SHARE

คัดลอกแล้ว

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme —UNDP) เปิดตัวรายงาน “ออกแบบอนาคต: ทิศทางใหม่ของการพัฒนามนุษย์ในเอเชียแปซิฟิก” โดยภายในงานได้นำเสนอรายงานของ UNDP รวมทั้งมีการกล่าวปาฐกถาพิเศษ โดย นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และวงเสวนาเรื่อง ออกแบบอนาคต : ทิศทางใหม่เพื่อบรรลุการพัฒนามนุษย์อย่างสมดุลในประเทศไทย เพื่อร่วมกันหาแนวทางที่ไทยต้องปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับวิกฤตโลกปัจจุบัน เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2566

เรโน เมแยร์ รักษาการผู้แทนสหประชาชาติประจำประเทศไทย และผู้แทน UNDP ประจำประเทศไทย

โดยในรายงานของ UNDP ชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและประเทศไทยจะมีความก้าวหน้ามามากในเรื่องการพัฒนามนุษย์ แต่ว่าผู้คนยังไม่ได้รับประโยชน์จากความก้าวหน้าอย่างเท่าเทียมกัน

ในรายงานยังระบุด้วยว่า ตลอดสามทศวรรษที่ผ่านมา ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index หรือ HDI) เพิ่มขึ้น 19 จุดร้อยละ ซึ่งเป็นการก้าวกระโดดสูงสุดในโลก

ขณะที่ HDI ของประเทศไทยอยู่ที่ 0.800 โดยการจัดอันดับ HDI ปี พ.ศ. 2565 เพิ่มขึ้น 13 อันดับเมื่อเปรียบเทียบกับอันดับในปี พ.ศ. 2562 ทำให้ประเทศไทยยังคงอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ระดับสูงมาก (very high human development) เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกันนับตั้งแต่ พ.ศ. 2562

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเหลื่อมล้ำและการกีดกันในเชิงโครงสร้าง (structural exclusion) อย่างแพร่หลายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกรวมถึงประเทศไทย ทั้งในเรื่องปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำที่หยั่งรากลึก อคติทางเพศภาวะ และธุรกิจนอกระบบที่มีขนาดใหญ่ ปัญหาเหล่านี้รุนแรงขึ้น หลังจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ประกอบกับค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ทั่วโลก

ยิ่งไปกว่านั้น ภูมิภาคนี้และประเทศไทยยังเผชิญวิกฤตสิ่งแวดล้อมในสามมิติ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลพิษ และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งหมดชี้ให้เห็นว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและประเทศไทยยังไม่อยู่ในเส้นทางอันมั่นคงที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือ SDGs) ภายในปี พ.ศ. 2573

รายงานฉบับนี้นำเสนอทิศทางใหม่ ๆ สำหรับเอเชียแปซิฟิกและประเทศไทย ในการพัฒนามนุษย์ท่ามกลางภูมิทัศน์ซึ่งเต็มไปด้วยความผันผวน จำเป็นต้องเพิ่มทางเลือกของผู้คน ส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ และเร่งรัดการเปลี่ยนผ่านสู่การพัฒนาที่เป็นกลางทางคาร์บอนและมีภูมิคุ้มกันต่อสภาพภูมิอากาศ การเพิ่มตัวเลือกของผู้คน เช่น การยุติกฎหมายและแนวทางที่เลือกปฏิบัติ ตลอดจนการให้การศึกษาและโอกาสสร้างอาชีพที่ดีขึ้น ล้วนมีส่วนช่วยจัดการกับปัญหาการกีดกันเชิงโครงสร้าง อันเป็นปัญหาเรื้อรัง และช่วยรักษาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

นอกจากนี้ การเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์ ผ่านการปรับปรุงระบบความคุ้มครองทางสังคมและระบบสาธารณสุข รวมทั้งการเพิ่มการลงทุนที่คำนึงถึงความเสี่ยง ล้วนมีส่วนช่วยแก้ปัญหาอันเป็นต้นตอของความไม่มั่นคงของมนุษย์ และเพิ่มศักยภาพในการรับมือกับความผันผวนต่างๆไปพร้อมกัน การเร่งรัดการเปลี่ยนผ่านสู่การพัฒนาที่เป็นกลางทางคาร์บอนและมีภูมิคุ้มกันต่อสภาพภูมิอากาศ ซึ่งรวมถึงการลงทุนในการปรับตัวและลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การปรับเปลี่ยนจุดประสงค์ของเงินอุดหนุนที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และการเสริมสร้างการจัดการทางการคลัง ทั้งหมดจะช่วยบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเตรียมการเพื่ออนาคตสำหรับคนรุ่นหลัง

ในการนำแนวคิดเหล่านี้ไปปฏิบัติจริงนั้น จำเป็นต้องมุ่งเน้นที่การสร้างระบบการกำกับดูแลที่เหมาะสมกับอนาคต ซึ่งสามารถเล็งเห็นถึงปัญหาและโอกาสที่อาจเกิดขึ้น ปรับตัวต่อสถานการณ์และลำดับความสำคัญที่เปลี่ยนแปลงไป และตอบสนองอย่างรวดเร็วด้วยการเปลี่ยนทิศทางการใช้ทรัพยากร โดยการร่วมกันทำงานระหว่างหน่วยงานแบบบูรณาการ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวไว้ว่า “รายงานการพัฒนามนุษย์ประจำภูมิภาค พ.ศ. 2567 ให้มุมมองเชิงลึกเกี่ยวกับทิศทางการบรรลุการพัฒนามนุษย์อย่างครอบคลุมและสมดุล ซึ่งจะช่วยสนับสนุนความร่วมมือเชิงนโยบายระหว่างหน่วยงานภาครัฐทั้งระดับประเทศและระดับท้องถิ่น ตลอดจนภาคเอกชน ภาควิชาการ และประชาสังคม การดำเนินการจากยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติจริง จะต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของบรรดาผู้นำและชุมชนในทุกระดับ รวมถึงต้องอาศัยสถาบันที่เข้มแข็งมากกว่านี้เพื่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ นอกจากนี้ การกำกับดูแลยังจำเป็นต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วตามความจำเป็นที่เกิดขึ้น และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอย่างเหมาะสม”

ขณะที่ นายเรอโน เมแยร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย กล่าวว่า “นี่ไม่ใช่การเลือกทางใดทางหนึ่ง ระหว่างการสร้างศักยภาพทางแข่งขันทางเศรษฐกิจกับความสมานฉันท์ในสังคม หรือระหว่างการพัฒนากับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การขับเคลื่อนการพัฒนามนุษย์อย่างสมดุลจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การเติบโต โดยมุ่งสู่หนทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งจะนำไปสู่การกระจายความมั่งคั่งอย่างเท่าเทียมมากขึ้น นี่หมายถึงการจุดประกายความเปลี่ยนแปลงภายในภาครัฐ สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดูแลเจตจำนงทางการเมืองให้เข้มแข็งต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการการพัฒนาได้อย่างแท้จริง”

การเปิดตัวรายงานการพัฒนามนุษย์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พ.ศ. 2567 ได้รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนามนุษย์ และสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเพื่อนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนามนุษย์ ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการกำหนดและปรับใช้นโยบายการพัฒนามนุษย์ในประเทศไทย

สามารถดาวน์โหลดรายงานการพัฒนามนุษย์ประจำภูมิภาคฉบับเต็มได้ที่

https://www.undp.org/asia-pacific/publications/making-our-future-new-directions-human-development-asia-and-pacific

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า