SHARE

คัดลอกแล้ว

หยุดวงจรความสิ้นหวัง:การเดินทางของนักสังคมสงเคราะห์เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของเด็กๆ

“ภารกิจของเราคือการตัดวงจรแห่งความสิ้นหวัง” ชัญญา สืบเพ็ชร หนึ่งในทีมนักสังคมสงเคราะห์ที่ทำงานที่โรงพยาบาลศิริราชกล่าว นักสังคมสงเคราะห์สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลวัย 37 ปีจึงมีหน้าที่เน้นหนักไปที่การช่วยเหลือเด็กกลุ่มเปราะบาง

เมื่อชัญญาเดินเข้าไปในห้องสัมภาษณ์ซึ่งเป็นห้องที่เธอใช้ทำงานพูดคุยกับเด็กโดยเฉพาะเด็กที่สงสัยหรือพบว่าเป็นเหยื่อของการทารุณกรรม หรือการปล่อยปละละเลยทอดทิ้ง ทุกคนสามารถรับรู้ถึงความพยายามที่จะปกป้องคุ้มครองเด็กในทันที โดยสังเกตจากอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ในห้อง เช่น กล้องและเครื่องบันทึกเสียงสำหรับการสัมภาษณ์เด็ก เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กต้องพูดถึงเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจซ้ำ ๆ

“มาตรการเหล่านี้จำเป็นสำหรับเด็กที่ถูกส่งมาขอรับคำปรึกษา” ชัญญากล่าว พลางชี้ไปยังห้องอีกห้องหนึ่งที่อยู่หลังกระจกซึ่งมองเห็นได้จากอีกฝั่งเท่านั้น แม้ว่าห้องนี้จะถูกออกแบบมาเพื่อให้เด็กสามารถพูดเรื่องต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องรู้สึกว่ากำลังถูกคนแปลกหน้าหลายคนจับจ้องอยู่ แต่ชัญญากล่าวว่า

“เด็กจำเป็นต้องรู้ว่าอาจมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทำการสังเกตและรับฟังอยู่ในอีกห้อง” ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเหล่านี้อาจรวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจ อัยการหรือจิตแพทย์ที่อาจจะต้องเตรียมพร้อมให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมในกรณีที่เด็กอาจะได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ ความมุ่งมั่นของชัญญาในการสร้างความมั่นใจว่าเด็ก ๆ จะรู้สึกสบายใจในช่วงเวลาที่ยากลำบากนั้นมองเห็นได้ไม่ยากหากเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ทำงานมาหลายปี 

การเดินทางเข้าสู่เส้นทางงานด้านสังคมสงเคราะห์ของชัญญาเริ่มต้นเมื่อเธอสมัครเป็นอาสาสมัครที่มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กตอนยังเรียนอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่นี่เองที่ทำให้เธอได้เรียนรู้ทักษะต่าง ๆ จากนักสังคมสงเคราะห์มากประสบการณ์ เช่น การควบคุมสถานการณ์เมื่อเด็กมีท่าทีก้าวร้าว การได้รับรู้ถึงบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ในการสร้างความแตกต่างให้กับชีวิตของเด็กกลุ่มเปราะบางได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้เธอเลือกเรียนและทำงานในสาขาดังกล่าว ชัญญาเลือกเรียนและสำเร็จการศึกษาจากคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปัจจุบันทุ่มเทให้กับงานในโรงพยาบาลศิริราช เธอเป็นหนึ่งในนักสังคมสงเคราะห์ที่ได้รับใบอนุญาต 33 คนของโรงพยาบาล และเป็นส่วนหนึ่งของนักสังคมสงเคราะห์ที่ได้รับใบอนุญาตประมาณ 3,000คนในประเทศไทย ซึ่งเจ้าหน้าที่เหล่านี้ต้องทำงานเพื่อช่วยเหลือประชาชนทั่วประเทศรวมถึงเด็กมากกว่า 13 ล้านคน

แต่เป้าหมายหลักของชัญญาและทีมคือการให้การสนับสนุนผู้ป่วยของโรงพยาบาลและการจัดการผู้ป่วยที่ซับซ้อนที่ถูกส่งต่อมาจากโรงพยาบาลอื่นทุกสัปดาห์ ชัญญาต้องจัดการกับผู้ป่วยใหม่ไปพร้อม ๆ กับติดตามการรักษาผู้ป่วยเดิมที่มีอยู่แล้ว บางสัปดาห์อาจเพียงสามรายที่ต้องรับผิดชอบแต่บางช่วงที่งานชุกเธออาจจะต้องสลับตารางเพื่อจัดการเด็กถึง 10 รายในช่วงเวลาเดียวกัน หน้าที่ของชัญญามีตั้งแต่การสัมภาษณ์เด็ก การประเมินเด็กคนใหม่ การเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินเพิ่มเติมไปจนถึงการพูดคุยสื่อสารอย่างต่อเนื่องติดตามความคืบหน้าของเด็กแต่ละคน

ขั้นตอนการทำงานของโรงพยาบาลเริ่มต้นเมื่อผู้ป่วยลงทะเบียนเพื่อรับการรักษาในโรงพยาบาล หากแพทย์ตรวจและสงสัยว่าคนไข้ถูกล่วงละเมิดหรือได้รับการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม คนไข้จะถูกส่งต่อมาขอคำปรึกษาจากนักสังคมสงเคราะห์ โดยทีมงานจะดำเนินการสัมภาษณ์เพื่อประเมินความเสี่ยงและระบุความเร่งด่วนของสถานการณ์ ในกรณีที่ผู้กระทำเป็นสมาชิกในครอบครัว ทีมงานจะต้องประเมินว่าจำเป็นต้องแยกตัวเด็กออกจากครอบครัวโดยทันทีหรือไม่เพื่อความปลอดภัยของเด็กบทบาทหลักของชัญญาในทีมสหวิชาชีพของโรงพยาบาล คือ การแปลงความรู้ทางการแพทย์ให้เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับพ่อแม่หรือผู้ปกครอง ตัวอย่างเช่น หากเด็กถูกปล่อยปละละเลยและไม่ได้เข้าเรียนในโรงเรียน

ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการเรียนรู้และเจริญเติบโตของเด็ก แพทย์อาจให้แนะนำให้ผู้ปกครองพาเด็กสมัครเรียน “หน้าที่ของเรา คือ การโน้มน้าวให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการศึกษาของบุตรหลาน และทำทุกวิถีทางเพื่อช่วยเหลือพวกเขาในการหาทางออก ซึ่งนั่นอาจรวมถึงการช่วยผู้ปกครองปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน เช่น การช่วยกำหนดตารางให้มีเวลาส่งเด็กไปโรงเรียนก่อนผู้ปกครองไปทำงาน”

ในบรรดาประเด็นปัญหาที่พบในปัจจุบัน ชัญญาย้ำว่าการล่วงละเมิดทางเพศเป็นเรื่องที่พบเจอบ่อยที่สุด รองลงมาเป็นการปล่อยปละละเลยซึ่งมักเกิดจากการที่พ่อแม่ขาดความเข้าใจในเรื่องการศึกษาและการดูแลเด็ก ครอบครัวที่ชัญญาทำงานด้วยส่วนใหญ่เป็นครอบครัวที่มีรายได้น้อย ซึ่งพ่อแม่มักมีวุฒิการศึกษาจำกัดและประสบปัญหาในการเลี้ยงชีพ ส่งผลให้เด็กจำนวนมากไม่ได้เข้าเรียนตามเกณฑ์อายุหรือต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเด็กอย่างมีนัยสำคัญ ในแต่ละปีโรงพยาบาลศิริราชมีผู้ป่วยเด็กที่ถูกทารุณกรรมทางเพศและได้รับการเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยมารับการบำบัดรักษาประมาณ 200 ราย

อย่างไรก็ตามชัญญาตั้งข้อสังเกตว่า ปัญหาการทารุณทางร่างกายหรือทางอารมณ์ยังไม่หมดไป แต่มันเป็นเรื่องที่สังคมมักมองข้าม ยกตัวอย่างเช่น เด็กต้องเผชิญกับคำตำหนิติเตียนอยู่ตลอดเวลาหรือถูกข่มขู่ว่าจะไล่ออกจากบ้านซ้ำ ๆ การกระทำเช่นนี้ทำให้เด็กอาจได้รับความบอบช้ำทางจิตใจหรือเกิดเป็นปมอยู่ในใจในระยะยาว

ความท้าทายเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสิ่งที่นักสังคมสงเคราะห์ต้องประสบ ในขณะที่แพทย์ทำการรักษาความเจ็บป่วยทางกายหรือทางจิตของผู้ป่วย นักสังคมสงเคราะห์ต้องจัดการกับบริบททางสังคมรอบ ๆ ตัวเด็ก ซึ่งรวมถึงความสัมพันธ์ของเด็กกับคนอื่น ๆ และสภาพแวดล้อมรอบตัว ผลลัพธ์ในอุดมคติของนักสังคมสงเคราะห์คือการช่วยให้เด็กแต่ละคนกลับคืนสู่ครอบครัวและสภาพแวดล้อมที่เอาใจใส่ แต่หลายครั้งที่นักสังคมสงเคราะห์ไม่สามารถส่งเด็กกลับคืนสู่ครอบครัวได้ เนื่องจากสภาพความเป็นอยู่หรือสภาพอารมณ์ของคนรอบตัวไม่ปลอดภัยสำหรับเด็ก นักสังคมสงเคราะห์จึงมีหน้าที่จัดหาสถานเลี้ยงดูทดแทนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเด็ก

ชัญญารู้สึกสะเทือนใจกับคำถามที่ว่า “ทำไมฉันไม่เจอนักสังคมสงเคราะห์แบบคุณตอนที่ฉันถูกพ่อแม่รังแก?” จากผู้ปกครองคนหนึ่งที่ทำร้ายลูกตัวเอง ซึ่งตัวผู้ปกครองเองก็เคยถูกผู้ปกครองทารุณมาก่อนเมื่อครั้งเป็นเด็ก “ฉันหวังแค่ว่าเด็ก ๆ จะไม่ต้องทนกับสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายเหล่านี้อีก” ชัญญากล่าว และย้ำว่า หากปริมาณและคุณภาพของนักสังคมสงเคราะห์เพิ่มมากขึ้น เด็กในสังคมเราที่ต้องทนกับสถานการณ์ที่เลวร้ายเช่นนี้จะลดน้อยลง 

ตลอดระยะเวลา 9 ปีในโรงพยาบาล ชัญญาได้ช่วยเหลือเด็กจำนวนมากให้ได้กลับไปอยู่กับครอบครัวที่ปลอดภัยหรือจัดให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใส่ใจดูแลเด็กมากขึ้น แต่ถึงอย่างนั้นเธอไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นนางฟ้า “บางเคสเราก็ไม่ประสบความสำเร็จ แต่อย่างน้อยเด็กหลายคนก็มีชีวิตที่ดีขึ้น ถึงแม้บางครอบครัวอาจจะดูแลเด็กได้ต่ำกว่ามาตรฐานที่ยอมรับกันทั่วไป แต่เด็กแต่ละคนมีท่วงทำนองของการพัฒนาช้าเร็วที่แตกต่างกัน แม้จะเป็นการพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ก็ถือว่านั่นคือการพัฒนาเช่นกัน”

มูฮัมหมัด ราฟิก ข่าน หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองเด็ก องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย เน้นย้ำถึงปัญหาการขาดแคลนนักสังคมสงเคราะห์ในประเทศ ทั้งที่ปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอย่างน่าตกใจ ผลการศึกษาของยูนิเซฟ พ.ศ. 2565 พบว่า 1 ใน 7 ของวัยรุ่นอายุ 10-19 ปี และ 1 ใน 14 ของเด็กอายุ 5-9 ปีในประเทศไทยมีปัญหาสุขภาพจิต อย่างไรก็ตาม ปริมาณของนักสังคมสงเคราะห์ในประเทศไทยนั้นมีน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งประเทศ ทำให้ภาระความรับผิดชอบของนักสังคมสงเคราะห์หนึ่งคนนั้นห่างไกลจากอัตราส่วนที่เหมาะสม โดยอัตราส่วนที่นักสังคมสงเคราะห์ 1 คนควรรับผิดชอบประชากรเด็กอยู่ที่ 2,000 คน ทั้งนี้อัตราส่วนที่ห่างกันลิบลับทำให้การตอบสนองความต้องการของเด็กนั้นเป็นไปได้ยาก

“ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาบริการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพและจัดสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงดูเด็กที่เหมาะสมเพื่อให้มั่นใจว่าเด็กจะสามารถเติบโตอย่างเต็มศักยภาพและมีอนาคตที่สดใส” กล่าวสรุป

 

เรื่องโดย สิรินยา วัฒนสุขชัย

ภาพประกอบโดย ศุภลักษณ์ พุฒเพ็ง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า