SHARE

คัดลอกแล้ว

ฮ่องกง นอกจากจะเป็นแหล่งช็อปปิงที่คนไทยนิยมชมชอบแล้ว รู้หรือไม่ว่า ฮ่องกงยังเป็นอีกหนึ่งเขตเศรษฐกิจพิเศษที่น่าเข้าไปทำธุรกิจ โดยในปี 2565 ฮ่องกงมีมูลค่าการค้ากับไทยสูงถึง 7 แสนล้านบาท

วันนี้ TODAY Bizview มีโอกาสพูดคุยกับ ‘แอลฟ่า เลา’ (Alpha LAU) อธิบดีสำนักงานส่งเสริมการลงทุนฮ่องกง หรือ InvestHK ที่จะมาเล่าเกี่ยวกับโอกาสของธุรกิจทั้ง 2 ประเทศ และพันธกิจในการพาเหล่าผู้ประกอบการไทยเข้าไปทำธุรกิจที่ฮ่องกง

เท้าความก่อนว่า InvestHK เป็นหน่วยงานของรัฐบาลฮ่องกง มีหน้าที่ดูแลบริษัทต่างชาติที่สนใจเข้ามาทำธุรกิจในฮ่องกง ผ่านบริการที่ปรึกษา บริการช่วยเหลือในการเชื่อมโยงธุรกิจต่างชาติเข้ากับหน่วยงานภาครัฐต่างๆ รวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจในฮ่องกง

ตัวอย่างของธุรกิจไทยที่เพิ่งขยายไปฮ่องกง เช่น บิ๊กซี (Big C) อาฟเตอร์ ยู (After You) รวมถึง ‘เชฟเอียน-พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย’ ที่เพิ่งไปเปิดร้านอาหารสไตล์ไฟน์ไดนิ่งที่ฮ่องกง จะเห็นได้ว่า InvestHK ให้การสนับสนุนทั้งบริษัทขนาดใหญ่และบริษัทขนาดเล็ก

[ เขตการค้าเสรี-ยกเว้นภาษีให้ธุรกิจ ]

สำหรับฮ่องกง แม้เป็นส่วนหนึ่งของจีนก็จริง แต่มีความแตกต่างกันในหลายๆ ด้าน เช่น ระบบกฎหมายที่ใช้ระบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณี (Common Law System) ซึ่งเป็นระบบเดิมที่อังกฤษได้สร้างเอาไว้ในยุคครอบครองเป็นอาณานิคม

นอกจากนี้ ฮ่องกงยังเป็นพื้นที่การค้าเสรี (Free Trade) ทั้งการซื้อขายสินค้าและบริการ โดยไม่ได้มีการควบคุมทั้งสินค้า เงินทุน และผู้คน ส่งผลให้ฮ่องกงเติบโตเป็นศูนย์กลางการค้าที่ผู้คนรู้จัก

อีกจุดเด่น คือ การยกเว้นภาษี กล่าวคือ ฮ่องกงแทบไม่มีการจัดเก็บภาษี ขณะที่ภาษีนิติบุคคลก็อยู่ในระดับต่ำที่ 8.25-16.50% เท่านั้น ส่วนภาษีอื่นๆ เช่น ภาษีการค้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีนำเข้า ฯลฯ ยกเว้นสุรา (ไม่รวมไวน์) และบุหรี่

ทั้งนี้ ฮ่องกงเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีความเป็นสากลค่อนข้างมาก โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการสื่อสาร ดังนั้น การทำธุรกิจจึงเป็นไปได้อย่างง่ายดาย

ทั้งหมดนี้ ส่งผลให้ฮ่องกงเป็นพื้นที่ๆ ดีที่จะขยายธุรกิจไปสู่จีน ในทางกลับกัน จีนเองก็ใช้ฮ่องกงเป็นสปริงบอร์ดในการขยายธุรกิจไปยังประเทศอื่นๆ เช่น ไทย เป็นต้น

[ ปีที่ผ่านมาค้าขายกันไป 7 แสนล้าน ]

ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างฮ่องกงและไทย คนฮ่องกงค่อนข้างคุ้นเคยและชอบประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรม อาหาร และอุตสาหกรรม

โดยการค้าระหว่างไทยและฮ่องกงในปี 2566 หรือแค่เพียง 1 ปีหลังจากโคยวิด-19 มีมูลค่าสูงถึง 1.92 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 7 แสนล้านบาท) และยังเติบโต 1.6% ในช่วงวิกฤตโควิด-19 อีกด้วย

นอกจากนี้ ฮ่องกงยังเป็นสะพานไปสู่จีน โดยการค้าที่ผ่านฮ่องกงระหว่างไทยไปจีน คาดว่าจะมีมูลค่าอยู่ที่ 1.23 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 4.5 แสนล้านบาท) จะเห็นได้ว่า มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับฮ่องกงนั้นค่อนข้างสูง

สำหรับการลงทุนในฮ่องกง ในปี 2566 บริษัทต่างชาติที่เข้าไปจัดตั้งบริษัทในฮ่องกง พบว่า มีบริษัทเข้ามาจดทะเบียนมากถึง 412 บริษัท เติบโต 28% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (2565)

ส่วนในปีนี้ (2567) คาดว่าจะมีจำนวนบริษัทเข้ามาจดทะเบียนมากขึ้น จากโครงการเส้นทางสายไหมทางบกและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 หรือโครงการ Belt and Road Initiative (BRI)

[ กลุ่มทุนใหญ่แห่เข้าไปทำธุรกิจ ]

โดยอาเซียนถือเป็นภูมิภาคที่เห็นการเติบโตค่อนข้างมาก และเป็นภูมิภาคที่ฮ่องกงให้ความสำคัญ โดยเฉพาะประเทศไทย ที่เป็นประเทศแรกที่ InvestHK ตัดสินใจเข้ามาเยี่ยมเยียน

สำหรับประเทศไทย อุตสาหกรรมที่น่าสนใจและโดดเด่น ได้แก่ การท่องเที่ยว การนำเข้า-ส่งออก การบริโภค สะท้อนจากบริษัทที่เข้ามาจดทะเบียนในฮ่องกงที่ส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่ทำเกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออก ค้าปลีก และไฟแนนซ์

ในปีก่อน (2566) Big C ค้าปลีกรายใหญ่ของไทย ก็ได้ตัดสินใจขยายตลาดในฮ่องกงผ่านการเปิดร้านค้าทั้งหมด 29 ร้านค้า โดยมีนโยบายและแผนที่จะเปิดถึง 99 ร้านค้าในเกาะฮ่องกง ก่อนจะใช้ฮ่องกงเป็นสะพานเปิดตลาดไปจีนด้วยเช่นกัน

ขณะที่บริษัทขนาดใหญ่จากไทยยรายอื่นๆ ที่เข้ามาจดทะเบียนในฮ่องกง เช่น กลุ่มซีพี (CP Group) รวมถึงบริษัทที่ทำเกี่ยวกับสปา โดยคาดว่าอุตสาหกรรมที่น่าจะขยายตลาดไปฮ่องกงได้ดี คือ แฟชั่น และครีเอทีฟ ซึ่งเป็นจุดแข็งของคนไทย

[ จัดตั้งบริษัทเสร็จภายใน 1 ชั่วโมง ]

สำหรับอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มขยายตลาดไปยังฮ่องกงได้ดี คือ แบรนด์ที่อยู่ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industries) อาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage) รวมถึงแฟชั่น ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า รองเท้า และอัญมณีสีต่างๆ ซึ่งมีการนำเข้าในระดับที่สูงมาก (280 ล้านเหรียญ หรือราว 1 หมื่นล้านบาท)

อีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีที่ฮ่องกง คือ เทคโนโลยี โดยเป็นเทคโนโลยีที่นำไปประยุกต์ใช้กับทุกๆ อุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีอาหาร (Food Tech) เทคโนโลยีอสังหาริมทรัพย์ (Property Tech) และเทคโนโลยีศิลปะ (Art Tech) รวมถึงเว็บ 3.0 (Web 3.0) และนวัตกรรมต่างๆ

ในส่วนของประเทศไทย พบว่ามีสตาร์ทอัพที่ทำธุรกิจที่ให้บริการหรือสินค้าที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีค่อนข้างมาก ซึ่งสตาร์ทอัพไทยเองก็ได้แสดงความประสงค์กับทาง InvestHK เพราะอยากจะขยายตลาดไปยังฮ่องกงด้วย

นอกจากนี้ การเข้ามาในฮ่องกงยังเป็นโอกาสในการหาเงินทุนอีกด้วย จากที่ฮ่องกงมีนักลงทุนค่อนข้างเยอะ ไม่เฉพาะนักลงทุนสัญชาติฮ่องกงเท่านั้น แต่เป็นนักลงทุนที่มาจากทั่วทุกมุมโลก รวมถึงนักลงทุนจากจีนแผ่นดินใหญ่ด้วย

อีกหนึ่งโอกาสสำหรับสตาร์ทอัพในการขยายตลาดไปยังฮ่องกง คือ การจัดตั้งบริษัททำได้ค่อนข้างง่าย สามารถจัดตั้งได้ภายใน 1 ชั่วโมง ซึ่งเป็นนโยบายสนับสนุนสตาร์ทอัพของรัฐบาลฮ่องกง

[ สารพัดอิเวนต์ดึงดูดเม็ดเงินลงทุน ]

ภายหลังโควิด-19 ฮ่องกงก็มีหลายกิจกรรมที่น่าสนใจมาก โดยก่อนเปิดให้เดินทางได้ 100% เริ่มเห็นเทรนด์คนเดินทางเข้าฮ่องกงสูงถึง 34 ล้านราย ทั้งที่ไฟลท์บินยังไม่เปิดเต็มที่ ส่วนหนึ่งเพราะฮ่องกงมีการจัดกิจกรรมและเอกซ์โปหลายอย่าง

โดยในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา เพิ่งจัดสัมมนาและกิจกรรมเกี่ยวกับศิลปะ การกีฬา และวัฒนธรรมไป เช่น ComplexCon ซึ่งเป็นที่นิยมมากสำหรับคนสมัยใหม่ One Earth Summit ที่เน้นเรื่องของความยั่งยืน Global Investors Symposium 2024 โดย Milken Institute และ Rugby Sevens ฯลฯ

ในเดือน ก.ย.จะเป็นการจัดงานแฟชั่น โดยเป็นการโชว์แบรนด์แฟชั่นของฮ่องกง เอเชีย และยุโรป เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งเชื่อว่าจะได้รับความสนใจจากแบรนด์ไทยด้วยเช่นกัน

ในเดือน ต.ค. จะมีการจัด Hong Kong FinTech Week ซึ่งจัดทุกปี และ StartmeupHK Festival ซึ่งเป็นงานสัมมนาเกี่ยวกับสตาร์ทอัพ เชื่อว่าจะช่วยดึงดูดสตาร์ทอัพเข้ามา

ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า ฮ่องกงเป็นศูนย์รวมและสะพานในการขยับตลาดไปยังประเทศจีนและเวทีโลก โดย InvestHK พร้อมให้บริการด้วยออฟฟิศทั่วโลก รวมถึงกรุงเทพฯ ที่พร้อมช่วยเหลือธุรกิจไทยโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

ตัวเลขล่าสุดในปี 2565 แม้ยังมีการระบาดของโควิด-19. พบว่า การลงทุนจากไทยไปฮ่องกง ในส่วนของหุ้นอยู่ที่ 1.8 หมื่นล้านเหรียญ (ราว 6.6 แสนล้านบาท) กระแสเงินลงทุน (Fund Flow) อยู่ที่ 3.6 พันล้านเหรียญ (ราว 1.3 แสนล้านบาท)

ในส่วนของฮ่องกงมาที่ไทย ในส่วนของหุ้นอยู่ที่ 8.8 พันล้านเหรียญ (ราว 3.2 แสนล้านบาท) Fund Flow อยู่ที่ 300 ล้านเหรียญ (ราว 1.1 หมื่นล้านบาท)

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า