SHARE

คัดลอกแล้ว

รู้หรือไม่ เพลงทักครับ-Lipta หรือเพลง Mr.eveything-billkin ที่ดังไวรัล และดังติดหูไปทั่วไทย เป็นเพลงของแบรนด์ต่างๆ ที่ใช้ในการโปรโมทสินค้า

โดยเพลง ทักครับ-Lipta เป็นเพลงที่ใช้โปรโมทแอปพลิเคชัน Bigo live ขณะที่เพลง Mr.Eveything-billkin เป็นเพลงที่ใช้โปรโมทศูนย์ให้บริการรถยนต์ B-Quick

(ภาพในมิวสิควิดีโอ เพลงทักครับ-Lipta)

(ภาพในมิวสิควิดีโอ เพลง Mr.Eveything-billkin)

และทั้ง 2 เพลงเหล่านี้ถูกเรียกว่า ‘Music Marketing’ ยุคใหม่

[ Music Marketing คืออะไร? ]

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับคำว่า Music Marketing กันสักเล็กน้อย

Music Marketing คือ การที่แบรนด์ใช้เสียงเพลงมาทำการตลาดให้ผู้คนรับรู้ถึงแบรนด์มากขึ้น หรือใช้ในการโปรโมทสินค้านั้นๆ มากขึ้น โดยที่เพลงเหล่านั้นสามารถมาทำการตลาดได้ทั้งออฟไลน์ และออนไลน์ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ เช่น เราเดินช็อปปิ้งอยู่ในซุปเปอร์มาร์เก็ตได้ยินเสียงเพลงแลคตาซอย 5 บาท กระตุ้นการรับรู้ และการหยิบสินค้าลงตระกร้าได้มากขึ้น หรือแม้แต่ในโลกออนไลน์ที่เราสามารถได้ยินเพลงหรือคอนเทนต์ของแบรนด์ได้ผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ อยู่ดี

โดยข้อดีหลักๆ ของการใช้เสียงเพลงในการทำตลาดคือ ‘เพลง’ สามารถแทรกซึมชีวิตของกลุ่มผู้บริโภคให้รับรู้ถึงการมีอยู่ของแบรนด์ได้ง่าย และกระจายในกลุ่มผู้บริโภคจำนวนมาก รวมทั้งยังทำให้ผู้บริโภคมีความรู้สึกที่ดีต่อแบรนด์อีกด้วย

TODAY ได้พูดคุยกับ ‘นต getsunova’ ผู้ที่รับบทบาททั้งมือกีต้าร์ และโปรดิวเซอร์เพลงให้กับศิลปินต่างๆ ในมุม ‘Music Marketing’ ยุคใหม่ว่าวันนี้ผู้ฟังเปลี่ยน แบรนด์เปลี่ยน คนทำเพลงก็ต้องเปลี่ยนตามแค่ไหน

[ ไม่ค่อยขายตรงแล้ว แบรนด์เดี๋ยวนี้ต้องการเพลงเนียนๆ ]

‘นต getsunova’ เล่าให้ฟังว่า ในอดีตแบรนด์มักจะเลือกใช้เพลงที่เน้นการขายแบบตรงๆ บอกสรรพคุณครบจบ เช่น แลคตาซอย 5 บาท 125 มิลลิลิตรที่ในหนึ่งท่อนฮุคมีรายละเอียดครบ เน้นทำนองติดหู ให้คนจำ และสามารถร้องตามได้

แต่ปัจจุบันพฤติกรรมผู้ฟังเปลี่ยน บางแบรนด์มีแนวคิดใหม่ๆ ไม่เน้นขาย แต่เน้นทำเพลงแบบที่สามารถแทรกสินค้าเข้าไปได้เนียนๆ เช่น เพลงทักครับ-Lipta ถ้าเราไม่ได้ดู Music Video แบบตั้งใจก็จะไม่รู้ว่าเพลงกำลังโฆษณา

[ คลิปสั้นยอดนิยม ทำเพลงแค่ท่อนฮุก หวังผลให้นำไปเต้นต่อได้ ]

ขณะเดียวกันเทรนด์ของผู้ฟังไม่ได้เปลี่ยนแค่แนวเพลงแล้ว เพราะกลุ่มผู้ฟังส่วนใหญ่สนใจ ‘คลิปสั้น’ มากขึ้น โดยเฉพาะกับบนแอปพลิเคชั่น TikTok ทำให้แต่ละครั้งที่คิดค้นเพลงขึ้นมาจำเป็นจะต้องคิดว่า เพลงนี้จะสามารถไปต่อยอดสร้างคอนเทนต์หรือสร้างชาเลนจ์ใหม่ๆ ให้ผู้คนมาเล่นต่อได้ เช่น เพลง Mr.Eveything-billkin มาพร้อมกับทำนอง และท่าเต้นที่มีคนมาร่วมเล่นเต้นตามกันมากมาย โดยเพลงก็ถูกนำมาใช้โฆษณาศูนย์บริการรถยนต์ครบวงจรอย่าง B-Quick

วันนี้ในบางแบรนด์เริ่มหันมาทำ Music Marketing ที่มีความยาวเพลงสั้นๆ หรือแค่ 1 นาทีเท่านั้น เพราะจะสามารถนำไปต่อยอดคอนเทนต์ได้ง่ายๆ และใช้งบประมาณในการทุ่มทุนไม่สูงเท่าเพลงฉบับเต็ม แต่ก็ยังมีบางแบรนด์ที่เมื่อกระแสเพลงสั้นๆ ดี ก็มาต่อยอดให้กลายเป็นเพลงฉบับเต็มด้วยเช่นกัน

ในเรื่องของต้นทุนในการว่าจ้างให้ทำ Music Marketing ตอนนี้ถูกกว่าสมัยก่อนค่อนข้างเยอะ พร้อมทั้งมีตัวเลือกให้แต่ละแบรนด์ได้ใช้ตามความจำเป็นก็เพียงพอ รวมถึงมีคนเบื้องหลังในการช่วยทำ Music Marketing เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้แบรนด์ไม่จำเป็นจะต้องเสียเงินก้อนใหญ่เหมือนสมัยก่อน เช่นบางแบรนด์ที่เลือกทำแค่เพลงสั้นๆ 1 นาที ก็ใช้งบประมาณไม่ได้เยอะเท่าเพลงเต็ม

[ คนฟังเบื่อง่าย แนวเพลงเร็วมากไปก็ไม่ดี เปลี่ยนมาเป็นเพลงช้าบ้าง ]

‘นต getsunova’ ยังเล่าให้ฟังอีกว่า สำหรับเทรนด์ผู้บริโภคในปัจจุบันทำให้เรื่องของแนวเพลงก็ต้องเปลี่ยนเหมือนกัน เพราะอย่างที่เราเคยได้ยินเพลงโฆษณาส่วนใหญ่มักเป็นทำนองเพลงเร็ว แต่ด้วยความสร้างสรรค์ใหม่ๆ อิงกับพฤติกรรมของคนฟังบางแบรนด์จึงเลือกหยิบเพลงทำนองช้ามาใช้แทนเช่นกัน

โดยเคล็ดลับที่ ‘นต getsunova’ ใช้หลักๆ ในการคิดเพลงโฆษณาให้แต่ละแบรนด์คือ ‘ย้ำคำ’ เช่นการย้ำชื่อแบรนด์นั้นซ้ำๆ ในเพลง อาทิ เพลงโฆษณาน้ำแร่ 6ty° Sixty Degrees ที่เน้นย้ำชื่อแบรนด์ซ้ำๆ จนติดหู

ความต่างในการทำ ‘เพลงโฆษณา’ กับ ‘เพลงที่ทำให้ศิลปิน’ สำหรับ ‘นต getsunova’ มองว่า การทำเพลงโฆษณาค่อนข้างจะเป็นระบบและครีเอทได้เร็วกว่าเพลงที่ทำให้ศิลปินทั่วไป เพราะด้วยเนื้อเพลงที่กำหนดคีย์เวิร์ด และความต้องการต่างๆ มาแล้ว รวมถึงมีไทม์ไลน์ชัดเจน ขณะที่หากทำเพลงให้ศิลปินจะต้องใช้ศิลปะในการทำสูง รวมถึงมีไทม์ไลน์ที่ไม่แน่นอน สามารถขยับไทม์ไลน์ได้เรื่อยๆ

[ Music Marketing ในไทยโตไปได้อีกมาก มีอะไรสนุกอีกเยอะ ]

ทิ้งท้ายบทความด้วยมุมมอง Music Marketing ของประเทศไทยที่ ‘นต getsunova’ มองว่ายังโตได้อีกมาก และยังมีอะไรสนุกๆ อีกเยอะ เพราะด้วยกลุ่มคนทำเบื้องหลังเริ่มมีมากขึ้น แบรนด์ไม่จำเป็นต้องจ่ายในการทำ Music Marketing สูงเท่าสมัยก่อน ทำให้ประเทศไทยยังสามารถสร้าง Music Marketing ใหม่ๆ ให้โตได้อีกมาก

(บทสัมภาษณ์โดย…. อโญศิริ สุระตโก)

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า