Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราอาจเคยได้เห็นการเคลื่อนไหวของหลายๆ ธุรกิจ เกี่ยวกับการร่วมแก้วิกฤตโลกเดือด โดยมุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้กลายเป็น ‘ศูนย์’ จนมีคำว่า ‘Net Zero’ ปรากฎขึ้นบนสื่อสาธารณะอย่างแพร่หลาย

หนึ่งในองค์กรที่ยึดเอา การสร้างสังคมคาร์บอนต่ำเป็นภารกิจสำคัญ คือ เอสซีจี หรือกลุ่มบริษัทชั้นนำด้านนวัตกรรม ที่มีหลากหลายนวัตกรรมกรีนรอบตัว เช่น นวัตกรรมปูนคาร์บอนต่ำ สมาร์ทโซลูชันเพื่อการอยู่อาศัย พลาสติกรักษ์โลก บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน พลังงานสะอาดครบวงจร โดยเดินหน้าภายใต้ความมุ่งมั่น Inclusive Green Growth เพื่อร่วมสร้างสังคมคาร์บอนต่ำที่ทุกคนเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

เอสซีจี ยังใช้โอกาสนี้ จัดงาน SCG The Possibilities for Inclusive Green Growth เมื่อพฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา เพื่อจัดแสดงนวัตกรรมซึ่งผ่านการออกแบบ ทดลอง และต่อยอดไอเดียตอบโจทย์ลูกค้า สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยชวนทั้งพนักงาน พาร์ตเนอร์ ภาครัฐ ธุรกิจและคนรุ่นใหม่ ให้เข้ามามีส่วนร่วมปลดปล่อยไอเดียแก้วิกฤตโลกเดือดไปพร้อมกัน 

[นับถอยหลังสู่ ‘สังคมคาร์บอนต่ำ’ หลากหลายความท้าทายที่ต้องพิชิต]

ภายในงาน ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวถึงภารกิจใหญ่ของเอสซีจี รวมถึงความท้าทายในการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำไว้ว่า “เป้าหมายใหญ่ของเอสซีจี คือ การเปลี่ยนแปลงธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างและที่อยู่อาศัย เคมิคอลส์ และแพคเกจจิ้ง ให้ไปสู่ Low Carbon, Carbon Neutrality และ Net Zero ภายในปี 2050 ในท้ายที่สุด”

นับเป็นภารกิจใหญ่ ที่ต้องใช้เวลาถึง 26 ปีในการทำให้สำเร็จ แน่นอนว่าตลอดเส้นทางการทำธุรกิจต่อจากนี้ของเอสซีจี ย่อมต้องมีอุปสรรคและความท้าทายอีกหลายด่านกว่าจะไปถึงสังคมคาร์บอนต่ำ โดยกรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เผยถึงความท้าทายที่เห็นได้ชัด ว่ามีหลักใหญ่ๆ อยู่ 3 ข้อ ได้แก่

      1. ความท้าทายด้านเทคโนโลยี นับจากนี้เอสซีจีจำเป็นต้องมุ่งแสวงหาเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงเปลี่ยนผ่านสัดส่วนพลังงานที่ใช้ในภาคการผลิตให้เป็นพลังงานสะอาดมากขึ้น ธรรมศักดิ์เผยว่า ปีที่ผ่านมาเอสซีจีสามารถลดการใช้พลังงานฟอสซิลลงได้ถึง 40% ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่มหาศาล เป้าหมายต่อไป เอสซีจีจะพยายามลดการใช้พลังงานฟอสซิล ให้ได้ถึง 50% ทั้งยังตั้งใจนำเทคโนโลยีมาใช้เปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต เช่น การทำปูนซีเมนต์แบบใหม่ คาร์บอนน้อยกว่าเดิม พลาสติกแบบใหม่ที่ทำจากวัตถุดิบที่เป็นพืชผลการเกษตร
      2. ความท้าทายด้าน Market และ Customer แน่นอนว่านอกจากภาคธุรกิจจะปรับตัว ปรับกระบวนการผลิตให้คาร์บอนต่ำ ผู้บริโภค และลูกค้าคือส่วนสำคัญที่ต้องชวนมีส่วนร่วม เอสซีจีจึงต้องพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการ มีฟังก์ชันใหม่ ๆ ที่ช่วยให้การใช้ชีวิตแบบรักษ์โลก พ่วงด้วยความสะดวกสบาย ปลอดภัย น่าใช้ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ผู้คนหันมาใช้นวัตกรรมกรีนมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหลังคาโซลาร์ ที่ไม่ได้มีดีแค่ช่วยประหยัดค่าไฟ แต่ยังช่วยให้บ้านมีดีไซน์สวยงาม หรือแม้แต่บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใหม่ที่สามารถรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น
      3. ความท้าทายด้านกฎเกณฑ์ ในที่นี้ก็หมายถึงกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นพ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือมาตรการระดับโลกอย่าง CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) และ ISSB (International Sustainability Standards Board) ซึ่งภาคธุรกิจเองก็จำเป็นต้องตื่นตัวและพร้อมปรับตัวตามอยู่เสมอ

ทั้ง 3 สิ่งนี้ คือ ความท้าทาย ที่ ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี มองว่าต้องพิชิตให้ได้ และหัวใจหลักของการรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ จะขาดสิ่งสำคัญอย่าง “คน” ไปไม่ได้เลย

[พลังคน และ โอกาส]

เมื่อมองไปที่เทคโนโลยี นวัตกรรม กลยุทธ์การตลาด ภายใต้นวัตกรรมและไอเดียต่างๆ ย่อมมีคนอยู่เบื้องหลัง  การสร้าง ‘องค์กรแห่งโอกาส’ (Organization of Possibilities) เพื่อเปิดเวทีที่ฉายแสงให้เหล่าคนมี passion ได้แสดงพลังความคิดสร้างสรรค์ และออกแบบนวัตกรรมที่ตอบโจทย์โลกและสังคมจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยโอกาสที่เอสจีซีมอบให้ ได้แก่

โอกาสเปลี่ยนไอเดียเป็นนวัตกรรม

การเปิดพื้นที่เรียนรู้สู่เป็นผู้ประกอบการ ในโครงการ ‘ZERO TO ONE by SCG’ นอกจากจะให้ทั้งความรู้ ความเข้าใจลูกค้า วิธีแก้ปัญหา เมื่อต้องรับมือกับความผิดพลาดและอุปสรรคต่างๆ ยังสนับสนุนการนำเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้ในการพัฒนาธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น Design Thinking, Generative AI, Data Analytics ฯลฯ 

ปัจจุบันโครงการนี้มีผู้เข้าร่วมกว่า 800 คน และมีสตาร์ตอัปในโครงการกว่า 100 บริษัท เช่น ‘Dezpax’ แพลตฟอร์มออนไลน์แพคเกจจิ้งครบวงจร สำหรับธุรกิจร้านอาหาร ฟู้ดเดลิเวอรี่ และคาเฟ่รายแรกในไทย หรือ ‘Wake Up Waste’ แพลตฟอร์มรับซื้อขยะ ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการให้ความรู้เกี่ยวกับการแยกขยะ รวมถึงมีบริการรถบีบอัดขยะ ที่สามารถย่อขนาดขยะลงได้ 5-10 เท่า ทั้งช่วยประหยัดพื้นที่ในการขนส่ง และนำขยะไปสู่กระบวนการจัดเก็บที่มีประสิทธิภาพ ลดการเผาไหม้ ฝังกลบ

นอกจากนี้ ยังเปิดเวที ‘SCG Young Talent Program’ บ่มเพาะนวัตกรรุ่นใหม่จากนักศึกษามหาวิทยาลัยทุกชั้นปี ทุกสาขา ผ่านการทำงานกับเอสซีจีเป็นเวลา 13 สัปดาห์ เพื่อสร้างนวัตกรรมดิจิทัล ที่ตอบเทรนด์อนาคต โครงการนี้มีคนรุ่นใหม่เข้าร่วมแล้วกว่า 850 คน

โอกาสพัฒนานวัตกรรมระดับโลก

เอสซีจีร่วมวิจัยในสถาบันชั้นนำของโลกหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาพลาสติก ‘Norner AS’ ประเทศนอร์เวย์ และ ‘มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด’ ประเทศอังกฤษ ในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน ทั้งยังร่วมมือกับ ‘Rondo Energy’ สตาร์ตอัปชั้นนำจากอเมริกา เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีอย่าง แบตเตอรี่กักเก็บความร้อนจากพลังงานสะอาด หากไอเดียของทุกคนสามารถดึงเอาเทคโนโลยีล้ำสมัยเหล่านี้ มาเป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรมตัวเองได้ ย่อมหมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่อาจเปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำของประเทศได้เลย

โอกาสในการร่วมมือกับทุกภาคส่วน

เพราะสิ่งที่เอสซีจีตั้งใจสร้างคือพื้นที่ในการร่วมมือ ไม่ใช่เพียงระหว่างกลุ่มธุรกิจและพาร์ตเนอร์ แต่เป็นการร่วมมือกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคธุรกิจ หรือภาคประชาสังคม ยกตัวอย่างโครงการนำร่องอย่าง ‘สระบุรีแซนด์บ็อกซ์’ เมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย แม้จะยังอยู่ในกระบวนการและท้าทายไม่น้อย แต่กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี ก็เน้นย้ำว่า นี่ก็คือโอกาสสำคัญ ที่หลายภาคส่วนได้ทดลองจับมือกัน มองหาทางออกของปัญหาสิ่งแวดล้อมและผลักดันเป้าหมายสังคมคาร์บอนต่ำให้กลายเป็นจริง ภายใต้ความร่วมมือของทุกคน

นอกจากการเน้นย้ำเป้าหมายการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และไปสู่ Net Zero 2050 ของเอสซีจีแล้ว ภายในงาน SCG The Possibilities for Inclusive Green Growth ยังเป็นพื้นที่จัดแสดงนวัตกรรมกรีนจากไอเดียหลากหลาย เพื่อสะท้อนความมุ่งมั่น Inclusive Green Growth ของเอสซีจี ที่เกิดขึ้นจริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็น

      • เอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชัน ที่นำเสนอ ปูนซีเมนต์และคอนกรีตคาร์บอนต่ำ นวัตกรรมใหม่ที่จะมาพลิกโฉมการก่อสร้างและอยู่อาศัยให้กรีนแบบครบวงจร ทั้งแข็งแรง  ได้มาตรฐาน อายุยาวนาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการผลิตที่ปล่อยคาร์บอนน้อยลง แต่คุณภาพไม่ลดลง

      • เอสซีจี สมาร์ทลีฟวิง มาพร้อมกับวัสดุก่อสร้างครบทั้งหลังที่ทั้งสวยงาม ทนทาน และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ได้รับการรับรอง SCG Green Choice และฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ทั้งยังมีเทคโนโลยีบริหารจัดการพลังงานภายในบ้านและอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ
      • เอสซีจี เดคคอร์ กับนวัตกรรมตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ครบวงจร ล่าสุดเปิดตัว ‘COTTO CLAY DECOR COLLECTION’ ดูดซับความร้อนได้ดี ช่วยให้บ้านเย็นแถมประหยัดพลังงาน และ ‘ก๊อกน้ำรุ่น GEO Series’ ที่ใช้นวัตกรรมการผลิตแบบ Non-Foundry Process ดีไซน์ก๊อกน้ำที่ใช้ท่อทองเหลืองมาเป็นส่วนหนึ่งในงานออกแบบ สามารถลดใช้พลังงานในการหลอมขึ้นรูป และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 10%
      • SCGP กับแนวคิดกรีนตั้งแต่จุดเริ่มต้น นำเสนอการพัฒนายูคาลิปตัสเพื่อเป็นวัตถุดิบทดแทน มีการนำเทคโนโลยี Machine Learning และปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาพัฒนากระบวนการผลิต รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการหมุนเวียนใช้กระดาษรีไซเคิลและช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์
      • เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC มุ่งดำเนินธุรกิจด้วยแนวคิด Low Waste, Low Carbon พัฒนานวัตกรรมพลาสติกรักษ์โลก ภายใต้แบรนด์ ‘SCGC GREEN POLYMER™’ โดยขยายกำลังการผลิตพลาสติกรีไซเคิลในยุโรป ได้แก่ ‘ซีพลาสต์’ โปรตุเกส และ ‘คราส’ เนเธอร์แลนด์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการนวัตกรรมกรีนในระดับโลก นอกจากนี้ ยังผนึกกำลังกับ HomePro เปิดตัว ‘เครื่องใช้ไฟฟ้ารักษ์โลก’ นำเครื่องใช้ไฟฟ้าใช้แล้วให้กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นใหม่เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ด้วยระบบ Closed-loop ครบวงจร
      • เอสซีจี คลีนเนอร์ยี่ กับความมุ่งมั่นช่วยภาคอุตสาหกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิจนเป็นศูนย์ ก็มาพร้อมแพลตฟอร์มซื้อขายพลังงานสะอาดอัจฉริยะ ‘Smart Grid’ ที่ช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถเข้าถึงพลังงานแสงอาทิตย์สะดวกยิ่งขึ้น รวมถึงนวัตกรรมพลิกโลกอย่าง ‘แบตเตอรี่กักเก็บพลังงานความร้อนจากพลังงานสะอาด’ ก็ถูกผลักดันให้เกิดการใช้เพื่อทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลทำความร้อนหรือไอน้ำในกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม
      • เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ ปิดท้ายด้วยตัวกลางที่พร้อมเชื่อมต่อสังคมคาร์บอนต่ำ ด้วยบริการด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน อย่าง กลุ่มธุรกิจคลังสินค้าห้องเย็น (Cold Chain Business), รถขนส่งพลังงานไฟฟ้า, ระบบคำนวณเส้นทางอัจฉริยะ (AI Route Optimization), หุ่นยนต์ลำเลียงอัตโนมัติ (AGV & Robotics) ล้วนถูกคิดค้นมาเพื่อเป็นตัวช่วยในการสร้างความยั่งยืน ลดคาร์บอน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจของคู่ค้าและกลุ่มธุรกิจ

การมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำของเอสซีจี ถือเป็นการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ของภาคธุรกิจ แผนการดำเนินการต่างๆ ล้วนถูกกำหนดขึ้นจากความตั้งใจของคนที่มีปณิธานในการผลักดันให้เกิดสังคมที่ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการออกแบบ ทำให้มั่นใจได้ว่าการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำกำลังเกิดขึ้นจริง และการสร้างสังคมที่ผู้คนมีคุณภาพชีวิตดี เศรษฐกิจเติบโต สิ่งแวดล้อมน่าอยู่ ด้วยโอกาสและความร่วมมือของทุกภาคส่วน ก็เป็นอนาคตที่อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมอีกต่อไป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า