SHARE

คัดลอกแล้ว

คงไม่มีใครไม่รู้จัก ‘เดอะลอร์ดออฟเดอะริง’ (The Lord of The Rings) ภาพยนตร์ไตรภาคแนวมหากาพย์แฟนตาซีผจญภัย ฉายในปี 2001-2003 ทำเงินไปกว่า 2,981 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากทุนสร้าง 281 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ภาพยนตร์กำกับโดย ‘ปีเตอร์ แจ็กสัน’ และสร้างจากนวนิยายที่เขียนโดย ‘เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน’ นักกวี นักประพันธ์ นักภาษาศาสตร์ และศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ

เป็นภาพยนตร์ที่ทรงอิทธิพลและกลายเป็นต้นแบบของการสร้างภาพยนตร์ในยุคต่อๆ มา และเชื่อว่าเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ครองใจใครหลายคนจนกลายเป็น ‘ตำนาน’ มาจนถึงทุกวันนี้

แต่นอกจากความสนุกของเนื้อหา The Lord of The Rings ยังสอดแทรกบทเรียนทางการเงินไว้ด้วยกัน 9 ข้อ ซึ่ง TODAY Bizview จะชวนทุกคนสำรวจไปพร้อมๆ กัน

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 20 ปีของ The Lord of The Rings ภาค 3 : The Return of The King ที่ออกฉายในปี 2003 ซึ่งเป็นบทสรุปของภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย

**เนื้อหาบางส่วนเป็นการสปอยล์เนื้อเรื่อง **

1. การกระจายการลงทุน

หากใครได้ดูภาพยนตร์เรื่องนี้ จะต้องรู้จัก ‘เซารอน’ (Sauron) เจ้าแห่งโลกมืด เรียกได้ว่าเขาเป็นตัวต้นเหตุของเรื่องราวทั้งหมดนี้เลยก็ได้

เซารอนทุ่มเทพลังทั้งหมดของตนเองในการแอบสร้างเเหวนวงประมุขหรือ ‘The One Ring’ ขึ้นมาเพื่อควบคุมแหวนวงอื่นๆ ที่เคยถูกสร้างและมอบให้แก่ เผ่าเอลฟ์ คนแคระ และมนุษย์ ทั้งหมด 19 วง

การที่เซารอนทุ่มเทและคาดหวังกับแหวนแห่งอำนาจมากเกินไป เสมือนกับอันตรายของการเอาเงินลงทุนทั้งหมดใส่ไว้ตะกร้าใบเดียว

เพราะจากการที่เซารอนถ่ายเทพลังทั้งหมดไปที่แหวน ทำให้ในฉากต้นเรื่อง เมื่อเขาถูกตัดนิ้วจนแหวนกระเด็นออกจากตัว เขาจึงศูนย์เสียพลังทั้งหมดไป

ดังนั้น พอร์ตโฟลิโอที่หลากหลาย ประกอบด้วยหุ้น พันธบัตร อสังหาริมทรัพย์ และสินทรัพย์อื่นๆ ร่วมกันจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงได้ดีกว่าการลงทุนในสิ่งเดียว

2. การจัดสรรงบและทรัพยากร

วิธีการจัดการอาหารของ ‘แซมไวส์ แกมจี’ (Samwise Gamgee) ในระหว่างเดินทางไปยังภูมรณะ (Mount Doom) ถือเป็นบทเรียนเชิงปฏิบัติในการจัดสรรทรัพยากรชั้นดีเลิศ

โดยเขามีการวางแผนแบ่งขนมปังเลมบาสในแต่ละวันอย่างรอบคอบและพิถีพิถัน เพื่อให้แน่ใจว่าขนมปังจะเพียงพอตลอดการเดินทางของเขาและ ‘โฟรโด แบ๊กกิ้นส์’ (Frodo Baggins)  

เรื่องนี้ช่วยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

3. ควบคุมการกู้ยืม

ความหลงใหลของ ‘กอลลัม’ (Gollum) ที่มีต่อแหวนและคำสาบานที่ไม่สมหวังของกองทัพแห่งความตายของ ‘อิซิลดูร์’ (Isildur) 

สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าหนี้สามารถลุกลามจนควบคุมไม่ได้ และครอบงำทุกด้านของชีวิต เหมือนกับอำนาจของแหวนที่ครอบงำจิตใจ

ซึ่งการจัดการหนี้อย่างมีประสิทธิผลจำเป็นต้องมีการประเมินลักษณะของหนี้ และควรมีความรู้เกี่ยวกับผลกระทบในระยะยาวโดยเฉพาะดอกเบี้ยที่สูง

คล้ายกับการทำความเข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของแหวนว่ามีความสำคัญอย่างไรต่อ ‘มิดเดิลเอิร์ธ’ (Middle Earth) และส่งผลอย่างไรต่อผู้ครอบครอง

4. การมีหลักประกันชีวิต

การเปลี่ยนแปลงของพ่อมด ‘แกนดัล์ฟ’ (Gandalf) หลังต่อสู้กับ ‘บัลร็อก’ (Balrog) จนตกลงสู่ปล่องเหวในเหมืองมอเรีย

เขาเหมือนตายไปแล้วแต่เหล่าเทพก็ฟื้นคืนชีพให้แกนดัล์ฟกลับมาพร้อมพลังที่มากขึ้นและเปลี่ยนจากพ่อมดสีเทาเป็นพ่อมดสีขาวในตอนท้ายเรื่อง

จุดนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการมีหลักประกันชีวิต เพราะจากเหตุการณ์ของแกนดัล์ฟ ได้สร้างความเสียหายให้กับคณะพันธมิตร และเป็นสิ่งเตือนใจอย่างชัดเจนว่าชีวิตอาจพลิกผันอย่างกะทันหันและไม่คาดคิดได้ตลอด

การทำประกันชีวิตจึงเป็นเหมือนการสร้างความมั่นคงให้กับคนที่ยังอยู่ต่อ และควรเลือกกรมธรรม์ที่สอดคล้องกับสถานการณ์และแผนทางการเงินส่วนบุคคล

5.การบริหารความเสี่ยง

โฟรโดเป็นฮอบบิท ทำให้เขามีความอ่อนไหวต่ออำนาจของแหวนน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเผ่าพันธุ์อื่นๆ 

การเลือกโฟรโด จึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุด หลังจากประเมินความเสี่ยงของแหวน The One Ring ซึ่งมีอำนาจในการควบคุมจิตใจของผู้ครอบครอง

สิ่งนี้เปรียบเทียบได้กับการประเมินความเสี่ยงในการวางแผนทางการเงิน และการทำความเข้าใจความเสี่ยงที่แตกต่างกันของการลงทุนประเภทต่างๆ

นอกจากนี้ การเลือกแซมไวส์ให้เดินทางไปกับโฟรโด ยังเป็นเหมือนการแผนบริหารความเสี่ยงฉุกเฉินในอีกหนึ่งรูปแบบ

เพราะความสามารถของแซมไวส์ในการรับบทผู้ถือแหวนแทนโฟรโดชั่วคราว ในระหว่างที่โฟรโดถูก    ชีล็อบ’ (Shelob) ทำร้ายยังช่วยให้ภารกิจดำเนินต่อไปได้แม้ว่าโฟรโดจะสะดุดก็ตาม 

6. การเตรียมพร้อมสำหรับเกษียณ

การเดินทางของพวกเอลฟ์ไปยังดินแดนอมตะเป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ช่วงชีวิตใหม่ที่สำคัญซึ่งคล้ายกับการเกษียณอายุ

เช่นเดียวกับที่พวกเอลฟ์ อย่าง ‘กาลาเดรียล’ (Galadriel) และ ‘เอลรอนด์’ (Elrond) ที่ได้เตรียมความพร้อมทุกอย่างไว้ก่อนที่จะเดินทางออกจากมิดเดิลเอิร์ธไปสู่ดินแดนอมตะ

เปรียบได้กับการวางแผนการเกษียณอายุด้วยความอุตสาหะและการมองการณ์ไกล

ที่สำคัญเรื่องราวยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้กลยุทธ์การเกษียณอายุส่วนบุคคล เช่นกรณีพิเศษของโฟรโดและบิลโบ ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าสู่ดินแดนอมตะจากบทบาทในฐานะของผู้ถือแหวน

สะท้อนถึงการเกษียณอายุก่อนกำหนด จากการมีความพร้อม จึงมีโอกาสเดินทางสู่ชีวิตที่สงบสุขก่อนคนอื่นๆ

7. การวางกลยุทธ์ในระยะยาว

จากการตัดสินใจที่เป็นระบบและรอบคอบของ ‘เผ่าเอนท์’ (Ent) หรือผู้พิทักษ์ป่าฟังกอร์น ได้ให้บทเรียนที่สำคัญเกี่ยวกับมุมมองระยะยาวในการวางแผนทางการเงิน

โดย ‘ทรีเบียร์ด’ (Treebeard) และเผ่าเอนท์ ได้มีการพิจารณาผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นและความเป็นไปได้ทั้งหมดก่อนลงมือโจมตี ‘หอคอยออธังก์’ (Orthanc) 

สอดคล้องกับการวางแผนทางการเงิน และศึกษาสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในระยะยาว และยังแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการปรับตัวและประเมินแผนทางการเงินใหม่เมื่อเวลาผ่านไป

เพื่อปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในชีวิต เช่น การเปลี่ยนอาชีพ ครอบครัว หรือความผันผวนทางเศรษฐกิจ

เช่นเดียวกับการตัดสินใจโจมตีหอคอยออธังก์ หลังจากที่ประเมินได้ว่าหากหอคอยยังอยู่ป่าฟังกอร์นจะได้รับผลกระทบอย่างไรจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในมิดเดิลเอิร์ธ

8. การจัดการและวางแผนทรัพย์สิน

บทบาทของเอลรอนด์ ในฐานะพ่อบุญธรรมของ ‘อารากอร์น’ (Aragorn) เขาได้ปกปิดตัวตนที่แท้จริงและเก็บรักษามรดกของอารากอร์นไว้จนกว่าจะอายุครบ 20 ปี

เอลรอนด์ จึงได้บอกความจริงและมอบเศษดาบนาร์ซิลและแหวนแห่งบาราเฮียร์ให้แก่อารากอร์น เพื่อคืนมรดกสืบทอดที่สื่อถึงตัวตนที่แท้จริงและการอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ของอารากอร์นโดยชอบธรรม

แสดงให้เห็นว่าการจัดทำเอกสารและรักษาความปลอดภัยของทรัพย์สิน มีความสำคัญและจำเป็นอย่างมาก เช่น สร้างพินัยกรรมและการกำหนดผู้รับผลประโยชน์

9. คำแนะนำทางการเงินที่ดี

ในภาค The Two Towers ‘วอร์มทังก์’ (Wormtongue) ภายใต้คำสั่งของ ‘พ่อมดซารูมาน’ (Saruman) ได้หลอกล่อให้ ‘กษัตริย์เธโอเดน’ (King Théoden) ทำให้อาณาจักรของเขาอ่อนแอและย่ำแย่ลง

เรื่องราวนี้สะท้อนถึงอันตรายจากการได้รับคำแนะนำที่ไม่ดี และเน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญกับการเลือกผู้เชี่ยวชาญ

ซึ่งในชีวิตจริง เราอาจมองหาผู้เชี่ยวชาญโดยดูจากใบรับรอง เช่น Certified Financial Planner หรือ Chartered Financial Analyst

และควรจำไว้ว่าคำแนะนำจะมีประสิทธิภาพที่สุด เมื่อปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ทางการเงิน ชีวิต และสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา

ในท้ายที่สุด นอกเหนือจากการเป็นมหากาพย์แฟนตาซีที่แหวกแนวและแฟรนไชส์ภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลแล้ว ‘The Lord of the Rings’ ยังถือเป็นขุมทรัพย์แห่งความรู้ทางการเงินอีกด้วย

จาก 9 บทเรียน จะช่วยให้เข้าใจเรื่องการเงินมากขึ้น ลดความซับซ้อนของการวางแผนทางการเงิน ด้วยสติปัญญาและการมองการณ์ไกล

เพื่ออนาคตที่มีความมั่นคงและเจริญรุ่งเรืองสะท้อนถึงตัวละครแห่งชัยชนะของมิดเดิลเอิร์ธในตอนจบของไตรภาคนี้

ที่มา : www.forbes.com

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า