SHARE

คัดลอกแล้ว

สถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดในไทยยังคงท้าทาย และมีการคาดการณ์แนวโน้มว่าจำนวนผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดจะเพิ่มขึ้นตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าส่งผลกระทบถึงความมั่นคงของประเทศเกือบทุกมิติ ทั้งทางด้านสุขภาวะ สังคมและเศรษฐกิจ 

ทางออกในการแก้ไขปัญหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติดที่จะให้เกิดความยั่งยืนได้นั้น จึงไม่ใช่แค่การมุ่งกวาดล้าง จับกุมดำเนินคดีเท่านั้น แต่ต้องปรับหลักคิดในการแก้ปัญหา อาศัยความเข้าใจ ในการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยนำชุมชนเข้ามาส่วนร่วม

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในงานประชุมสัมมนาแกนนำเครือข่ายภาคประชาชน เพื่อร่วมออกแบบแนวทางการปฏิบัติการป้องกันปัญหายาเสพติด โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ว่าสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในประเทศไทย มีจำนวนผู้เสพยาเสพติดเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันมีผู้เสพยาเสพติดราว 1.9 ล้านคน จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการจัดการเพื่อลดจำนวนผู้เสพยาเสพติดก่อนจะกลายเป็นผู้ป่วยจิตเวช มีความก้าวร้าวและใช้ความรุนแรง ก่อเหตุอาชญากรรมและปัญหาความรุนแรงต่าง ๆ ในชุมชนได้  

ขณะที่รัฐบาลโดยกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานต่าง ๆ ได้ร่วมมือเชื่อมกลไกการขับเคลื่อนงานด้วยแนวคิดการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน หรือ กระบวนการชุมชนล้อมรักษ์ (Community Based Treatment : CBTx) ซึ่งจะอาศัยชุมชนเข้ามามีบทบาทดูแลผู้ติดยาเสพติดที่อยู่ในชุมชน  

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

โดย สสส. ให้ความสำคัญร่วมขับเคลื่อนด้วยการสนับสนุนทุนตั้งศูนย์วิชาการยาเสพติด และทำงานสนับสนุนให้พื้นที่ชุมชนต่าง ๆ กว่า 1,500 ชุมชน เพื่อสร้างชุมชนต้นแบบ ร่วมทำงานกับกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงสาธารณสุข ขับเคลื่อนกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) แก้ไขปัญหายาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อคัดเลือกพื้นที่ต้นแบบให้เป็นแหล่งเรียนรู้ได้ สามารถบริหารจัดการดูแลผู้ใช้/ผู้เสพบางรายที่อาการไม่รุนแรงโดยไม่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล มีส่วนร่วมในการติดตามดูแลผู้ป่วยยาเสพติดมีอาการทางจิตที่ได้รับการบำบัดและอาการสงบเมื่อกลับคืนสู่ครอบครัว ตลอดจนช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพ เฝ้าระวังและป้องกันการกลับไปเสพซ้ำหรือป่วยซ้ำ

“การใช้ชุมชนเป็นฐานในการแก้ไขปัญหายาเสพติด เพราะในชุมชนรับทราบปัญหาว่ามีใครบ้างเสพยาเสพติด ใช้ชุมชนบำบัดเพื่อให้ผู้เสพเห็นคุณค่าในตัวเองรู้สึกว่าสามารถทำสิ่งดี ๆ ให้สังคมได้ ซึ่งมั่นใจว่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนให้ผู้เสพก็ต้องกลับตัวใหม่ ไม่กลับไปยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติด เพราะมีความสุขในการเห็นคุณค่าในตัวเอง มากกว่าความสุขจากการเสพยาเสพติด”  นพ.พงศ์เทพ กล่าว 

ทั้งนี้ การพัฒนาศักยภาพชุมชนให้มีความเข้มแข็งขึ้นได้นั้น ต้องควบคุมไปกับการพัฒนาเพิ่มทักษะให้กับแกนนำภาคประชาชน ซึ่งเป็นกระบวนการที่ สสส. ร่วมมือกับศูนย์วิชาการยาเสพติด มุ่งให้องค์ความรู้เรื่องยาเสพติด และเพิ่มทักษะในการทำงานในพื้นที่ โดยส่วนใหญ่พบว่าแกนนำภาคประชาชนมีทักษะในการสื่อสารที่ดีเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอยู่แล้ว พร้อมมั่นใจว่าแต่ละชุมชนมีความเอื้ออาทรต่อกัน ไม่ได้มองว่าเป็นการผลักภาระกลับไปให้ชุมชน ดังนั้นเขาจะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อร่วมกันสร้างพื้นที่ปลอดภัย ทำให้ชุมชนดีขึ้นทั้งคุณภาพการใช้ชีวิต เศรษฐกิจ ผลลัพธ์คือ ผู้ติดยาเสพติดต้องไม่กลับไปเสพซ้ำ และผลลัพธ์ในระยะยาวคือคนในชุมชนมีความสุขมากขึ้น ลดจำนวนผู้เสพที่เสี่ยงมีความก้าวร้าวใช้ความรุนแรงในชุมชนให้น้อยลง 

สำหรับดัชนีชี้วัดความสำเร็จ ในระยะสั้นคือผู้ติดยาเสพติดต้องไม่กลับไปเสพซ้ำ และผลลัพธ์ในระยะยาวคือคนในชุมชนมีความสุขมากขึ้น ลดจำนวนผู้เสพที่เสี่ยงมีความก้าวร้าวใช้ความรุนแรงในชุมชนให้น้อยลงได้ 

อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา สสส. ได้สนับสนุนโครงการเครือข่ายภาคประชาชนสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดและเสริมสร้างชุมชนสุขภาวะ ร่วมขับเคลื่อนงานป้องกันปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่หมู่บ้านชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง

ตั้งแต่ปี 2558 ทำให้เกิดพื้นที่ต้นแบบที่สามารถสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติด 25 แห่ง ใน 48 จังหวัด สามารถปกป้องลูกหลานไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับวงจรยาเสพติดได้อย่างเป็นรูปธรรม ที่สำคัญทำให้เกิดแกนนำ ซึ่งเป็นกลไกการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ทั้งระดับชุมชนหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ภูมิภาค และแกนนำเครือข่าย 5 ภูมิภาค  2,683 คน จากประสบการณ์และบทเรียนการทำงานในพื้นที่ของแกนนำต่าง ๆ นำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้การจัดการปัญหายาเสพติดไปขยายผลสู่พื้นที่ชุมชนอื่น ๆ ได้ 

ขณะที่ ดร.สมคิด แก้วทิพย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคณะ ได้ร่วมกันถอดบทเรียนผลการประเมินโครงการเครือข่ายภาคประชาชนสร้างพื้นที่ปลอดภัยและสร้างเสริมชุมชนสุขภาวะ พบว่า จากพื้นที่ปฏิบัติงานจริง 11 พื้นที่ จากเป้าหมาย 13 พื้นที่นั้น มีพื้นที่พร้อมปฏิบัติงาน 10 พื้นที่ โดยแต่ละพื้นที่ชุมชนมีลักษณะปัญหาและความละเอียดอ่อนที่แตกต่างกัน โดยแนวทางการทำงานของ สสส. ที่ใช้ชุมชนเป็นฐานในการจัดการปัญหายาเสพติดที่รุนแรงขึ้น โดยให้ความสำคัญการสร้างพื้นที่ปลอดภัย ที่ให้ทุกคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม มีต้นแบบพื้นที่ปลอดภัยจากยาเสพติดที่เห็นภาพชัดเจนคือ ที่สะเมิง จ.เชียงใหม่ ที่ใช้ศิลปะในการสร้างพื้นที่ปลอดภัย หรือเรียกว่า “ศิลปะสื่อสุข” สามารถป้องกันเด็กได้ 40 คน ป้องกันกลุ่มเสี่ยงได้ 30 คน และเปลี่ยนจากผู้เสพให้เลิกได้ 6 คน 

“ปัจจัยหลักที่ทำให้ชุมชนประสบความสำเร็จได้ คือการสนับสนุน และการหมุนสร้างพื้นที่ให้มีพลังงานสร้างสรรค์ ทำให้รู้สึกปลอดภัย มีความเข้าใจเรื่องปัญหายาเสพติด สร้างสังคมใหม่ที่มี เน้นรับฟัง ไม่ตัดสิน ไม่ตีตรา มอบโอกาส และสร้างความเข้าใจ ไม่ผลักผู้เสพออกจากสังคม พบว่าสามารถลดจำนวนสถานการณ์ที่ติดยาเสพติดซ้ำได้” ดร.สมคิด กล่าว 

ดร.สมคิด แก้วทิพย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ดร.สมคิด กล่าวอีกว่า “หัวใจของชุมชนต้นแบบ” คือการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้คนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในพื้นที่ ทั้งลูกหลาน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน มีพื้นที่ในการพูดคุยกันและร่วมกันเข้าใจปัญหายาเสพติด เพราะปัญหานี้ไม่ใช่แค่เรื่องเรื่องปัจเจกบุคคล หรือเรียกว่า “ตัวใครตัวมัน” แต่เป็นเรื่องของปัจจัยแวดล้อมของสังคม โดยปัญหายาเสพติดเป็นผลกระทบจากความเจ็บป่วยของสังคม เพราะฉะนั้นมองว่า “การสร้างพื้นที่ส่วนกลาง” ให้ทุกคนรู้สึกว่าปลอดภัย สามารถพูดคุยอย่างเข้าใจกันและอยู่ร่วมกันได้ เพิ่มโอกาสในการยอมรับสนับสนุนในการทำอะไรดี ๆ ร่วมกัน ผลจากศึกษาพบว่าช่วยให้ผู้ที่เคยติดยาเสพติดสามารถเลิกเสพได้ และบางกลุ่มก็พยายามเยียวยาแก้ไขปัญหาตัวเอง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง 

ด้าน นายณพล เชยคำแหง สส.หนองบัวลำภู เขต 3 พรรคเพื่อไทย หนึ่งในตัวแทนจากพรรคการเมือง ที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด กล่าวถึงการใช้ชุมชนบำบัด “หนองบัวลำภูโมเดล” ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ จ.หนองบัวลำภู ว่าขณะนี้มีความคืบหน้าเป็นอย่างมาก การระบาดของยาเสพติดลดลง หลังจากครั้งหนึ่งเคยเกิดเหตุสะเทือนใจคนร้ายก่อเหตุกราดยิงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จ.หนองบัวลำภู เมื่อปี 2565 

นายณพล เชยคำแหง สส.หนองบัวลำภู เขต 3 พรรคเพื่อไทย

“ประชาชนมีความอุ่นใจในความปลอดภัยมากขึ้น เพราะภายหลังเมื่อเกิดเหตุโศกนาฎกรรม พี่น้องประชาชนทุกคนมีความต้องการเพียงหนึ่งเดียวคืออยากให้แก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเด็ดขาด ทุกภาคส่วนในพื้นที่หนองบัวลำภูจึงได้จับมือกันเพื่อเอกซเรย์พื้นที่อย่างละเอียด สำรวจความรุนแรงของปัญหาและร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง โดยได้วางมาตรการต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาแต่ละพื้นที่ แบ่งตามความรุนแรงของปัญหา จนวันนี้เราสามารถพูดได้เบื้องต้นว่าการระบาดของยาเสพติดในพื้นที่ลดลงอย่างมาก ซึ่งตามมาด้วยการลดปัญหาความรุนแรงอันมีสาเหตุจากยาเสพติดลงได้กว่า 28% แล้ว และเราจะพยายามทำให้ลดลงมากกว่านี้อย่างแน่นอน”  นายณพล กล่าว 

นอกจากนี้ ยังมีการใช้ความรักความอบอุ่นมาแก้ไขปัญหาในส่วนของเยาวชน โดยเฉพาะฝ่ายปกครองซึ่งมีเข้มแข็ง แต่ได้ใช้ความรักเข้าไปพูดคุยดูแลเด็กวัยรุ่นในพื้นที่ เข้าไปพูดคุยทำความเข้าใจปรับเปลี่ยนวิธีคิด ทำให้เขาห่างไกลจากยาเสพติด จนเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ปัญหายาเสพติดลดลงอย่างเห็นได้ชัด

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า