SHARE

คัดลอกแล้ว

เปิด 3 สาเหตุ ‘กลิ่นไหม้’ ทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ ขณะที่เช้านี้ ตรวจวัด ค่าฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 25 พื้นที่

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศ กรุงเทพมหานคร (กทม.) รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกทม. ประจำวันที่ 21 มี.ค. 67 เวลา 7.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ตรวจวัดได้ 26.8-58.1 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่า เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 25 พื้นที่

สูงสุด 3 อันดับแรก คือ

1.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 58.1 มคก./ลบ.ม.

2. เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 57.8 มคก./ลบ.ม.

3.เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 57.1 มคก./ลบ.ม.

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์สภาพอากาศในพื้นที่ กทม. มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ขณะที่ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่นPM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 21-27 มี.ค. 67 การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี สภาวะอากาศใกล้ผิวพื้นมีลักษณะเปิดสลับปิด และมีโอกาสเกิดฝนตกช่วงวันที่ 20-21 มี.ค. 67 ส่งผลให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มทรงตัวถึงลดลง และคาดการณ์วันนี้มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่

พรพรหม ณ.ส. วิกิติเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าฯ กทม. และผู้บริหารด้านความยั่งยืน กทม. ได้ชี้แจง 3 สาเหตุ กลิ่นไหม้ ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของกรุงเทพฯ เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 20 มี.ค. 67

1. ทิศทางลมวันที่ 20 เป็นทิศตะวันออก ซึ่งต่างจากวันอื่นๆ ช่วงนี้ที่มาจากอ่าวไทย ส่วนจุดเผาในช่วง 24 ชม. ที่ผ่านมาพบที่ปริมณฑลหลายจุด

2. ระยะนี้สภาพอากาศแปรปรวน มีพายุฤดูร้อน ประกอบกับมีความกดอากาศสูงผ่านทางอีสานมาเมื่อวาน ส่งผลให้ความสูงของชั้นบรรยากาศผสม (Mixing Height) ลดต่ำลง ฝุ่นละอองเกิดการสะสมตัวเพิ่มมากขึ้น

3. ความชื้นในบรรยากาศ ทำให้เกิดฝุ่นละออง PM2.5 ทุติยภูมิ (Secondary PM2.5) เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะชนิดที่เกิดจากพวกสารประกอบไนโตรเจนและแอมโมเนีย จะเกิดปฏิกิริยาได้ดีในสภาวะที่มีความชื้นสูง

 

 

กทม.เผย 4 สาเหตุค่าฝุ่นจิ๋วพุ่งกลางดึกทั่วกรุง

ผู้บริหารด้านความยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร ให้คำตอบถึงสาเหตุของค่าฝุ่น PM2.5 ที่กลับมาพุ่งสูงใน กทม.

1. ทิศทางลมวันที่ 20 มี.ค. 67 เป็นทิศตะวันออก (ตามภาพ) ซึ่งต่างจากวันอื่น ๆ ช่วงนี้ที่มาจากอ่าวไทย ส่วนจุดเผาในช่วง 24 ชม. ที่ผ่านมาพบที่ปริมณฑลหลายจุด

2. ระยะนี้สภาพอากาศแปรปรวน มีพายุฤดูร้อน ประกอบกับมีความกดอากาศสูงผ่านทางอีสานมาเมื่อวาน ส่งผลให้ความสูงของชั้นบรรยากาศผสม (Mixing Height) ลดต่ำลง ฝุ่นละอองเกิดการสะสมตัวเพิ่มมากขึ้น

3. ความชื้นในบรรยากาศทำให้เกิดฝุ่นละออง PM2.5 ทุติยภูมิ (Secondary PM2.5) เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะชนิดที่เกิดจากสารประกอบไนโตรเจนและแอมโมเนียจะเกิดปฏิกิริยาได้ดีในสภาวะที่มีความชื้นสูง

4. รูปแบบฝุ่นทุติยภูมิ (Secondary PM2.5) เกิดจากก๊าซบางชนิดที่ลอยอยู่ในอากาศ เช่น ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ทำปฏิกิริยากับแสงแดด กลายเป็นฝุ่นลอยอยู่ในอากาศ มักเกิดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม

ทั้งนี้ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีกำมะถัน เช่น การเผาไหม้ถ่านหินหรือน้ำมัน ในโรงไฟฟ้า โรงถลุงโลหะ และโรงกลั่นน้ำมัน ส่วนออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงภายใต้แรงดันอากาศที่สูง ทำให้เกิดการรวมตัวกันของออกชิเจนและไนโตรเจนเป็นไนตริคออกไซด์ (NO) ซึ่งเป็นก๊าซที่ไม่เป็นอันตราย แต่เมื่อขึ้นสู่บรรยากาศ NO จะถูกออกซิไดซ์ เป็นก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ซึ่งมีสีเหลืองอมน้ำตาล เป็นสารพิษที่ระคายเคืองตา แหล่งกำเนิดหลักของออกไซด์ของไนโตรเจน เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในรถยนต์ การเผาไหม้ถ่านหินหรือก๊าซธรรมชาติ หรือกระบวนการอุตสาหกรรมในโรงงานผลิตปุ๋ยและวัตถุระเบิด

อย่างไรก็ตาม ประชาชนควรตรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน โดยสามารถตรวจสอบได้ทางแอปพลิเคชัน AirBKK / เว็บไซต์ www.airbkk.com เฟซบุ๊ก สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร, กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพมหานคร หรือ LINE ALERT

โดยหากคุณภาพอากาศอยู่ในระดับสีส้ม ซึ่งหมายถึงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ประชาชนทั่วไป ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก และควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ส่วนประชาชนกลุ่มเสี่ยง ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า