในระบบ

– ขาดความรู้ : ไม่มีความรู้เรื่องการเงิน หนี้ และกฎหมาย ทำให้เสียเปรียบตอนกู้และค้างจ่าย

– ขาดวินัย : ค่านิยมของมันต้องมี ซื้อของที่อยากได้เกินจ่ายไหว ไม่ออมก่อนใช้ ถูกกระตุ้นด้วยโฆษณาชวนซื้อและชวนกู้ โดยไม่คำนึงถึงภาระหนี้

โดย ธปท. ก็ได้เร่งออกแนวทางแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนหลายด้าน แต่ยืนยันว่าจะต้องขยายผลไปอีก 30% ที่ไม่ได้อยู่ในกำกับของ ธปท. ด้วย

ส่วนพรรคแกนนำรัฐบาลอย่าง ‘เพื่อไทย’ ก็มีแนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยหลักการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และขยายโอกาส เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย ‘ประเทศไทย 2570 คนไทยไร้จน’ โดยมีหลากหลายนโยบายที่มุ่งช่วยแก้ปัญหาหนี้สินให้ประชาชน

ทั้งนี้ ‘หนี้ครัวเรือน’ คือ เงินที่สถาบันการเงินให้คนทั่วๆ ไปอย่างเรากู้ยืม โดยหมายรวมถึงหนี้บัตรเครดิต หนี้ส่วนบุคคล หนี้บ้าน หนี้รถยนต์ และอื่นๆ อีกมากมาย

หมายเหตุ : เป็นการจัดอันดับจากการรวบรวมข้อมูลของ Trading Economics ที่มีจำนวนประเทศทั้งหมด 45 ประเทศจากหลากหลายภูมิภาคทั่วโลก อาทิ ประเทศในยุโรป อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ เอเชีย และออสเตรเลีย

ที่มา

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า