SHARE

คัดลอกแล้ว

มติครม. เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด เตรียมเข้าสภาฯ ด้าน กรมการแพทย์ เผย ฝุ่น PM 2.5 สะสมในสมอง เสี่ยงความจำเสื่อม

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (9 ม.ค. 67) ว่า ที่ประชุม ครม. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด เพื่อเสนอที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ตรวจสอบตามกฎหมายเรียบร้อยแล้ว เป็นการทำตามนโยบายที่ได้แถลงต่อรัฐสภา ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง PM 2.5 ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน เป็นสิทธิพื้นฐานที่ประชาชนพึงจะได้

นายเศรษฐา กล่าวด้วยว่า ในวันที่ 10-12 ม.ค. นี้ ตนจะเดินทางไป จ.เชียงใหม่ เพื่อไปดูเรื่องนี้ รัฐบาลยืนยันว่า จะทำทุกมาตรการทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อเร่งสร้างอากาศสะอาด สภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ความปลอดภัยต่อสุขภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตประชาชนทุกคน

ด้าน นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันนี้ฝุ่น PM 2.5 กลายเป็นวาระแห่งชาติ และถือเป็นวิกฤติด้านสาธารณสุขในไทย
และเปิดเผยว่า ด้วยขนาดที่เล็กทำให้ฝุ่นจิ๋วสามารถเดินทางเข้าไปสะสมในสมองได้ผ่าน 3 ช่องทางเป็นอย่างน้อย คือ

1. ผ่านผนังโพรงจมูกส่วนติดต่อสมองรับกลิ่น โดยจะซึมผ่านขึ้นไปที่สมองส่วนหน้าด้านล่าง
2. ผ่านเข้าไปในปอด เข้าไปถึงหลอดลม แล้วซึมเข้าสู่กระแสเลือดที่ไหลเวียนไปยังสมอง
3. ผ่านเข้าสู่ทางเดินอาหาร โดยการกลืนลมที่มีฝุ่น PM 2.5 ปะปนในระหว่างการพูดคุยแล้วดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด หรือไปเปลี่ยนจุลชีพและสภาวะแวดล้อมในทางเดินอาหารก่อนจะไหลเวียนไปที่สมองต่อไป

ขณะที่ นพ.ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวว่า การศึกษาพบว่า มีการสะสมของอนุภาคฝุ่น PM 2.5 ในสมองจริง โดยเฉพาะในสมองส่วนหน้า ซึ่งผ่านมาจากผนังโพรงจมูกส่วนติดต่อสมองรับกลิ่น ซึมผ่านขึ้นไปที่สมองส่วนหน้าด้านล่าง เพราะตรวจพบอนุภาคฝุ่น PM 2.5 ในสมองส่วนหน้าคล้ายๆ กลุ่มโรคที่เกิดขึ้นในสมองโดยทั่วไป ในเด็กเล็กที่อยู่ในช่วงเจริญเติบโต จะพบว่า พัฒนาการของสมองช้ากว่าเด็กที่ไม่ได้รับ

นอกจากนี้ ในสมองส่วนลึกพบว่า มีโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันระบบประสาทเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แปรผันตรงกับช่วงเวลาที่มีการเพิ่มขึ้นของฝุ่น PM 2.5 อธิบายได้ว่า ฝุ่น PM 2.5 มีผลกระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบในระบบประสาทส่วนกลาง และหากผลกระทบนี้ลุกลามไปยังสมองที่ทำหน้าที่อื่น จะส่งผลให้การทำงานของสมองในตำแหน่งนั้นผิดปกติไป เช่น ความจำเสื่อม

ดังนั้นจึงให้ระมัดระวังป้องกันตนเอง หากพบว่า มีฝุ่นในปริมาณสูง ควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือสวมหน้ากากป้องกันฝุ่นควัน ควรลดการเผา ลดการใช้รถยนต์ที่มีการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ และตอบสนองนโยบายของรัฐในการจัดการควบคุมปัญหาฝุ่นควัน เพื่อสุขภาพของตัวเราและส่วนรวม

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า