SHARE

คัดลอกแล้ว

ต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจขับเคลื่อนได้จากอุตสาหกรรมต่าง ๆ และกำลังซื้อของคน ซึ่งเมื่อก่อนบางอุตสาหกรรมยังคงผลิตสินค้าเพื่อเอื้อแก่ ‘กลุ่มชนชั้นสูง’ เท่านั้น ทำให้เกิด ‘ความเหลื่อมล้ำ’ อย่างเลี่ยงไม่ได้ 

แต่กลับกันที่ในปัจจุบันในหลาย ๆ อุตสาหกรรมหรือบางบริษัทหันกลับมาผลิตสินค้าให้เอื้อให้ ‘กลุ่มชนชั้นกลาง’ที่มีมากมาย เติบโตและมีกำลังซื้อมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ ต้องเกริ่นก่อนว่าชนชั้นกลางที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึง กลุ่มคนที่สามารถใช้จ่ายในสินค้าและบริการที่ต้องตัดสินใจเป็นอย่างหนักในเมื่อก่อน เช่น เฟอร์นิเจอร์ อิเล็กทรอนิกส์ ยานพาหนะ ร้านอาหาร และการเดินทาง แต่ในปัจจุบันพวกเขาสามารถเข้าถึงค่าใช้จ่ายเหล่านั้นได้

ซึ่งการเติบโตของกลุ่มนี้ก็มาจากการที่ประเทศนั้น ๆ มีโครงสร้างพื้นฐานที่พัฒนาขึ้น โดยเฉพาะการเข้าถึง ‘การศึกษาระดับสูง’ และมี ‘ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี’ ทำให้สามารถผลิตบุคลากรที่มี ‘คุณภาพ’ ลงสู่ตลาดแรงงานได้ 

เห็นตัวอย่างได้จากยุค Gilded Age ที่สหรัฐอเมริกามีการเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ทำให้กลุ่มคนชนชั้นกลางในสหรัฐอเมริกามีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่พัฒนาอยู่เรื่อย ๆ 

ประกอบกับสามารถสร้างแรงดึงดูดให้กลุ่มนักลงทุนเข้าสู่ประเทศ และเกิดอัตราการจ้างงานที่มาพร้อมกับ ‘ค่าตอบแทนสูง’ ส่งผลให้กลุ่มคนชนชั้นกลางสามารถจ่ายภาษีได้มากขึ้น ทำให้รัฐบาลในประเทศนั้น ๆ สามารถต่อยอดและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานได้เรื่อย ๆ และด้วยสาเหตุนี้ทำให้หลาย ๆ อุตสาหกรรมหันมาผลิตสินค้าที่กลุ่มชนชั้นกลางเข้าถึงได้

และถ้าถามว่าการเติบโตของกลุ่มคนชนชั้นกลางเห็นได้ชัดแค่ไหน?

จากข้อมูล GDP ทั่วโลกจะพบว่าประเทศที่มี GDP ต่ำกว่า 4,000 ดอลลาร์ มีอยู่ค่อนข้างน้อย โดยส่วนใหญ่ เฉลี่ยอยู่ที่มากกว่า 4,000 ดอลลาร์ขึ้นไป 

และหากเรามาเริ่มต้นดูจากประเทศเศรษฐกิจใหญ่อย่าง ‘จีน’ ที่มีทางสถาบันสถิติแห่งชาติ (NBS) เผยถึงเกณฑ์ว่าบุคคลที่มีรายได้ตั้งแต่ 14,800 ดอลลาร์สหรัฐจนถึง 74,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มชนชั้นกลาง 

โดยในปัจจุบันกลุ่มเหล่านั้นมีอยู่คิดเป็น 57% ของจีน คิดเป็น 140 ล้านครัวเรือน หรือราว ๆ 400 ล้านคนเลยทีเดียว

ทั้งนี้ สำหรับประเทศในภูมิภาคเอเชียจะพบว่าช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา GDP ต่อหัวที่เฉลี่ยอยู่ที่ 8,000-12,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี ซึ่งแต่ละประเทศมีค่าครองชีพที่ยังสามารถแบ่งให้มีเงินเหลือใช้จ่ายตามใจอยู่บ้าง

อย่างไรก็ดี สำหรับ ‘อินเดีย’ หนึ่งในประเทศที่มีประชากรเยอะเป็นอันดับที่ 2 ของโลก มีการคาดการณ์ถึงความเหลื่อมล้ำที่จะลดลง 

โดยถึงแม้ว่าพนักงานในอินเดียมากกว่า 90% มีรายได้น้อยกว่า 4,000 ดอลลาร์อยู่ แต่เมื่อหักค่าใช้จ่ายรายเดือนแล้วจะพบว่ายังคงมีเงินเหลือให้พวกเขาได้สามารถใช้จ่ายตามใจชอบอยู่ ประกอบกับสินค้าในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อยู่ในราคาที่จับต้องได้อีกด้วย

เช่นเดียวกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคแอฟริกาที่มีหลายประเทศมี GDP ต่อหัวที่เฉลี่ยอยู่ที่มากกว่า 4,000 ดอลลาร์ แต่ยังคงมีกำลังในการจับจ่ายใช้สอยตามใจตัวเอง ทำให้ในอนาคตข้างหน้า ความเหลื่อมล้ำและการเติบโตของชนชั้นกลางและภูมิภาคแอฟริกาเด่นชัดมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันอัตราการเกิดของประชากรโลกลดน้อยลงอยู่ที่ 2.30%เท่านั้น ส่งผลให้โลกกำลังเข้าสู่ Aged Society มากขึ้น โดยกลุ่มคนเหล่านี้เป็นกลุ่มประชากรที่มีกำลังซื้อและสามารถจับจ่ายใช้สอยตามใจตัวเองได้สูงเลยทีเดียว

และท้ายที่สุดแล้วเราจะเห็นการเติบโต ‘กลุ่มชนชั้นกลาง’ ได้ชัดแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับการที่ทุก ๆ ประเทศจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้โตไปกับเศรษฐกิจ ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อธุรกิจและนักลงทุน ประกอบกับมีการลงทุนในเรื่องการศึกษาและเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าด้วยนั่นเอง 

ที่มา

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า