SHARE

คัดลอกแล้ว

นายกฯ สรุปผลสำเร็จการเดินทางร่วมประชุมอาเซียน-ออสเตรเลีย ไทยผลักดันความเชื่อมโยง-การเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ในวันนี้ (6 มี.ค. 67) ถึงการเข้าร่วมการประชุมอาเซียน-ออสเตรเลีย เชื่อมั่นว่า การเดินทางมาครั้งนี้เพื่อส่งเสริมถึงความร่วมมือระหว่างอาเซียน-ออสเตรเลีย ภายใต้ 3 สามเสาหลักของอาเซียน ได้แก่ 1. การเมืองและความมั่นคง 2. เศรษฐกิจ 3. สังคมและวัฒนธรรม และถือเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบความสัมพันธ์ 50 ปีอาเซียน-ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน

นายเศรษฐา ยังกล่าวถึงสิ่งที่ประเทศไทยพร้อมผลักดัน ใน 2 ด้านหลักได้แก่ 1. ความเชื่อมโยงในมิติต่างๆ Connectivity ได้แก่ การค้าการลงทุน เพิ่มมูลค่าทางการค้าผ่านกรอบความร่วมมือต่างๆ ด้านที่สอง ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ส่งเสริมระบบโลจิสติกส์ให้เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ไร้รอย Seamless ด้านที่สาม ด้านดิจิทัลโดยได้เริ่มพัฒนาเจรจาความตกลง DEFA (Digital Economy Framework Agreement) ซึ่งจะสร้างมูลค่ามากกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และในด้านสุดท้ายที่มีความสำคัญมากคือ ด้านประชาชน การติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างประชาชนผ่านการส่งเสริม Soft Power และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการช่วยเหลือด้านการเชื่อมโยงด้านการตรวจลงตราระหว่างกัน

และ 2. การเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด ซึ่งไทยสามารถร่วมกับ ออสเตรเลีย ทำให้เกิดระบบนิเวศน์ EV ครบวงจร รวมถึงการออก Sustainability bonds

ทั้งนี้ นายเศรษฐา กล่าวต่อว่า เชื่อมั่นว่าจะเกิดความมั่นคงและสันติภาพในภูมิภาคผ่านการมีเป้าหมายร่วมกัน และจะเกิดความร่วมมือ เป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจ เกิดการพัฒนา ซึ่งจะต้องไม่ลืมที่จะต้องรับมือกับ Climate Charge ร่วมกันด้วย โดยประเทศไทยได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะร่วมมืออย่างเต็มที่ในกรอบความร่วมมือนี้ ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จของภูมิภาค

โดยในส่วนอื่นๆ ได้พบหารือกับผู้นำ 4 ประเทศ ในการพบหารือกับผู้นำลาวได้พูดถึงการค้าชายแดน พบหารือกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้พูดคุยถึงสันติสุขในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเป็นโอกาสให้พูดคุยเรื่องโอกาสซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นด้วยว่าเราควรเริ่มพูดคุยแนวทางการแก้ปัญหาจากการเพิ่มโอกาส ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงการลงพื้นที่เมื่อเร็วๆ นี้ เป็นการสร้างโอกาสให้เกิดการขุด Hidden Gem ถือเป็นอีกมิติในการแก้ไขปัญหา และในส่วนของการคบหากับผู้นำออสเตรเลียนั้นได้พูดคุยเรื่องการสนับสนุนการนำเข้าแรงงานไทยมาทำงานด้านการเกษตรที่ออสเตรเลีย และได้ขอบคุณที่ออสเตรเลียที่ดูแลนักเรียนไทยอย่างต่อเนื่องมาตลอด ในการพบหากับนิวซีแลนด์ ได้พูดคุยกันอย่างเป็นกันเองครับทั้งในเรื่องของ Visa Free และในปีนี้ นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ มีกำหนดการเดินทางไทยในช่วงเดือนเมษายนนี้

ในส่วนของการพบหารือกับฝ่ายเอกชนได้พบหารือกับผู้นำเอกชน 6 บริษัทใหญ่ ซึ่งเป็นบริษัทสำคัญทั้งในด้านอุตสาหกรรม พลังงานสะอาด และด้านกองทุน ซึ่งตนเชื่อมั่นมากว่า ประเทศไทย คนไทยจะได้ประโยชน์จากการเดินทางครั้งนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเศรษฐา ยังได้โพสต์รูปตนเองกับโคอาล่า สัตว์สัญลักษณ์ประจำชาติ ของประเทศออสเตรเลีย บนเฟซบุ๊กส่วนตัว พร้อมระบุว่า “Hank กับ Winnie ชอบใบยูคาลิปตัสมากครับ koala เป็นสัตว์พื้นเมืองของประเทศออสเตรเลีย รูปร่างหน้าตาน่ารัก แต่ตอนนี้หายากมากๆ แล้วครับ ผมแวะมาป้อนใบยูคาลิปตัสก่อนเข้ารับประทานอาหารกลางวันกับผู้นำประเทศต่างๆ ที่ Government House Victoria ครับ”

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า