SHARE

คัดลอกแล้ว

สัปดาห์นี้กำลังจะมีงานนวัตกรรมยานยนต์ใหญ่ ‘เจแปน โมบิลิตี โชว์ 2023’ (Japan Mobility Show 2023) ซึ่งเป็นชื่อใหม่ของงาน ‘โตเกียว มอเตอร์ โชว์’ อันโด่งดัง ที่จัดขึ้นช่วงวันที่ 26 ตุลาคม ถึง 5 พฤศจิกายนนี้ ถือเป็นการกลับมาจัดงานอีกครั้งในรอบ 4 ปี

อีเวนต์ที่รีแบรนด์ชื่อนี้เกิดขึ้นท่ามกลางค่ายรถญี่ปุ่น ที่ต้องเผชิญหน้ากับกระแสการมาถึงของยุครถยนต์ไฟฟ้าอย่างหนีไม่พ้น เห็นได้จากปีนี้ บีวายดี ค่ายรถยนต์ไฟฟ้ายักษ์ใหญ่จากจีน ได้รับคัดเลือกให้เข้ามาจัดแสดงรถยนต์รุ่นต่าง ๆ ภายในงานได้เป็นครั้งแรก (เป็นค่ายรถจากจีนค่ายแรกที่ได้จัดแสดงในงาน) ส่วนค่ายรถต่างชาติอีก 2 แบรนด์ที่มาจัดแสดง คือ เมอร์เซเดส และ บีเอ็มดับเบิ้ลยู

จากอีเวนต์นี้พอจะเห็นว่าค่ายรถญี่ปุ่นขยับตัวขึ้นมาบ้างไม่ได้นิ่งนอนใจกับกระแสรถอีวี

โดยโตโยต้า ผู้ผลิตรถยนต์ยอดขายสูงสุดของโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ด้านแบตเตอรีรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงแผนการทำแบตเตอรีขั้นสูงเชิงพาณิชย์ ซึ่งแผนการนี้ของโตโยต้าพยายามจะทำให้เสียงวิจารณ์ว่าบริษัทปรับตัวช้าเกินไปที่จะยอมรับแบตเตอรี่อีวีจบลง?

แม้ค่ายรถญี่ปุ่นยังนำหน้าในตลาดรถสันดาป และพยายามมีจุดขายเรื่องเครื่องยนต์ไฮบริดสำหรับผู้บริโภคกลุ่มที่ยังไม่ตัดสินใจไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งญี่ปุ่นพัฒนาเทคโนโลยีรถไฮบริดที่ประหยัดน้ำมันได้พอสมควร ขณะเดียวกันญี่ปุ่นก็พยายามสร้างอีกหนทางเลือกให้โลก คือ ผลักดันรถยนต์ “พลังงานไฮโดรเจน” ท่ามกลางคำถามว่าคุ้มค่ากว่าอีวีหรือไม่

แต่เมื่อดูภาพรวมตอนนี้ค่ายรถญี่ปุ่นขยับไปลุยเรื่องรถยนต์ไฟฟ้าเชื่องช้าเหลือเกิน และผลของความช้านี้ทำให้ตอนนี้สถานการณ์อุตสาหกรรมยานยนต์ของญี่ปุ่นต้องเผชิญแรงกดดัน 3 เรื่องสำคัญ เราจะมาสรุปให้เห็นกันคือ

1. ค่ายรถญี่ปุ่นต้องแข่งขันกับกระแสรถยนต์ไฟฟ้าที่ตอนนี้ส่วนแบ่งการตลาดรถอีวีในโลก 20 อันดับแรก ไม่มีบริษัทรถของญี่ปุ่นเข้ามาติดในอันดับเลย

โตโยต้าผลิตรถอีวีรุ่นแรก คือรุ่น bZ4X ขายได้ 24,000 คัน จากยอดขายรวมอีวีทั้งโลกเมื่อปีที่แล้ว 10.5 ล้านคัน เทสลาขายได้ 1.3 ล้านคัน ส่วนบีวายดียอดขายทั่วโลก (นับรวมอีวีและปลั๊ก-อิน ไฮบริด PHEV รวม 1.86 ล้านคัน)

ถ้าดูกันในอดีต นิสสัน และมิตซูบิชิ เคยเป็นค่ายรถญี่ปุ่นที่บุกเบิกการผลิตรถอีวีเป็นรุ่นแรก ๆ ของโลกตั้งแต่เมื่อ 10 กว่าปีก่อน แต่วันนี้สถานการณ์กลับตาลปัตร

ตอนที่ซีอีโอโตโยต้าประกาศแผนที่จะเปิดตัว รถยนต์พลังงานไฟฟ้ารุ่นใหม่ 10 รุ่น และตั้งเป้าเพิ่มยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าต่อปีเป็น 1.5 ล้านคันภายในปี 2569 ส่วนฮอนด้ามีแผนจะเปิดตัวรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 30 รุ่น ภายในปี 2573 นิสสันวางแผนจะเปิดตัวรถยนต์พลังงานไฟฟ้ารุ่นใหม่ 19 รุ่น ภายในปี 2573

เหมือนจะขยับ แต่ค่ายรถญี่ปุ่นยังถูกตั้งคำถามว่ายังเดินหน้าเรื่องรถยนต์ไฟไฟ้าอย่างช้า ๆ จนถูกวิจารณ์ว่าผู้นำในอุตสาหกรรมรถยนต์อย่างญี่ปุ่นลังเลที่จะยอมรับเทคโนโลยีใหม่ที่จะมาดิสรัปต์พื้นที่ที่ญี่ปุ่นเคยเป็นผู้นำ

2. ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ตลาดรถยนต์ในประเทศจีน ที่ถือเป็นตลาดรถยนต์ใหญ่ที่สุดในโลก ยอดขายรถญี่ปุ่นในจีนลดฮวบต่อเนื่องหลายปีติดกัน เพราะผู้บริโภคในตลาดจีนเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันอย่างรวดเร็วชนิดที่ญี่ปุ่นก็คาดไม่ถึง โดยมีคู่แข่งสำคัญทั้ง เทสลา บีวายดี และผู้ผลิตรถแบรนด์จีนอีกหลายบริษัท ส่วนญี่ปุ่นยังต้องแบกทั้งเรื่องต้นทุนการผลิตที่สูง และยอดขายตกต่ำทำให้ นิสสัน และมิตซูบิชิ ตัดสินใจยุติสายการผลิตในจีน

3. ถ้าดูเฉพาะตลาดในประเทศญี่ปุ่นอย่างเดียว ผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นยังต้องก่ายหน้าผากจากแรงกดดันในประเทศ เพราะการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรสูงวัยอย่างรวดเร็ว ขณะที่คนหนุ่มสาวญี่ปุ่นก็ซื้อรถยนต์น้อยลง ยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในญี่ปุ่นปีที่แล้วต่ำสุดเป็นประวัติการณ์

ขณะที่พอไปดูแรงสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นเองก็ยังไม่ได้สร้างแรงจูงใจให้เกิดการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากเท่ากับรัฐบาลในจีน ยุโรป และสหรัฐอเมริกา

แต่ตรงข้ามกับแนวโน้มที่มืดมนในประเทศญี่ปุ่น เพราะตลาดรถยนต์ในอาเซียนกำลังเติบโต ยอดขายรถยนต์ใน 7 ประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้น 24% ปีที่แล้วยอดขายรถยนต์ 7 ประเทศอาเซียนรวมกันมากถึง 2.2 ล้านคัน

ตอนนี้ตลาดอาเซียนยังเป็นตลาดที่ญี่ปุ่นยึดครอง และพยายามรักษาส่วนแบ่งในตลาดสำคัญอย่างประเทศไทยไว้ให้ได้ เพราะไทยตอนนี้เป็นประเทศหลักที่เป็นฐานการผลิตรถยนต์นอกประเทศของญี่ปุ่น ด้วยจำนวนการผลิตรถเป็นเบอร์หนึ่ง

แม้จะเป็นเช่นนั้น แต่ค่ายรถญี่ปุ่นเองก็ยังต้องต่อสู้อย่างหนักกับผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของจีนที่มียอดขายพุ่งสูงขึ้นเช่นกัน รวมทั้งบีวายดีที่ขยายมาเปิดโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ จ.ระยองของไทย

นักวิเคราะห์มองว่าญี่ปุ่นอาจกำลังพลาดกระแสรถอีวีเหมือนที่เคยเกิดขึ้นตอนช่วงอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคกำลังบูม ซึ่งเคยเป็นอุตสาหกรรมที่บริษัทญี่ปุ่นครองอำนาจในตอนแรก แต่จากนั้นก็พลาดกระแสสำคัญในตลาดต่างประเทศ และท้ายสุดก็พ่ายแพ้ต่อคู่แข่งที่คล่องตัวกว่า

เรื่องนี้ถูกนำมาเปรียบเทียบอีกครั้งว่าจะซ้ำรอยกับอุตสาหกรรมยานยนต์ของญี่ปุ่นในตอนนี้หรือไม่

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า