SHARE

คัดลอกแล้ว

เศรษฐกิจอินเดียฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วหลังผ่านพ้นสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และกำลังเติบโตเกือบ 7% ในปีงบประมาณปัจจุบันซึ่งจะสิ้นสุดในเดือน มี.ค. 2567 สวนทางกับเศรษกิจจีนที่การเติบโตอยู่ในทิศทางชะลอตัว

โดยการเติบโตของเศรษฐกิจอินเดีย ได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ภายในประเทศที่แข็งแกร่ง ตรงกันข้ามกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและความไม่มั่นคงทางภูมิรัฐศาสตร์ที่กำลังเกิดขึ้น

การขยายตัวของ GDP ในไตรมาส 3 ตั้งแต่เดือน ก.ค. ถึง ก.ย. 2566 เติบโตถึง 7.6% และในไตรมาส 2 ช่วงเดือน เม.ย. ถึง มิ.ย. เติบโตสูงถึง 7.8% สะท้อนว่าสภาพเศรษฐกิจมีความเเข็งแกร่ง

ทำให้หน่วยงานและองค์กรวิจัยจำนวนมากปรับเพิ่มประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจอินเดีย โดยคาดว่า GDP จะเติบโตอยู่ในช่วง 6.7-7%

นอกจากนี้ ในแถลงการณ์นโยบายการเงินล่าสุดของธนาคารกลางอินเดีย (RBI) ได้มีการปรับคาดการณ์การเติบโตของ GDP เป็น 7% เพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อนที่ 6.5% อีกด้วย

โดย S&P Global มองว่า จากแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจอินเดีย ทำให้อินเดียจะกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก และมีเศรษฐกิจหลักเติบโตเร็วที่สุดในโลก

รวมถึงกลายมาเป็นแรงขับเคลื่อนหลักสำคัญในอีกสามปีข้างหน้า จากการมีอัตราการขยายตัวที่แซงหน้าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคไปแล้ว

แตกต่างจากประเทศจีน ที่เศรษฐกิจกำลังประสบกับภาวะชะลอตัว ทำให้อินเดียกลายเป็นหมุดหมายที่น่าสนใจสำหรับการลงทุน แม้จีนจะเป็นประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย แต่กลับต้องต่อสู้กับปัญหาต่างๆ รวมถึงความท้าทายในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังน่ากังวล

โดยการเติบโตของเศรษฐกิจจีนคาดว่าจะชะลอตัวลงเป็น 5.4% ในปี 2566 และ 4.6% ในปี 2567 และปรับสูงขึ้นเล็กน้อยที่ 4.8% ในปี 2568 ก่อนที่จะตกลงมาที่ 4.6% ในปี 2569 ส่วนใหญ่มาจากปัญหาตลาดอสังหาริมทรัพย์และอุปสงค์ที่อาจชะลอตัวลง

ส่วนประเทศไทย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดตัวเลข GDP ไตรมาส 3 ออกมาโตเพียง 1.5% ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะที่ 2% ขณะที่ในไตรมาส 1 GDP โต 2.7% และไตรมาส 2 โต 1.8% ต่ำกว่าที่คาดว่าจะโต 3%

ขณะที่คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัว 2.5% ส่วนในปี 2567 จะขยายตัวในช่วง 2.7-3.7% ปัจจัยสนับสนุนจากการกลับมาขยายตัวของการส่งออก การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนกลับมาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว

นอกจากนี้ S&P Global คาดการณ์ว่า กลไกการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศฝั่งเอเชียแปซิฟิกจะเปลี่ยนจากในประเทศจีนไปยังประเทศในฝั่งเอเชียใต้ ประกอบด้วย อินเดีย อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ ภูฏาน มัลดีฟส์ เนปา ปากีสถาน และศรีลังกา

รวมถึงประเทศในฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วย มาเลเซีย เมียนมา กัมพูชา ลาว ไทย สิงคโปร์ เวียดนาม บรูไน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และติมอร์-เลสเต

ท่ามกลางความท้าทายและปัจจัยที่ยังกดดันในหลายด้าน ประเทศอินเดียกลับโดดเด่นออกมา และพร้อมที่จะเติบโตอย่างแข็งแกร่งในอีกหลายปีข้างหน้า

ที่มา : www.plaid.com

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า