SHARE

คัดลอกแล้ว

ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่บริษัทหรือองค์กรใดก็ตาม จะสามารถดำเนินธุรกิจได้ยาวนานเป็นหลักร้อยปี แต่ ‘เนสท์เล่’ หนึ่งในผู้นำธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม กลับพิสูจน์ให้เราเห็นแล้วว่า แม้แต่ยุคสมัยแห่งการผันแปรที่ไม่มีอะไรแน่นอน ก็ไม่สามารถสั่นคลอนการยึดมั่นในหลักการทำงาน ที่พร้อมโอบรับทุกการเปลี่ยนผ่าน จนองค์กรสามารถเติบโตในประเทศไทยอย่างมั่นคง และยืนยาวมาได้จนถึงปีที่ 130

สำนักข่าว TODAY ได้มีโอกาสพูดคุยกับ ‘วิคเตอร์ เซียห์’ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เนสท์เล่ อินโดไชน่า เพื่อหาคำตอบว่าอะไรคือหัวใจสำคัญ ที่ทำให้เนสท์เล่สามารถครองใจคนไทยมาได้จนถึงทุกวันนี้ พร้อมเผยกลยุทธ์ที่จะขับเคลื่อนให้เนสท์เล่ก้าวต่อไป เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคชาวไทยได้ดียิ่งขึ้น

“เนสท์เล่เรามีปรัชญา Good food, Good life หรืออาหารที่ดี เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี มาอย่างยาวนาน เพราะเราต้องการเปิดพลังแห่งอาหาร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคให้ดียิ่งขึ้น”

‘วิคเตอร์’ กล่าวถึงเบื้องหลังของหลักคิดการทำงานที่มักถูกสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ ว่ามาจากความต้องการที่จะมอบผลิตภัณฑ์ที่มีทั้งรสชาติที่ดี และโภชนาการที่ดีแก่ผู้คน สิ่งนี้เป็นแนวคิดที่มีมาตั้งแต่การก่อตั้งองค์กรในอดีต และยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน

ตลอด 130 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาการดำเนินธุรกิจอันยาวนาน เนสท์เล่เติบโตจนสามารถมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเพื่อตอบสนองผู้บริโภคทุกกลุ่ม ไม่เว้นแม้กระทั่งสัตว์เลี้ยง

หัวใจสำคัญ คือ ผู้บริโภคท้องถิ่น 

“เราทำธุรกิจมานาน และสิ่งที่บอกได้เลยคือ ผู้บริโภคในแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกัน อย่างเอกลักษณ์ของตลาดไทย คือ ความก้าวหน้าของผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม เราค้นพบว่าในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปี มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และมุมมองใหม่ ๆ เกิดขึ้นจำนวนมาก”

ยกตัวอย่าง ตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ซึ่งนับว่ามีการแข่งขันสูง เพราะประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ผลิตและส่งออกเครื่องดื่มสูงที่สุดในระดับภูมิภาครวมถึงระดับโลก ทำให้การเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าในการออกแบบคิดค้นผลิตภัณฑ์มีความหลากหลายและรวดเร็วโดดเด่นกว่าภูมิภาคอื่น

เนสท์เล่มีเครือข่ายศูนย์วิจัยและพัฒนากว่า 23 แห่งใน 4 ทวีปทั่วโลก คอยทำหน้าที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการและออกแบบคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

หน่วยงานเหล่านี้จะทำงานร่วมกัน โดยศูนย์วิจัยด้านเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ จะหยิบเอาข้อมูลความรู้จากงานวิจัยของศูนย์วิจัยด้านโภชนาการ มาเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม โดยร่วมมือกับโรงงานในประเทศไทย เพื่อออกแบบรสชาติที่ถูกปากผู้บริโภคชาวไทย ผลลัพธ์จึงออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกปากคนไทยแต่ยังมีคุณประโยชน์ทางโภชนาการที่ผ่านการรับรองจากมาตรฐานของเนสท์เล่ในระดับโลก

“ในมุมมองของเนสท์เล่ เราเชื่อว่ามันไม่มีสิ่งที่เรียกว่าผู้บริโภคระดับสากลอยู่ ดังนั้นในแต่ละประเทศที่บริษัทของเราตั้งอยู่ เราจึงใส่ใจกับความต้องการของผู้บริโภคระดับท้องถิ่นเป็นอย่างมาก เราพยายามมองหาข้อมูลเชิงลึก เพื่อศึกษาว่าพวกเขาต้องการผลิตภัณฑ์แบบไหน ก่อนจะตอบสนองต่อความต้องการนั้น ดังนั้นการทำความเข้าใจกลุ่มผู้บริโภคก่อนจะออกแบบผลิตภัณฑ์ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด”

ความต้องการของผู้บริโภคมักจะสะท้อนผ่านผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของเนสท์เล่ที่ถูกปล่อยออกมา
ยกตัวอย่าง เช่น ผลิตภัณฑ์เนสกาแฟ ซึ่งแทบจะมีอยู่ทุกบ้าน โดยหลังจากการศึกษาทั้งในแง่ของความต้องการของผู้คน และค่านิยมในสังคมที่เปลี่ยนไป จะเห็นว่าสินค้าภายใต้แบรนด์เนสกาแฟมีทั้งสูตรน้ำตาลต่ำ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการอาหารและเครื่องดื่มที่คำนึงถึงสุขภาพมากขึ้น

ขณะเดียวกันก็มีสินค้าประเภทละลายได้ในน้ำเย็น เพื่อตอบสนองในด้านความสะดวกสบาย เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเขตร้อน ซึ่งปัจจุบันคนก็หันมานิยมทานเครื่องดื่มชนิดเย็นมากขึ้น

“อีกกระแสหนึ่งที่กำลังมาแรงในประเทศไทย คือความสนใจประเด็น ‘ความยั่งยืน’ เดี๋ยวนี้ผู้คนเริ่มหันมาตระหนักถึงปัญหาซึ่งเป็นประเด็นระดับโลก รวมถึงต้องการที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ไข ผมมองว่าคนไทยก็เห็นความสำคัญของปัญหานี้ และจะยิ่งให้ความสำคัญกับมันมากขึ้นอีกในอนาคต”

ความยั่งยืนเริ่มได้เดี๋ยวนี้

“ปัญหาโลกร้อนถือเป็นปัญหาใหญ่ เนสท์เล่เองก็ให้ความสนใจ และมีเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050”

แต่ก่อนจะถึงปี 2050 เนสท์เล่ประเทศไทยเองก็เริ่มตั้งเป้าหมายระยะสั้นไว้ในปี 2025 แล้ว โดยมีเส้นทางการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 หรือ ‘Nestlé Thailand Net Zero 2050 Roadmap’ ที่มีแผนการขับเคลื่อนหลัก 4 ด้าน ได้แก่

      • ด้านบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก (Sustainable Packaging)
        เป็นการตั้งเป้าว่าในปี 2025 บรรจุภัณฑ์ 95% จะต้องเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับการออกแบบให้สามารถรีไซเคิลได้
      • ด้านการจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน (Sustainable Sourcing)
        เนื่องจาก 2 ใน 3 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาจากภาคการเกษตร เนสท์เล่จึงเข้าไปร่วมแก้ไขตั้งแต่แหล่งกำเนิดวัตถุดิบ ด้วยโครงการจัดอบรมความรู้ด้านการเกษตรเชิงฟื้นฟูให้แก่เกษตรกรกาแฟและโคนมกว่า 3,000 ราย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรรวมถึงลดคาร์บอน
      • ด้านการดูแลและจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน (Water Stewardship)
        ตั้งเป้าฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรน้ำ ด้วยการชดเชยน้ำกลับสู่ธรรมชาติและชุมชน
      • ด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Reduction)
        เป้าหมายเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน 20% ภายในปี 2025 รวมถึงพัฒนาโครงการใหม่ ๆ ที่ใช้พลังงานทดแทน และเทคโนโลยีที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ

ทั้งหมดเป็นนโยบายด้านความยั่งยืนที่ทางเนสท์เล่ได้เริ่มต้นไปแล้ว โดยนอกจากความตั้งใจในการรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ก็ยังหวังผลว่าจะทำให้ผู้บริโภคหันมาสนใจในประเด็นความยั่งยืนมากขึ้น

หนทางต่อไปของ ‘เนสท์เล่’

บทสนทนาครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่การปรับตัว และเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบรับกับกระแสโลกยุคใหม่ คำถามต่อไปจึงเป็นการมองไปที่อนาคตของเนสท์เล่ วิคเตอร์เล่าว่า หากย้อนกลับไปที่หลักคิดการทำงาน Good food, Good life วิคเตอร์อธิบายว่า พูดแบบเข้าใจง่าย ๆ ความหมายของมันคือ “ดีต่อคุณและดีต่อโลก” ในประเด็น ‘ดีต่อโลก’ นั้นหมายถึงโครงการต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อความยั่งยืนและคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งได้กล่าวไปแล้ว แต่ในแง่มุม ‘ดีต่อคุณ’ นั้น คือการสร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภคว่าผลิตภัณฑ์ของเนสท์เล่จะมีรสชาติที่ดีขึ้น และดีต่อสุขภาพมากขึ้น เพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้คนดีขึ้น

“เนสท์เล่ได้ประกาศแนวทางการพัฒนาคุณค่าทางโภชนาการไป โดยแนวทางนั้นประกอบไปด้วย 2 หลักการ ข้อแรก คือเราจะเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการในผลิตภัณฑ์ของเรา ส่วนข้อที่สอง คือการสนับสนุนให้ผู้บริโภคสามารถกินอยู่ได้อย่างสมดุล”

ในส่วนของรสชาติ เป็นสิ่งที่เนสท์เล่คำนึงถึงอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นบริษัทที่ผลิตอาหาร แต่การส่งเสริมให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ทั้งรสชาติดีและมีคุณค่าทางโภชนาการที่สูง นับเป็นเป้าหมายในระดับสากลของเนสท์เล่ ซึ่งจะถูกนำมาปรับให้เข้ากับผู้บริโภคท้องถิ่น และข้อที่สองคือการให้ความสำคัญกับความรู้ทางด้านโภชนาการและการกินอยู่อย่างสมดุล เพื่อให้ผู้บริโภคชาวไทยมีความเข้าใจมากขึ้นและมีสุขภาพที่ดีขึ้นผ่านโครงการต่าง ๆ

วิคเตอร์กล่าวว่า นี่คือ 2 หลักการที่เนสท์เล่ ประเทศไทย จะใช้ดำเนินธุรกิจต่อไปจากแนวคิด ‘ดีต่อคุณ’

ในช่วงสุดท้าย ‘วิคเตอร์’ พูดถึงหลักการ ‘เคารพ’ ที่ถูกใช้เป็นมุมมองต่อการทำงาน เพราะเขาเชื่อว่าการก้าวต่อไปโดยยึดถือหลักการเหล่านี้จะนำพาให้เนสท์เล่สามารถไปต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“ผมมองว่าความเคารพคือหัวใจสำคัญของทุกอย่าง ตราบใดที่เรายังทำงานด้วยความเคารพ ไม่ว่าจะเป็นเคารพผู้คน เคารพกันและกัน หรือเคารพต่อโลก มันจะทำให้เราเติบโตต่อไปได้อย่างมีศักยภาพ”

ท่ามกลางโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดูเหมือนองค์กรขนาดใหญ่ที่ก่อตั้งมากว่า 130 ปีจะมีความพร้อมในการรับมือและปรับเปลี่ยนตาม อาจเป็นเพราะหัวใจสำคัญที่ถูกย้ำบ่อยครั้งคือการทำความเข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง การเติบโตของเนสท์เล่ต่อจากนี้ จึงน่าจะมั่นใจได้ว่าจะขับเคลื่อนไปด้วยความใส่ใจรับฟัง ทั้งเสียงโลกและผู้คนอย่างแท้จริง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า