SHARE

คัดลอกแล้ว

‘เพื่อไทย’ ยื่นร่างแก้รัฐธรรมนูญ 60 เสนอเปิดช่องส่งศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาด ทำประชามติได้กี่ครั้ง-จ่อเสนอแก้ในรายละเอียด อีก 3 ประเด็น

นายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย นำ สส. ของพรรคเพื่อไทยส่วนหนึ่ง เปิดแถลงข่าวในวันนี้ (22 ม.ค. 67) ถึงการเข้าชื่อเพื่อยื่นร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 256 ว่าด้วยเงื่อนไขของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเพิ่มหมวดใหม่ ว่าด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) จำนวน 200 คน ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนแต่ละจังหวัด ซึ่งการยื่นร่างฯ แก้ไขดังกล่าว ได้ยื่นต่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่เมื่อวันที่ 18 ม.ค. ที่ผ่านมา

นายชูศักดิ์ กล่าวว่า คณะทำงานของพรรคเพื่อไทยเห็นว่าการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว จะเป็นการเปิดช่องให้นำไปสู่การหาข้อยุติอย่างชัดเจนว่า ควรทำประชามติกี่ครั้ง เนื่องจากมีประเด็นความเห็นที่ขัดแข้งระหว่างการทำหน้าที่ในรัฐสภา ว่าสามารถพิจารณาเนื้อหาได้ก่อนการนำไปออกเสียงประชามติ หรือต้องทำประชามติก่อนรัฐสภาแก้ไขเนื้อหา ซึ่งเป็นประเด็นที่สามารถนำเรื่องส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด

เพราะคณะทำงานของพรรคเพื่อไทย มองว่า ควรทำประชามติ เพียง 2 ครั้ง เพื่อประหยัดงบประมาณและไม่สิ้นเปลืองเวลา ส่วนกรณีที่คณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ของรัฐบาล ที่มีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เป็นประธานนั้น อยู่ระหว่างการทำรายงานเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เบื้องต้นพบข้อเสนอเกี่ยวกับจำนวนครั้งในการทำประชามติ คือ 3 ครั้งด้วย

“ประเด็นที่พรรคเพื่อไทยเสนอญัตติแก้รัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่มีเจตนาอื่น นอกจาการหาช่องเพื่อส่งเรื่องไปสู่ศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ซึ่งวิธีการดังกล่าว คณะทำงานของพรรคเพื่อไทยคิดว่า แบบนี้ถือเป็นช่องทางที่เป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเหมือนกัน ไม่ใช่ประเด็นที่จะขัดกับคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ” นายชูศักดิ์ กล่าว

นายชูศักดิ์ กล่าวด้วยว่า คณะทำงานของพรรคเพื่อไทย มีแนวคิดต่อการแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ เช่นกัน เบื้องต้นได้ยกร่างแล้วเสร็จ และเตรียมเสนอเลขาธิการพรรคเพื่อไทย เพื่อให้ สส. ของพรรรคร่วมลงชื่อก่อนส่งให้ประธานสภาฯ ต่อไป

สำหรับประเด็นที่แก้ไขนั้นมี 3 ประเด็น คือ

1. การออกเสียงประชามติให้ยึดเสียงข้างมากธรรมดา โดยมีเงื่อนไขว่าเสียงข้างมากดังกล่าวต้องไม่ต่ำกว่าเสียงที่ประสงค์ไม่ลงคะแนน

2. กำหนดให้การออกเสียงประชามติ สามารถดำเนินการไปพร้อมกับกับการเลือกตั้งทุกระดับได้ เพื่อประหยัดงบประมาณ

3. ช่องทางการออกเสียงประชามติ สามารถทำได้ด้วยกระบวนการอื่นๆ เช่น ทางไปรษณีย์ นอกเหนือจากการออกไปหย่อนบัตรเท่านั้น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า