SHARE

คัดลอกแล้ว

‘อียิปต์’ ประเทศที่มีอารยธรรมเก่าแก่ มีเรื่องราวประวัติศาสตร์นานนับ 5,000 ปี ในอดีตอียิปต์มีความเจริญด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์  เรขาคณิต ในระดับที่สามารถคำนวณการสร้างพีรามิด และวิหาร ไปจนถึงคิดค้นระบบการนับเลข  คำนวณค่าบวกลบคูณหาร หาพื้นที่และปริมาตร  และยังคิดค้นปฎิทินทางสุริยคติด้วย

จากหลักฐานประวัติศาสตร์อันรุ่งโรจน์ในอดีต เวลาผ่านมานับพันปี ปัจจุบันประเทศแห่งนี้เพิ่งฟื้นจาก ‘วิกฤตเศรษฐกิจ’ ที่เกือบ ‘ล้มละลาย’ ได้ไม่นาน

แล้วเรื่องราวนี้เป็นอย่างไร เกิดอะไรขึ้นกับเศรษฐกิจอียิปต์ในปัจจุบัน? TODAY Bizview รวบรวมไว้ให้แล้วผ่านบทความนี้

[ ‘อียิปต์’ ดินแดนทะเลทรายพื้นที่มากกว่า ‘ไทย’ เท่าตัว ]

เรามารู้จักภาพรวมของอียิปต์กันก่อน 

‘อียิปต์’ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ‘สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์’ มีระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ตัวเลขเติบโตของ GDP ปี 2024 อยู่ที่ 3.6% มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวราว 3,548 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็น 130,103 บาท ใช้สกุลเงินหลักคือ ‘ปอนด์อียิปต์’ 

ประเทศแห่งนี้มีจำนวนประชากร 106 ล้านคน ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงและทะเลทรายกว้างใหญ่ มีแม่น้ำไนล์เป็นแม่น้ำสายหลัก อาณาบริเวณของประเทศ 1,001,450 ตร.กม. มีขนาดพื้นที่มากกว่า ‘ไทย’ เท่าตัว

โดยอียิปต์มีทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถแปรรูปไปใช้ในการส่งออกหลักได้คือ ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ แร่เหล็ก และมีผลผลิตการเกษตรที่สำคัญคือ ฝ้าย ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี ถั่ว

[ ขาดดุลการค้า หนี้สาธารณะล้น นำมาสู่วิกฤตเศรษฐกิจเรื้อรัง ]

หนึ่งในต้นตอสำคัญที่ทำให้อียิปต์ต้องเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจมาตลอดหลายปี คือ ‘ขาดดุลการค้าระหว่างประเทศ’ ด้วยจำนวนเงินราวๆ 32,380 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 1.1ล้านล้านบาท

ย้อนกลับไปในปี 2554 ประธานาธิบดีกลุ่มอิสลามิสต์ ‘โมฮาเหม็ด มูร์ซี’ และรัฐบาลอียิปต์พยายามดิ้นรนหาเงินชดเชยจำนวนมหาศาลให้กับการนำเข้า ‘ข้าวสาลี’ เหตุที่เป็นเช่นนี้อ้างอิงจากภูมิประเทศที่มีแต่ทะเลทรายแล้ว จะพบว่าวัตถุดิบและอาหารหลายชนิดจำเป็นต้องพึ่งพิงการนำเข้าสินค้า

จึงไม่แปลกเลยที่ค่าใช้จ่ายการนำเข้าสินค้าหลายประเภทจะทำให้อียิปต์ขาดดุลการค้า 

ประกอบกับในช่วงเวลานั้นรัฐบาลก็ต้องการหาเงินมาใช้ในภาคส่วนอื่นๆ ด้วยเช่นกัน อาทิ เงินอุดหนุน และเงินเดือนของภาครัฐ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก่อให้เกิด ‘หนี้สาธารณะ’ จำนวนมหาศาลขึ้น

โดย 2 ปีถัดมาประธานาธิบดีอับเดล-ฟัตตาห์ เอล-ซีซีขึ้นสู่อำนาจแทน นโยบายของเขาพยายามที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเปิดตัวโครงการสาธารณะมากมายเพื่อสร้างการบริหารใหม่

หนึ่งในนั้น คือ การขยายคลองสุเอซที่เป็นเส้นทางหลักในการขนส่งน้ำมัน แต่โครงการเหล่านี้สร้างรายได้ผลตอบแทนให้ประเทศไม่เท่าไหร่นัก ขณะที่ช่วงเวลานั้นเงินงบประมาณที่ใช้หมุนเวียนบริหารประเทศส่วนใหญ่ก็มาจากการกู้ยืม ยิ่งทำให้อียิปต์เกิดหนี้สาธารณะมากขึ้นไปอีก 

ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลอียิปต์ต้องเผชิญกับการจ่ายหนี้สาธารณะ อย่างในปี 2566 ที่รายได้ของรัฐบาลเกือบครึ่งหนึ่งถูกใช้ไปกับการจ่ายดอกเบี้ยในก้อนหนี้สาธารณะ ซึ่งปริมาณดอกเบี้ยของหนี้ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามอัตราดอกเบี้ยทั่วโลก ประกอบกับผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนทำให้นักลงทุนพากันถอนเงินออกจากอียิปต์ราวๆ 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 7.3 แสนล้านบาท 

[ ค่าเงินกำลังถูกลดบทบาท IMF จะควบคุมการใช้เงินของรัฐบาลอียิปต์ ]

นอกจากเรื่องขาดดุลการค้า และหนี้สาธารณะล้นแล้ว อียิปต์ยังเผชิญเรื่องของ ‘ค่าเงินถูกลดบทบาท’ 

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าอียิปต์ใช้สกุลเงินหลักคือ ‘ปอนด์อียิปต์’ 

โดยในปี 2565 ภาคเอกชนและการทหารของอียิปต์มีการทำงานที่ไม่ลงตัวกัน เพราะฝั่งภาคเอกชนมองว่าการทหารของอียิปต์มีการทำงานที่ไม่เป็นธรรม ไม่โปร่งใส ซึ่งในตอนนั้นการทหารของอียิปต์ได้เข้ามามีบทบาทในเศรษฐกิจมากขึ้น มีแนวทางที่สร้างข้อจำกัดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ 

รวมทั้งไม่เอื้อต่อนโยบายของภาคเอกชนในการส่งออกน้ำมันและก๊าซที่เป็นอุตสาหกรรมหลักของอียิปต์ 

ทำให้รายได้เข้าประเทศน้อยลง และเม็ดเงินจากนักลงทุนต่างชาติก็ลดน้อยลง เงินทุนต่างชาติที่มีอยู่ค่อยๆ ไหลออกจากประเทศ อัตราเงินเฟ้อรุนแรงขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินอียิปต์ถูกเทขายและอ่อนลงเรื่อยๆ ค่าเงิน ณ ตอนนั้นตกลงราวๆ -63% ภายในระยะเวลาเพียง 6 ปีเท่านั้น (นับตั้งแต่ปี 2559 -2565)

สถานการณ์เช่นนี้ ทำให้ผู้คนในประเทศต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากรัฐบาล ซึ่งตอนนั้นนักลงทุนต่างชาติสัมผัสได้ถึงความเสี่ยงและหนี้สินที่จะเพิ่มขึ้นภายในประเทศ ทำให้นักลงทุนต่างชาติค่อยๆ ไหลออกจากประเทศและค่าเงินก็ค่อยๆ อ่อนลงซ้ำเติมสถานการณ์ตามไปด้วย 

เพื่อแก้ปัญหาเรื่องค่าเงิน ทำให้กองทุนระหว่างประเทศ (IMF) เข้ามามีบทบาทในอียิปต์มากขึ้น โดยในอดีตอียิปต์มีอัตราการแลกเปลี่ยนที่คุมเข้ม ไม่ได้เป็นอัตราการแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ทำให้ IMF ได้เข้ามาเปลี่ยนระบบอัตราการแลกเปลี่ยนของอียิปต์ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เป็นในรูปแบบอัตราการแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว พร้อมกับเสนอเงินให้กู้ยืมราว 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.09 แสนล้านบาท โดยใช้วิธีทยอยให้จนครบ 46 เดือน หรือปี 2572 

เมื่อ IMF เข้ามามีบทบาทและเป็นนายทุนให้กู้ยืม ทำให้ในสายตานักลงทุนต่างชาติมองว่าอียิปต์เหมือนจะกำลังฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ต่อมาสหภาพยุโรป และธนาคารโลก ได้ให้รัฐบาลอียิปต์กู้เงินเพิ่มอีก 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 5.1 แสนล้านบาท 

สถานการณ์ปัจจุบันนี้ IMF มีบทบาทในอียิปต์มาก โดย ได้เข้ามาควบคุมการใช้จ่ายของรัฐบาลอียิปต์ และส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าให้ภาคเอกชนมีบทบาทมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจ 

เส้นทางวิกฤตของอียิปต์จนถึงตอนนี้มีหนี้สาธารณะคิดเป็น 88.1% ต่อ GDP และค่าเงินตกลงมา -35.20% จากเดือนมีนาคมปีก่อนหน้า (ปี 2566)  

จากนี้ต้องติดตามว่ากการเข้ามามีบทบาทของ IMF จะช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจอียิปต์ไปในทิศทางใดต่อไป แต่ที่แน่ๆ ด้วยปริมาณหนี้สาธารณะที่มีอยู่ของอียิปต์ขณะนี้ยังต้องอยู่บนเส้นทางขวากหนามทางการเงินของประเทศต่อไป

ที่มา 

https://www.bloomberg.com/news/articles/2024-03-21/egypt-s-currency-crisis-egp-usd-is-over-what-s-next?srnd=economics-v2&sref=LQZclhPm

https://www.imf.org/external/datamapper/profile/EGY

https://kids.nationalgeographic.com/history/article/ancient-egypt

https://www.imf.org/en/Countries/EGY/Egypt-qandas

https://www.egypttoday.com/Article/3/126314/Egypt%E2%80%99s-economy-and-IMF-agreement-amid-exchange-rate-uncertainty

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า