SHARE

คัดลอกแล้ว

รายงานการสำรวจพฤติกรรมแรงงานเมียนมาในประเทศไทยของ Media Intelligence Group (หรือ MI GROUP) อธิบายว่า ปัจจุบันในประเทศไทยมีแรงงานเมียนมากว่า 6.8 ล้านคน โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ไม่ได้ลงทะเบียนทำงาน เพราะกลุ่มแรงงานสัญชาติเมียนมาที่ลงทะเบียนทำงานในประเทศไทยมีจำนวน 1,853,046 คน คิดเป็นกว่า 67% ของแรงงานต่างชาติที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยที่มีกว่า 2.7 ล้านคน

แบ่งเป็นทำงานในภาคโรงงานการผลิต 39% ภาคก่อสร้าง 18% ภาคบริการขาย 15% และภาคเกษตรกรรม 11%

รายงานพบว่า 88% ของแรงงานเมียนมาจากบ้านมาทำงานอยู่ในด้วยสาเหตุ ‘ปัญหาทางการเงิน’ เพราะว่าตอนอยู่เมียนมาหาเงินได้ไม่เพียงพอ สำหรับการดูแลครอบครัวใหญ่และรู้สึกว่าการหาเงินในประเทศเพื่อให้มีชีวิตสุขสบายเป็นเรื่องยาก

ตอนอยู่เมียนมา กลุ่มตัวอย่างแรงงานเมียนมามีรายได้เฉลี่ยเพียง 1,000-5,000 บาทต่อเดือนเท่านั้น และเป็นรายได้ที่ไม่แน่นอน โดยกว่า 12% ของกลุ่มตัวอย่าง คือ ไม่มีรายได้เลย

‘ไทย’ จึงกลายเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ให้ค่าแรงสูง 

จนแรงงานเลือกเดินทางมาทำงานในไทย

ในไทยกลุ่มตัวอย่างแรงงานเมียนมา

มีรายได้เฉลี่ย 10,000-15,000 บาทต่อเดือน

คิดเป็น 3-15 เท่าของเงินเดือนที่เคยได้ตอนอยู่เมียนมา

MI GROUP จึงคาดการณ์มูลค่าทางเศรษฐกิจของแรงงานเมียนมาในไทย

คือ 828,000-1,242,000 ล้านบาทต่อปี

ย้อนกลับมาดู ‘เป้าหมาย’ ของแรงงานเมียนมาในไทย

เป้าหลัก คือ ‘หาเงิน’ เพื่อเก็บเงินกลับไปใช้ชีวิตแบบยั่งยืนที่เมียนมา

โดยแบ่งเป้าหมายเป็น 2 ส่วน คือ เงินปลูกบ้าน-ซื้อรถ และ เงินเริ่มต้นกิจการ

แรงงานเมียนมา 92% อยากกลับไปอยู่บ้าน ถ้าเก็บเงินได้ตามต้องการและสถานการณ์บ้านเมืองสงบ

โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คือ วางแผนจะอยู่ในประเทศไทยแค่ช่วงเวลาหนึ่ง

มองว่า 3-5 ปีเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะเก็บเงินให้เพียงพอจะกลับบ้าน

ดังนั้น แรงงานเมียนมาจึงต้องทำงานล่วงเวลา

ส่วนใหญ่ทำงาน 10 ชั่วโมงต่อวัน และ 6 วันต่อสัปดาห์

กิจวัตรหลักแรงงานเมียนมา คือ อยู่นอกบ้าน 14 ชั่วโมงต่อวัน

แบ่งเป็น 1 ชั่วโมงทำกิจวัตร | 14 ชั่วโมงอยู่นอกบ้าน | 1 ชั่วโมงทำกิจวัตร | 2-3 ชั่วโมงว่าง | 6 ชั่วโมงนอน

หรือแปลว่าช่วงเวลาว่างหลักๆ คือ ช่วงก่อนนอน 2-3 ชั่วโมงที่จะใช้ในการเล่นอินเทอร์เน็ต

กิจกรรมยามว่างอื่นๆ คือ เดินซื้ออาหารและสินค้าต่างๆ จากเมียนมา และซื้อเสื้อผ้าราคาจับต้องได้ สถานที่อย่างเช่นตลาดบางบอน ตลาดประตูน้ำ ตลาดนัดจตุจักร แพลตตินัมแฟชันมอลล์ หรือคอนเสิร์ตวงดนตรีเมียนมาในประเทศไทย

สัดส่วนการใช้จ่ายของแรงงานเมียนมาในไทย แบ่งกว้างๆ เป็น

56% ใช้จ่าย

44% เก็บออม

แบ่ง ‘ใช้จ่าย’ 56% ออกย่อยๆ เป็น

37% ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน อุปโภค และบริโภค

16% ค่าที่อยู่อาศัย ส่วนมากหารกัน อาศัยอยู่ 1-3 คนต่อห้อง 

3% ค่าโทรศัพท์ เติมเดือนละ 200 บาท เน้นอินเทอร์เน็ต มากกว่าโทรเข้าโทรออก

แบ่ง ‘เก็บออม’ 44% ออกย่อยๆ เป็น

28% ส่งเงินกลับเมียนมา ให้พ่อแม่ ลูก มีเงินใช้จ่ายและเก็บออม โดยส่งผ่านนายหน้า

16% เงินเก็บที่ตัวเอง ส่วนใหญ่เก็บเป็นเงินสด โดย 56% ของกลุ่มตัวอย่างมีบัญชีธนาคารและ 32% มีโมบายล์แบงกิ้งในการทำธุรกรรมในประเทศ

พฤติกรรมการบริโภคสื่อของแรงงานเมียนมา

คือ 100% ใช้งานอินเทอร์เน็ต

97% ดูละคร ภาพยนตร์ รายการต่างๆ

87% ดูข่าวสารบ้านเมือง

74% ซื้อสินค้าผ่านออนไลน์

โดย Facebook คือ ช่องทางหลักในการใช้งานโซเชียลมีเดียของแรงงานเมียนมา (98%) ใช้ในการทำทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความบันเทิง ค้นหาข้อมูล ติดต่อครอบครัว ติดต่อเพื่อนที่ทำงาน และซื้อของ

ส่วนโซเชียลมีเดียอื่นๆ แบ่งเป็น Youtube, TikTok, Messenger, Line และ Telegram

ทาง MI GROUP แบ่งช่วงเวลาในไทยของแรงงานเมียนมาเป็น 3 ช่วงหลัก คือ

1) ช่วงตั้งหลัก คือ เดินทางถึงและเริ่มใช้ชีวิตในไทย

สินค้าและบริการที่ต้องการ คือ ซิมการ์ด ที่อยู่ เครื่องแต่งกาย ของใช้ส่วนตัว เครื่องสำอาง และงาน

สื่อหลัก คือ ป้ายบิลบอร์ด ป้ายถนน Facebook รถตู้ รถสองแถว และนายหน้า 

2) ช่วงตั้งตัว คือ ใช้ชีวิตและทำงานในไทย

สินค้าและบริการที่ต้องการ คือ ใบอนุญาตทำงาน บัญชีเงินฝาก หม้อหุงข้าว พัดลม โทรศัพท์ เสื้อผ้าแฟชัน สกินแคร์ สินค้าอุปโภคบริโภค และทอง

สื่อหลัก คือ Facebook, YouTube, TikTok, Messenger, Line, Lazada, Shopee, Direct Selling, ปากต่อปาก, จุดขายสินค้า, ป้ายบิลบอร์ด ป้ายถนน แท็กซี่ รถเมล์ และบีทีเอส

3) ช่วงตั้งใจ คือ ติดต่อครอบครัวและกลับบ้าน

สินค้าและบริการที่ต้องการ คือ ติดต่อครอบครัว ส่งเงิน โอนเงินข้ามประเทศ ยา อาหารเสริม รังนก เครื่องแต่งกาย ของอุปโภค เครื่องใช้ไฟฟ้า และทอง

สื่อหลัก คือ Facebook, YouTube, TikTok, Messenger, Line, Lazada, Shopee, Direct Selling, ปากต่อปาก, จุดขายสินค้า, ป้ายบิลบอร์ด ป้ายถนน แท็กซี่ รถเมล์ และบีทีเอส

ดังนั้น หากแบรนด์อยากจะจับตลาดกลุ่มแรงงานเมียนมาที่มูลค่าทางเศรษฐกิจสูงกว่า 1.2 ล้านล้านบาทต่อปี MI GROUP แนะนำให้เน้นสินค้าที่จับต้องได้ เข้าถึงได้ เข้าใจได้ และเชื่อถือได้ด้วย โดยสองสื่อหลักๆ ที่จะต้องใช้ คือ สื่อบนอินเทอร์เน็ตและสื่อนอกบ้านตามลักษณะการใช้สื่อของกลุ่มเป้าหมาย

ข้อมูลจากการสำรวจแรงงานเมียนมาในประเทศไทยที่มีอายุระหว่าง 25-35 ปี โดยแบ่งเป็นการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 212 คนในรูปแบบออนไลน์ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2023 และ 50 คนในรูปแบบการสัมภาษณ์เชิงลึก ตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายน 2023

‘ภวัต เรืองเดชวรชัย’ ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือ MI GROUP และ ‘วิชิต คุณคงคาพันธ์’ Head of International Business Development, MI GROUP ผู้ให้ข้อมูลในครั้งนี้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า