SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นกางเกงช้าง จีนผลิตขาย ส่วนไทยกับต่างชาติซื้อใส่ ไม่ใช่แค่เรื่องดราม่าซอฟท์พาวเวอร์ไทย แต่ปัญหาคือ บริษัทจีนสามารถผลิตกางเกงช้างได้ปริมาณมากซะจนกดต้นทุนได้ถูก และส่งมาขายในไทยผ่านแพลทฟอร์มมาร์เก็ตเพลส ทำราคาตัดหน้าสินค้าไทยผลิต ไทยขาย

กรณีกางเกงช้างเป็นตัวอย่างของ ‘สินค้าอีกหลายรายการ’ ที่บอกสถานการณ์เดียวกัน

ตอนนี้สินค้าที่จีนผลิตราคาถูก เข้ามาตีตลาดขายตรงกับคนไทย กำลังทำให้เอสเอ็มอีไทย และพ่อค้าแม่ค้าคนไทยที่ขายสินค้าออนไลน์บ่นกันว่า การบุกตลาดของจีนตลอดหลายเดือนมานี้มีการตัดราคาสินค้าไทย รวมทั้งสินค้าที่นำเข้ามาโดยพ่อค้าแม่ค้าชาวไทย ส่งผลกระทบต่อยอดขาย

สินค้าจีนหลายประเภทกำลังท่วมทะลักอยู่บนแพลทฟอร์มมาร์เก็ตเพลส Lazada, Shopee รวมถึงโซเชียลคอมเมิร์ซ TikTok

เมื่อโรงงานจีนได้เปรียบตรงที่ผลิตสินค้าได้ทีละจำนวนมากจนทำให้คุมต้นทุนลงมาได้มาก (Economies of Scale) ทั้งยังส่งออกมาขายในราคาถูกแบบขายตรงไม่มีคนกลางเลย ทำให้ผู้ประกอบการไทยแข่งขันได้ยากขึ้น

และไม่ใช่แค่กางเกงช้าง แต่หมายถึงสินค้าอีกมากมายหลายรายการ รวมไปถึง ‘กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม’ ด้วย

นับตั้งแต่จีนประสบปัญหาเศรษฐกิจช่วงโควิด-19 และมีปัญหาวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ที่ยืดเยื้อ จนมีผลต่อเศรษฐกิจจีนอย่างมาก ภาคอสังหาริมทรัพย์เคยเป็นเครื่องจักรทางเศรษฐกิจให้จีน แต่เมื่อต้องหยุดชะงัก ทำให้คาดกันว่าจีนจะปรับกลยุทธ์ทำการค้า โดยการใช้วิธีเร่งผลิตและเน้นระบายสินค้าส่งออกต่างประเทศ เป็นอย่างนี้ก็ยิ่งทำให้สินค้าจีนที่เข้ามาตีตลาดในไทยเพิ่มทะลักมากขึ้นไปอีก

แล้วไทยก็ยังมีปัญหาหนี้ครัวเรือน กำลังซื้อลดลง ส่งออกชะลอตัว พอมาเจอสินค้าจีนที่ขายไม่ออกในประเทศจีนส่งมาขายตัดราคาในไทยมากขึ้น ผลคือไทยขาดดุลการค้ากับจีนต่อเนื่อง

[ ไทยขาดดุลการค้ากับจีนมานานเป็นทศวรรษ ]

ในปี 2566 ไทยขาดดุลการค้ากับจีนเพิ่มขึ้นไปอีก ทุบสถิติทำนิวไฮเกือบแตะ 1.3 ล้านล้านบาท นึกภาพง่ายๆ ไทยค้าขายกับจีน 1,200 รายการ แต่ขาดดุลไปแล้ว 1,000 รายการ ส่วนใหญ่สินค้าที่ไทยได้ดุลการค้าจากจีนก็วนอยู่ในสินค้ากลุ่มเกษตรเป็นส่วนใหญ่ เช่น ทุเรียน ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมนั้นขาดดุลหลายรายการ

นอกจากสินค้าทั่วไปที่จีนเข้ามาทำตลาดบนออนไลน์แล้ว ผลกระทบหนักที่เกิดกับ ‘กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม’ ก็หนักหน่วงเช่นกัน อย่างที่ก่อนหน้านี้กลุ่มธุรกิจ 20 กว่าอุตสาหกรรมออกมาร้องเรียนว่ากำลังประสบปัญหาจากสินค้าจีนราคาถูกเข้ามาดัมพ์ราคาจนกระทบกับธุรกิจของคนไทย อาทิ เครื่องจักรกลโลหการ เครื่องจักรกลการเกษตร ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือแพทย์ เคมี แก้วและกระจก อาหารและเครื่องดื่ม เนื้อสัตว์ อัญมณี-เครื่องประดับ พลาสติก และปิโตรเคมี

รวมทั้งกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ก็เป็นส่วนหนึ่งในรายการไทยขาดดุลจีนด้วย ผู้บริหารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้สัมภาษณ์กับประชาชาติธุรกิจว่า แพ็กเกจอีวี 3.0 ทำให้ยอดนำเข้ารถไฟฟ้าพุ่ง 400 % จากการที่ค่ายรถต้องนำเข้ารถสำเร็จรูปจากจีนมาจำหน่ายก่อนที่จะมาตั้งโรงงานในประเทศไทย ซึ่งยอดนำเข้าตรงนี้คือเกือบแสนล้านบาท และประเมินว่าจะมีการขาดดุลจากการนำเข้าอีวีต่อเนื่องไปจนถึงปี 2568 เพราะยังมีแพ็คเกจอีวี 3.5 ตามมา

เรื่อง ‘กางเกงช้าง’ เลยไม่ใช่แค่ดราม่าจุดพลุซอฟท์พาวเวอร์ หรือไทยทำการตลาดกางเกงช้างช้าไม่ทันจีน

แต่สะท้อนให้เห็นภาพใหญ่ของขบวนสินค้าจีนอีกมากมายที่กำลังล้นทะลักตลาดไทย รวมทั้งสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมที่จีนส่งเข้ามาขายดัมพ์ราคาแบบไร้ภาษี ทำให้สินค้าไทยแข่งขันไม่ได้

ทั้งหมดเกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลและเป็นห่วงว่าสถานการณ์การค้าขายระหว่างไทยกับจีน ไทยยังขาดดุลการค้ากับจีนมากขึ้นเรื่อยๆ

ขณะที่อีกประเด็นสำคัญคือ สภาพการณ์นี้ธุรกิจไทยจะปรับตัวรับมือยังไง เป็นต้นว่าเอสเอ็มอีจะสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เพิ่มมูลค่า มีคุณภาพพอที่จะมาสู้กับสินค้าจีนท่วมตลาดได้หรือไม่ หรือจะล้มแล้วลุกไปต่อไม่ไหว

ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมไทยจะแก้ทางหาตลาดใหม่ หนีจีนไปทางตะวันออกกลาง เอเชียใต้ หรือต้องลงเอยที่บางธุรกิจต้องเลือกปิดกิจการ

[ ที่มา กางเกงช้าง ยังไม่มีใครรู้แน่ชัด? ]

มีทั้งทฤษฎีที่เชื่อว่าต้นกำเนิดเป็นของไทยมาตั้งแต่แรก กับทฤษฎีสายประวัติศาสตร์ที่เชื่อว่าตัวลวดลายช้างมาจากอินเดีย เพราะผ้าอินเดียมักจะเห็นว่ามีช้างหลายตัว ส่วนไทยแรกเริ่มจะเห็นเป็นช้างตัวใหญ่ตัวเดียว นอกจากนี้ก็ยังมีอีกความเชื่อว่าตัวลวดลายอิงมาจากทางกัมพูชา

และก็ยังมีอีกทฤษฎีเห็นว่า ตัวทรงกางเกงนั้นได้รับอิทธิพลมาจากกางเกงของชุด Shalwar (ซาลวาร์) ที่ใส่กันในอินเดีย ปากีสถาน และอัฟกานิสถาน ใส่ได้ทั้งผู้หญิงผู้ชาย โดยตัวกางเกงจะเป็นทรงหลวม ต่อมามีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ จนมายุค 70-80 ที่กางเกงทรงหลวมนี้ถูกพัฒนามาเป็นกางเกงทรงฮาเร็ม จากนั้นกางเกงทรงนี้ก็ถูกพัฒนาต่อเนื่องมาเรื่อยจนเป็นที่นิยมในประเทศอาเซียน รวมทั้งไทย มีการนำสัญลักษณ์ช้างมาประกอบ จนกระทั่งกลายเป็นสินค้ายอดนิยมในหมู่นักท่องเที่ยว เพราะราคาถูกใส่สบายและยังซื้อไปเป็นของฝากที่ระลึกได้

มียูทูปเบอร์ไทยเคยลงพื้นที่เพื่อหาที่มากางเกงช้างที่ย่านพาหุรัด แหล่งผ้าใหญ่ของประเทศ ได้สอบถามพ่อค้าแม่ค้าที่ขายผ้าในนั้นมานานกว่า 20 ปี ก็ไม่มีใครตอบได้แน่ชัดว่ากางเกงช้างมาจากไหน มีบ้างที่คาดเดาว่ามาจากพ่อค้าอินเดียที่เข้ามาอยู่ในพาหุรัด

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า