SHARE

คัดลอกแล้ว

มติสภาฯ เอกฉันท์ รับหลักการ ยกเลิกคำสั่ง คสช. แก้ปัญหาชายแดนใต้ ตั้งกมธ.วิสามัญ พิจารณา 31 คน

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมวันนี้ (21 ก.พ. 67) มีวาระการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ยกเลิกคำสั่งหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 14/2559 เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการกำหนดหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ที่นายยูนัยดี วาบา สส.ปัตตานี พรรคประชาธิปัตย์ และคณะเป็นผู้เสนอ โดยมีร่างในทำนองเดียวกันอีก 2 ร่าง ที่เสนอโดยนายรอมฏอน ปันจอร์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และนายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย มาประกบ

โดยมี สส. ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล อภิปรายอย่างกว้างขวาง อาทิ นายปรเมษฐ์ จินา สส.สุราษฎร์ธานี พรรครวมไทยสร้างชาติ กล่าวว่า ในแต่ละสถานการณ์ก็จะมีวิธีการแก้ไขปัญหา เมื่อเหตุการณ์ล่วงเลยมาแล้วก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีและเมื่อได้ประเมินบทเรียนที่ผ่านมา จะพบว่า คำสั่ง คสช. ยังแก้ปัญหาไม่ได้ดีเท่าที่ควร และเสนอว่าให้ใช้แนวคิดในสมัย พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ให้เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้าและเพิ่มสัดส่วนตัวแทนของประชาชน เข้าไปในสภาที่ปรึกษาฯ เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลและจังหวัด ของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และส่งเสริมทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ให้เป็นทั้งแหล่งประมงและแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มรายได้

ขณะที่ นายซาการียา สะอิ สส.นราธิวาส พรรคภูมิใจไทย อภิปรายสนับสนุนว่า ตนในฐานะคนพื้นที่ อยากให้เป็นเหมือนจังหวัดอื่นๆ ไม่ได้ต้องการหน่วยงานพิเศษ แต่เราเลือกไม่ได้ งบประมาณหลายแสนล้านบาทที่เข้ามา ไม่ได้พัฒนาอะไรขึ้น สิ่งสำคัญคือการช่วยเหลือเยียวยาคนในพื้นที่ ซึ่ง ศอ.บต. ต้องสนับสนุน คนจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ได้ต้องการอะไรพิเศษกว่าคนจังหวัดอื่น นอกจากสังคมดี เศรษฐกิจดี การศึกษาดี แต่คำสั่ง คสช. ให้แต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาฯ ซึ่งไม่ได้มีความเข้าใจในพื้นที่ จึงเห็นควรว่าควรยกเลิกคำสั่งดังกล่าว และ กอ.รมน. ที่เป็นทหาร ก็ควรดูแลด้านความมั่นคง ไม่ได้มีหน้าที่ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น เราจึงควรเลือกคนให้ถูกกับงาน

ด้าน นายซูการ์โน มะทา สส.ยะลา พรรคประชาชาติ กล่าวเห็นด้วยในการยกเลิกคำสั่ง คสช. แต่ถ้าจะให้สมบูรณ์ที่สุด ควรยกเลิกถึง 3 ฉบับ ซึ่งพรรคประชาชาติได้ยื่นเข้าไปแล้ว เพื่อให้แก้ปัญหาอย่างครบวงจร และสนับสนุนให้ประชาชนสามารถเลือกตัวแทนมาดูแลงบประมาณของ ศอ.บต. ที่มาพิจารณางบประมาณของ ศอ.บต.ผ่านไป 20 ปี รัฐบาลผลักดันงบไปกว่า 500,000 ล้านบาท มีอะไรดีขึ้น แถมประชาชนกลับถูกปิดปาก ประชาชนแต่งชุดมลายู ก็ไม่มีใครกล้าออกมาพูด ประชาชนแสดงอัตลักษณ์ตามรัฐธรรมนูญ ก็ไม่มีใครมาดูแล กลับไปริดรอนสิทธิ์ กล่าวหาว่าเป็นอั้งยี่ซ่องโจร เพราะไม่มีสภาที่ปรึกษาฯ ที่มาจากประชาชน อยากฝากให้คณะทำงาน ได้พิจารณายกเลิกคำสั่ง และให้ ศอ.บต. เป็นแม่งานในการพิจารณา ไม่ใช่ให้ทหารนำการพัฒนา

นายจาตุรนต์ ฉายแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ ศึกษาติดตาม และส่งเสริมการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า สาเหตุที่ คสช. หวั่นไหวต่อ พ.ร.บ.บริหารจัดการชายแดนภาคใต้และสภาที่ปรึกษามีบทบาทอย่างที่ควรจะเป็น เพราะสภานี้มีอำนาจหน้าที่เชื่อมโยงกับประชาชน ฝ่ายกฎหมาย และเชื่อมโยงกับการพูดคุยสันติภาพ ศอ.บต. มีหน้าที่ด้านสันติภาพ และสภาที่ปรึกษาก็มีหน้าที่เชื่อมโยง ป้อนความเห็นต่างๆ คณะกรรมการที่ปรึกษาที่ปรับมาจากสภาที่ปรึกษา คนแต่งตั้งคือนายกรัฐมนตรี และมีอำนาจเหลือหน้าที่เพียงให้คำปรึกษา ศอ.บต. ให้ความเห็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรีเห็นว่าควรรับฟังความคิดเห็น หมายความว่านายกรัฐมนตรีไม่ถามก็ไม่ต้องให้ความคิดเห็น ต่างจากสภาที่ปรึกษาที่มีหน้าที่ให้คำปรึกษา นอกจากนี้ก็แต่งตั้งคณะทำงานได้ตามความเหมาะสม แต่การที่อำนาจหน้าที่หายไป ปัญหาจึงเกิดขึ้นมากในทุกด้าน เช่น การเยียวยา ลูก หลาน เจ้าหน้าที่ไม่ได้รับการดูแล การพิพาทระหว่างรัฐหับประชาชน ปัญหาการศึกษา ซึ่งหากมีเจ้าหน้าที่สภาที่ปรึกษาจะผลักดันเรื่องนี้ได้

นายจาตุรนต์ กล่าวต่อว่า ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดเคยพยายามเสนอความเห็นต่อภาครัฐ แต่ไม่มีใครฟัง ปกติถ้ามีสภาที่ปรึกษา เขาก็จะเสนอผ่านสภาที่ปรึกษาได้ อันนี้ก็ขาดหายไป ยังมีเรื่องอื่นอีกหลายเรื่องที่เป็นปัญหาเกิดขึ้น เนื่องจากไม่มีสภาที่ปรึกษา นอกจากนี้ ปัญหาคำสั่ง คสช. นอกจากไม่มีสภาที่ปรึกษาแล้ว ยังมีเรื่องการขยายอำนาจของ กอ.รมน. เข้ามาล้วงลูก เข้ามาแทรกแซง ทำแทนหน่วยงานพลเรือน ทำให้เจตนารมณ์ของการมี ศอ.บต.นั้นถูกเปลี่ยนไป แทนที่จะให้ฝ่ายมีพลเรือนมีบทบาท สภาที่ปรึกษาจะทำให้ ศอ.บต.กลับมามีบทบาทมากขึ้น ในระยะหลังมีองค์กรที่สลับซับซ้อนมาก ระดับประเทศถึง 3 องค์กร อยู่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย สภาความมั่นคง กอ.รมน. และ ศอ.บต. โดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานทั้งหมด แต่ไม่มีการทำงานประสานร่วมมือกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ มีกฎหมายพิเศษ 3 ฉบับใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ร.บ.ความมั่นคงภายใน และกฎอัยการศึก จะเห็นได้ว่าโดยองค์กรและกฎหมาย กองทัพมีบทบาทเป็นหลักกดทับ วันนี้ถ้าเรายกเลิกคำสั่ง คสช. จะเป็นก้าวสำคัญในการระดมความคิดจากประชาชนให้แก้ปัญหาชายแดนภาคใต้และมาคิดกันว่าเราจะออกแบบระบบกฎหมายอย่างไร ทำให้เกิดความสงบต่อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ สภาก็ตั้ง กมธ. รัฐบาลก็ตั้งคณะทำงานพูดดคุย หากสภาฯ เห็นชอบจะทำให้เข้าใจปัญหาและจะนำไปสู่การได้ผลมากยิ่งขึ้น

ในที่สุดที่ประชุมมีมติเห็นชอบทั้ง 3 ร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกคำสั่ง คสช. และกำหนดหน้าที่ของ กอ.รมน. จำนวน 421 เสียง งดออกเสียง 1 คน และไม่คะแนน 1 คน จากนั้นได้ตั้ง คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญฯ จำนวน 31 คน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า