SHARE

คัดลอกแล้ว

ในยุคที่คำว่า ‘เทคโนโลยี’ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และเข้ามาดิสรัปชั่นหลายธุรกิจให้ต้องปรับตัว เห็นได้ชัดโดยเฉพาะธุรกิจทางการเงินจากสังคมถือเงินสดไปสู่สังคมไร้เงินสด

กลายเป็นโจทย์ที่ทำให้ผู้ให้บริการต้องพัฒนา ซึ่ง ‘Embedded finance’ เป็นบริการทางการเงินที่ทำให้ทุกบริษัทสามารถมีบริการทางการเงินได้ แม้ว่าตนเองจะไม่ใช่บริษัททางด้านการเงินหรือฟินเทค

โดยผู้ให้บริการทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-banks และ Non-insurance) ได้เริ่มนำบริการประเภทนี้มาใช้กับการชำระเงิน การให้กู้ยืมเงิน และ การประกันภัย เป็นต้น

ดังนั้นจึงเห็นว่าบริการนี้ได้ขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ไปในกลุ่มธุรกิจอื่นๆ เช่น อีคอมเมิร์ซ,ค้าปลีกหรือโทรคมนาคม เข้ามาแข่งขันเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดและทำให้เกิดรูปแบบบริการใหม่ๆ เช่น บริการแบงก์กิ้ง,บริการประกัน,บริการท่องเที่ยว และบริการสุขภาพ  

ปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญของการเติบโตของตลาดนี้คือการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลเเละความสะดวกสบายที่เพิ่มมากขึ้น

‘Embedded finance’ หรือ บริการทางการเงินแบบฝังตัว แม้ว่าอาจจะไม่ได้เป็นสิ่งที่ใหม่เอี่อมเพราะบางอย่างมีมาสักระยะหนึ่งแล้ว เช่น บัตรเครดิตของสายการบิน,ประกันภัยรถยนต์ และแผนการชำระเงินสำหรับสินค้าที่มีราคาสูง

และด้วยบริการทางการเงินแบบฝังตัว ซึ่งค่อนข้างที่จะมีประสิทธิภาพ ตอบสนองผู้ใช้บริการได้ดีพร้อมด้วยตัวเลือกทางการเงินที่พวกเขาต้องการ ความหลากหลายตรงนี้ทำให้หลายๆ ธุรกิจ สามารถใช้บริการนี้ในการที่จะให้บริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้มากกว่าธนาคารหรือสถาบันการเงินแบบเดิมๆ

เพราะเนื่องจากสามารถรู้ข้อมูลและพฤติกรรมของลูกค้าที่มากกว่า ตัวอย่างเช่น บริษัทด้านอีคอมเมิร์ซ ที่มีข้อมูลการชำระเงินซื้อสินค้าของลูกค้า ทำให้ผู้ให้บริการสามารถที่จะเข้าใจวิธีการใช้เงินและนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าต้องการได้ตรงใจมากขึ้น

ในปัจจุบันบริการ Embedded finance ที่สามารถพบเห็นได้บางส่วน ได้แก่

1. Embedded Banking

คำว่า Embedded Banking หรือ Banking as a service บางครั้งใช้เป็นคำพ้องความหมายสำหรับ Embedded Finance นั่นก็เป็นเพราะว่าบริการทางการเงินแบบฝังตัวส่วนใหญ่ เช่น การให้กู้ยืมและการชำระเงินมักนำเสนอโดยธนาคาร

ซึ่งสำหรับ Embedded Banking หรือ ธนาคารแบบฝัง จะเป็นเพียงบัญชีธนาคารและบัตรเดบิตที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ไม่นับรวมบริการทางด้านอื่นๆ

2. Embedded payments

การต้องหยิบบัตรเครดิตออกมาเพื่อกรอกหมายเลขทุกครั้งถือเป็นจุดที่ไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการเท่าไหร่นัก

ดังนั้น การชำระเงินแบบฝังทำให้กระบวนการนี้ง่ายขึ้นโดยการเชื่อมต่อและบันทึกวิธีการชำระเงินเพื่อใช้ในภายหลังด้วยการคลิกปุ่มเพียงปุ่มเดียว นอกจากจะช่วยให้ผู้ใช้บริการสะดวกสบายมากขึ้นแล้วในขณะเดียวกันก็ยังช่วยประหยัดค่าธรรมเนียมให้กับร้านค้าอีกด้วย

3. Branded payment cards

บัตรเครดิตที่มีแบรนด์เกิดขึ้นก่อนกลุ่มฟินเทค เนื่องจากนักช้อปสามารถรับบัตรที่มีแบรนด์จากห้างสรรพสินค้าที่พวกเขาชื่นชอบได้มานานแล้ว

อย่างไรก็ตาม ฟินเทคได้ขยายขีดความสามารถของบริษัทต่างๆ ในการนำเสนอบัตรเครดิตที่มีตราสินค้า และเพิ่มวิธีการใช้งานที่เหมาะสม โดยทั่วไปแล้วแพลตฟอร์มเหล่านี้จะช่วยทำให้กระบวนการลงทะเบียนเร็วขึ้นและง่ายขึ้น

4. Embedded lending

การให้กู้ยืมแบบฝังตัวคือการเงินแบบฝังตัวประเภทหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงตัวเลือกสินเชื่อที่ดีกว่า ตัวอย่างเช่น บริการ ‘ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง’ (BNPL) เป็นหนึ่งในรูปแบบการให้กู้ยืมแบบฝังที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด

โดยทั่วไปข้อเสนอเหล่านี้จะผ่อนชำระเป็นรายเดือนหรือรายสัปดาห์ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้โดยไม่มีดอกเบี้ย

5. Embedded investing

การลงทุนแบบฝังคือการที่บริษัทเสนอบริการด้านการลงทุนโดยตรงจากภายในแอปของตนเอง ซึ่งทำให้บริษัทไม่จำเป็นจะต้องไปนำเสนอการลงทุนหรือไปฝากบริการการลงทุนลงบนแอปธนาคารอื่นๆ

ดังนั้น บริษัทจึงสามารถนำเสนอการลงทุนโดยตรงบนแอปหรือเว็บไซต์ของตนเองได้เลย เช่น การขายหุ้นกู้ของบริษัท หรือนำเสนอแพลตฟอร์มการลงทุนของบริษัทตนเอง

6. Embedded insurance

ประกันภัยที่ฝังตัวอยู่ในผลิตภัณฑ์และบริการ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิต ตั้งแต่เรื่องของการเดินทาง การดูแลสุขภาพ และการซื้อสินค้าผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ

ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถซื้อประกันออนไลน์ ณ จุดขาย มีให้บริการทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องซื้อโดยตรงกับบริษัทประกันภัยหรือตัวแทน

7. Embedded fintech

เป็นช่องทางสำหรับสถาบันการเงินในการนำเสนอบริการที่หลากหลาย เช่น การลงทุนรูปแบบใหม่หรือสินเชื่อประเภทอื่นๆ

จากเดิมที่ธนาคารจะต้องใช้เวลาหลายเดือนหรือหลายปีในการพัฒนา สร้าง และเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่ฟินเทคแบบฝังจะช่วยทำให้สามารถฝังข้อเสนอเหล่านี้ไว้ในผลิตภัณฑ์ปัจจุบันของตนเองได้เลย

นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและช่วยให้บริษัทธนาคารที่ดำเนินกิจการแบบดั้งเดิมมีความคล่องตัวมากขึ้นและปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป

สรุปแล้ว Embedded finance หรือการเงินแบบฝังตัว เป็นเทรนด์ที่กำลังเติบโตในอุตสาหกรรมฟินเทค ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ด้วยการบูรณาการบริการทางการเงินเข้ากับผลิตภัณฑ์และบริการที่ไม่ใช่ทางการเงินโดยเฉพาะ

และบริษัทต่างๆ สามารถปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน สร้างแหล่งรายได้ใหม่ และขับเคลื่อนนวัตกรรมในอุตสาหกรรม ซึ่งในขณะที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไป ก็คาดว่าจะมีการเติบโตมากขึ้นสำหรับ Embedded finance ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

โดย ‘Embedded finance’ มีมูลค่าทั่วโลกอยู่ที่ 54.3 พันล้านดอลลาร์ในปี 2565 และตัวชี้วัดชี้ให้เห็นว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 248.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2575

ที่มา :  PlaidVelexa

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า