SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังจากประกาศผลการดำเนินการในปีที่ผ่านมา สร้างรายได้ 2 หมื่นล้าน พลิกกำไรแล้ว 78 ล้านบาท พร่อมระบุเป้าหมายสร้างการเติบโตในปี 2567 ทาง ‘ไปรษณีย์ไทย’ ก็ยังพูดถึง ‘ความไม่ยุติธรรม’ ที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทยด้วย

[ ผู้ซื้อ-ผู้ขาย ควรมีสิทธิเลือกขนส่ง ]

‘ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์’ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เล่าว่า ‘ไปรษณีย์ไทย’ มีลูกค้าที่ขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ แต่ยังต้องการขนส่งสินค้าผ่านไปรษณีย์ไทย แต่ปัญหาคืออีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์มไม่ยอม

“คนที่ควรเลือกขนส่ง คือ ‘คนขาย’ หรือ ‘คนซื้อ’ เพราะขนส่งจะทำหน้าที่บริการดูแลผู้ขายและผู้ซื้อ แต่ตอนนี้อีคอมเมิร์ซเป็นผู้กำหนดทั้งหมด”

กรรมการผู้จัดการใหญ่ของไปรษณีย์ไทย อธิบายว่า ผู้ให้บริการขนส่งได้รับการปฏิบัติแบบไม่เท่าเทียมกัน

โดยในช่วงที่ผ่านมา ปริมาณการขนส่งสินค้าของไปรษณีย์ไทยในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซลดลงทั้งสองเจ้า โดยเจ้าหนึ่งลดลงไปแล้วกว่า 50%

พร้อมระบุว่า เข้าใจเรื่องที่ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซต้องทำกำไรจากแพลตฟอร์มของตัวเอง แต่ผู้ซื้อและผู้ขายควรมีสิทธิเลือกขนส่งที่ตัวเองต้องการ

[ เรียกร้อง ‘กำกับดูแล’ อีคอมเมิร์ซ-โลจิสติกส์ ]

สิ่งที่ไปรษณีย์ไทยคิดว่าจำเป็นต้องเข้ามา คือ ‘การกำกับดูแล’ (Regulator) เข้ามากำหนดกติกาการแข่งขันหรือให้บริการ เพราะตอนนี้ไม่มีใครกำกับดูแลอีคอมเมิร์ซ ทำให้อีคอมเมิร์ซสามารถบังคับผู้ค้าและผู้ซื้อให้ใช้ขนส่งตามที่กำหนด โดยเฉพาะขนส่งของอีคอมเมิร์ซเอง

นอกจากนั้น อีคอมเมิร์ซยังเก็บส่วนต่างค่าส่งจากลูกค้า เพิ่มเติมจากค่าส่งที่ผู้ให้บริการขนส่งกำหนดไป รวมถึงกำหนด KPI หลายอย่างที่ยากจะทำได้หรืออาจไม่เป็นธรรมต่อผู้ให้บริการขนส่ง อาทิ กำหนดให้สามารถรีเทิร์นกี่ครั้งก็ได้

ยังไม่นับรวมถึงประเด็นผู้ให้บริการขนส่งที่มีปัญหาสินค้าล้นคลัง หรือสินค้าตกค้าง ที่เนื่องจากไม่มีผู้กำกับดูแลปัญหาตรงนี้ทำให้ไม่มีการกำหนดโทษ จึงเกิดปัญหาเดิมซ้ำอยู่บ่อยๆ

ที่สำคัญ คือ “แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซไม่มีไทยเลยทั้งหมด เรากำลังปล่อยให้ประเทศเราถูกควบคุมด้วยต่างชาติ” เพราะอีคอมเมิร์ซเป็นพื้นที่ดิจิทัลที่เชื่อมต่อกับพื้นที่นอกโลกดิจิทัล

โดยผู้บริหารไปรษณีย์ไทยระบุชัดเจนว่า “เราไม่ต้องการสิทธิพิเศษ อยากให้ทรีทเราแบบแฟร์ๆ”

ดังนั้น จึงอยากให้มีผู้กำกับดูแลคุ้มครองผู้บริโภค กำหนดกติกาในการแข่งขันหรือให้บริการ

[ อยู่ระหว่างการเจรจา ต่อรองกับแพลตฟอร์ม ]

สิ่งที่ไปรษณีย์ไทยทำไปแล้วตอนนี้ คือ พูดคุยกับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเพื่อหาทางออก และมองว่า ตลาดขนส่งโลจิสติกส์จะเจอกับสถานการณ์หนักหน่วง ถ้าไม่มีผู้กำกับดูแลเข้ามาคุ้มครองผู้บริโภค

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารยืนยันว่า ยังมีลูกค้ารอไปรษณีย์ไทยอยู่ที่แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า