SHARE

คัดลอกแล้ว

เศรษฐกิจโลกในอดีตเคยเผชิญกับสถานการณ์เงินเฟ้อสูงรุนแรง (Hyperinflation) มาแล้วทั้งหมด 5 ครั้งด้วยกัน ซึ่ง Hyperinflation คือสถานการณ์ที่อัตราเงินเฟ้อสูงมากกว่า 50% ต่อเดือน

ซึ่งการที่เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างรุนแรง ส่งผลทำให้สกุลเงินถดถอยลงอย่างรวดเร็ว นำไปสู่ความซบเซาทางเศรษฐกิจ และความผันผวนของราคาสินค้าและบริการ

ในรอบนี้ TODAY Bizview พาย้อนดูเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับเงินเฟ้อในอดีตว่าอะไรที่เป็นสาเหตุและเงินเฟ้อจะสามารถพุ่งขึ้นไปได้สูงขนาดไหนกัน

1.ประเทศกรีซ ปี 2487 โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงนั้นอัตราเงินเฟ้อรายเดือนในกรีซพุ่งสูงถึง 13,800% หรืออธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นคือราคาสินค้าและบริการจะแพงขึ้นเป็น 2 เท่าในทุกๆ 4.3 วัน

2.ประเทศเยอรมนี ปี 2466 หลายคนเชื่อว่าภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรงของสาธารณรัฐไวมาร์เป็นผลโดยตรงจากรัฐบาลที่พิมพ์เงินเพื่อจ่ายค่าชดเชยสงครามในขณะนั้น อัตราเงินเฟ้อรายเดือนสูงสุด 29,500% หรือราคาเพิ่มขึ้นสองเท่าทุกๆ 3.7 วัน

3.ประเทศยูโกสลาเวีย ปี 2537 สาเหตุของภาวะเงินเฟ้อรุนแรงในยูโกสลาเวียเกิดจากความขัดแย้งทางภูมิภาค วิกฤตเศรษฐกิจในท้องถิ่น และการจัดการที่ผิดพลาดของรัฐบาล โดยอัตราเงินเฟ้อรายเดือนสูงสุด 313,000,000% หรือราคาเพิ่มขึ้นสองเท่าทุกๆ 1.4 วัน

4.ประเทศซิมบับเว ปี 2551 มีจุดเริ่มต้นจากการที่ผู้นำประเทศมีนโยบายจัดสรรที่ดินใหม่ โดยใช้วิธียึดที่ดินจากชาวนาเชื้อสายยุโรป เพื่อมอบเป็นกรรมสิทธิแก่ประชาชนเชื้อสายซิมบับเวียน อัตราเงินเฟ้อรายเดือนสูงสุด 79,600,000,000% หรือราคาเพิ่มขึ้นสองเท่าทุกๆ 24.7 ชั่วโมง

5.ประเทศฮังการี ปี 2489 เกิดขึ้นมาจากการที่สถานะทางการเงินของฮังการีส่อแววอ่อนแอลงเรื่อยๆ โดยในขณะนั้นอัตราเงินเฟ้อรายเดือนในฮังการีพุ่งสูงสุด 13,600,000,000,000,000% หรือราคาเพิ่มขึ้นสองเท่าทุกๆ 15.6 ชั่วโมง

แน่นอนว่าหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจนทำให้เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นหลายหมื่นล้านเปอร์เซ็นเช่นนั้น จำเป็นต้องใช้เวลาแก้ไขและฟื้นฟูเศรษฐกิจจนกว่าเงินเฟ้อจะกลับมาสู่จุดสมดุลได้

กลายเป็นบทเรียนสำคัญให้คนในรุ่นหลังทั้งรัฐบาลและธนาคารกลางเรียนรู้ถึงวิธีการป้องกันและแก้ไขจากเหตุการณ์ในอดีต และเมื่อไม่นานมานี้ในปี 2563 ทั่วโลกต้องพบเจอกับบทเรียนครั้งใหญ่อีกครั้ง

หลังสถานการณ์โควิด-19 หลายๆ ประเทศมีเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง โดยมีสาเหตุจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานจนกำลังการผลิตลดลง และผลกระทบจากนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางที่อาจจะตัดสินใจผิดในการอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจ รวมถึงภาวะสงครามด้วย

แต่ปัจจุบันในประเทศร่ำรวยส่วนใหญ่ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานประจำปี ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานที่ผันผวน ได้ลดลงจากจุดสูงสุดที่ 5-8% เหลือเพียง 3-5% และเศรษฐกิจก็ไม่ได้ถดถอยอย่างที่หลายคนกังวล อัตราการว่างงานก็อยู่ในระดับต่ำ

นับว่าเป็นความโชคดีที่เศรษฐกิจโลกรอดปลอดภัยโดยไม่สูญเสียสิ่งใด แต่ความจริงแล้วอัตราเงินเฟ้อที่สูงในครั้งนี้ทำให้เกิดแผลเป็นขึ้นบนเศรษฐกิจ

เพราะแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวลดลงมาแล้วแต่ปัญหาของธนาคารกลางก็ยังไม่จบสิ้น เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังคงยืนอยู่สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด

โดยเฉพาะในสหรัฐฯ การทำให้เงินเฟ้อลดลงมาเหลือ 2% ตามเป้าหมายของธนาคารกลางก็อาจจะไม่สามารถทำได้หรือเป็นไปได้ค่อนข้างยากในอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน

นอกจากนี้ การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในอนาคตดูค่อนข้างกระจัดกระจายมากขึ้น ซึ่งหมายความว่าผู้คนจำนวนมากสงสัยว่าอัตราเงินเฟ้อจะบรรลุเป้าหมายได้หรือไม่

กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ขณะนี้อัตราเงินเฟ้อที่สูงไม่ได้เป็นเรื่องที่ห่างไกลพวกเราอีกต่อไป นั่นทำให้ความน่าเชื่อถือของธนาคารกลางจึงดูเปราะบางลงเรื่อยๆ

ที่สำคัญความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ สงครามการค้า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความชื่นชอบของรัฐบาลต่อมาตรการกระตุ้นทางการคลัง ล้วนทำให้อัตราเงินเฟ้อมีความผันผวนมากกว่าในช่วงอดีต

เหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกต้องใช้ความระมัดระวังและรอบคอบมากขึ้นในการตัดสินใจปรับอัตราดอกเบี้ย เพื่อลดความผันผวนและไม่ให้เงินเฟ้อต้องกลายเป็นต้นเหตุของร่องรอยบาดแผลบนเศรษฐกิจอีกครั้ง

ที่มา : cnbceconomist

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า