SHARE

คัดลอกแล้ว

การมีเซ็กซ์เป็นเรื่องธรรมชาติของคู่รัก แต่การสร้างบรรยากาศให้ดูสมจริงในภาพยนตร์ (หนัง) ซีรีส์ ที่นับวันจะมีฉากเลิฟซีน 18+ ที่เร้าร้อนชนิดถึงเนื้อถึงตัวกันจริงๆ มากขึ้น อาจไม่ได้เป็นเรื่องที่สวยงามราบรื่นเสมอไป

ทำให้ปัจจุบันเกิดอาชีพใหม่ในวงการบันเทิงไทย ที่เรียกว่า ‘Intimacy Coordinator’ ตำแหน่ง ‘ผู้ประสานงานฉากที่มีความใกล้ชิด’ อาชีพที่จะเข้ามาดูแลเรื่องนี้โดยตรง เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งและไม่ให้เกิดปัญหาระหว่างการถ่ายทำฉากโป๊และเซ็กซ์

รายการ Series Society ทางช่องยูทูป TODAY Bizview เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 ได้พูดคุยกับ ครูร่ม-ร่มฉัตร ธนาลาภพิพัฒน์ Acting Coach & Intimacy Coordinator กับการทำงานเป็น Intimacy Coordinator ซีรีส์ไทยเรื่อง ‘ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียว’ ทาง NETFLIX

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักอาชีพ ‘Intimacy Coordinator’ ให้มากขึ้นก่อน

ตามคำนิยามของสมาคมนักแสดงแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ SAG-AFTRA บอกว่า Intimacy Coordinator เป็นผู้ให้การสนับสนุนระหว่างนักแสดงกับฝ่ายผลิต (Production) เป็นโค้ช และ/หรือ เป็นผู้ออกแบบการเคลื่อนไหวที่มีการเปลือย หรือการจำลองฉากร่วมรัก ฉากที่มีความใกล้ชิด และมีการเปิดเผยเนื้อตัวมากๆ เช่น ฉากจูบลึกซึ้ง ฉากร่วมรักที่ไม่ว่าจะมีเสื้อผ้าหรือไม่มีเสื้อผ้ามากั้น ฉากที่มีการเคลื่อนไหวส่อในทางเพศ การเต้นเซ็กซี่ การเปลื้องผ้า ฉากที่มีความรุนแรงทางเพศ

6 ขั้นตอน การทำงานของ ‘Intimacy Coordinator’

1) ก่อนเริ่มการถ่ายทำ ผู้ทำหน้าที่นี้ จะเข้าไปคุยกับผู้กำกับ โปรดิวเซอร์ คนเขียนบท เพื่อทำความเข้าใจภาพที่ต้องการ และตั้งขอบเขตขึ้นมาว่า 1. ฉากนี้ต้องโป๊แค่ไหน เห็นอะไรบ้าง 2. ฉากนั้นนักแสดงต้องทำอะไรบ้าง 3. มีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องอะไรอีกหรือไม่ และ 4. ทำให้แน่ใจว่ามีการสื่อสารกับนักแสดงที่ชัดเจนเกี่ยวกับฉากที่มีความใกล้ชิดเหล่านั้น

2) ขั้นตอนต่อไป Intimacy Coordinator จะต้องเข้าไปคุยกับนักแสดงที่จะเล่นฉากเหล่านั้นตัวต่อตัวก่อนที่จะเริ่มซ้อมและถ่ายทำ เพื่อให้แน่ใจว่านักแสดงยินยอมพร้อมใจที่จะทำในสิ่งที่ผู้กำกับต้องการ ขั้นตอนนี้กรณีวงการบันเทิงไทย จะมีเอกสารข้อตกลงว่าฉากนั้นมีอะไรบ้างมาพูดคุยกันด้วย

3) บันทึกรายละเอียดและข้อตกลงของทั้งสองฝ่ายเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อกรณีที่มีปัญหา จะได้กลับมาเช็กได้ และเป็นแนวทางเพื่อนำไปทำงานต่อกับฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น คุยกับฝ่ายเสื้อผ้าให้หาเสื้อผ้ามาป้องกันนักแสดง หรือหาอุปกรณ์อวัยวะปลอมมาเข้าฉาก ตามรายละเอียดของฉาก

4) ไกล่เกลี่ยและหาทางออก กรณีเมื่อเข้าฉากแล้วนักแสดงรู้สึกไม่ปลอดภัย แม้มีการตกลงกันแล้วก็สามารถแก้ไขได้ โดยยังคงให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงที่ผู้กำกับต้องการ รวมทั้งหากนักแสดงต้องการขยายขอบเขตจากที่ตกลงกันไว้ก่อน ก็สามารถบอกผู้ทำหน้าที่ Intimacy Coordinator ได้ กล่าวคือสามารถเปลี่ยนใจได้

5) นอกจากนี้ในหน้างาน ผู้ทำหน้าที่นี้จะดูแลความเรียบร้อย ประสานงานต่างๆ ให้ฉากที่มีความใกล้ชิดเหล่านี้ผ่านไปได้อย่างราบรื่น โดยในการทำงานจะมีการบันทึกและส่งให้ผู้เกี่ยวข้องด้วย

6) ขั้นตอนสุดท้าย หลังจากงานจบ หลายครั้ง Intimacy Coordinator จะเข้าไปดูในการตัดต่อว่าเป็นไปตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ รวมถึงพานักแสดงมาตรวจงานได้ด้วย

Power Dynamic ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ที่ฝ่ายหนึ่งกุมอำนาจเหนืออีกฝ่าย ทำให้ต้องมีอาชีพ Intimacy Coordinator 

ในที่นี้หมายถึง ‘ผู้กำกับ’ แม้อาจพูดกับนักแสดงว่า “ถ้าไม่สบายใจไม่ต้องทำก็ได้นะ” แต่นักแสดงอาจจะเกรงใจ หรือกลัวว่าถ้าไม่ทำตามที่ต้องการ อาจไม่ได้งานต่อๆ ไป จึงฝืนใจทำ จนเกิด “แผลในใจ” หรือกรณีที่นักแสดงที่ต้องเล่นฉากร่วมรักมีข้อตกลงต่างกัน

เรื่องนี้เป็นปัญหาในวงการบันเทิงมาอย่างยาวนานแล้ว แต่มาพีคในช่วงที่มีการติดแฮชแท็ก #MetooMovement ของนักแสดงฮอลลีวูด หลังมีการแฉเรื่องของ ฮาร์วีย์ ไวน์สตีน (Harvey Weinstein) ที่ใช้อำนาจและตำแหน่งของตัวเองล่วงละเมิดผู้หญิงในวงการบันเทิงมากมาย จนหลังปี ค.ศ. 2018 ได้เกิดอาชีพ Intimacy Coordinator เพื่อปกป้องนักแสดงในการทำงาน กลายเป็นหน้าที่จำเป็นใน Production

กวาดไว้ใต้พรม! ฉากเลิฟซีนอาจสร้างแผลใจให้กับนักแสดงไปชั่วชีวิต

“ในอดีตเราว่ามันเกิดจากความไม่รู้ แล้วก็เข้าใจว่ามันก็เหมือนซีนทั่วๆ ไปแหละ แล้วพอเวลามันเกิดปัญหาขึ้นมา คือปัญหาเรื่องความรู้สึก ที่เห็นชัดเจนและเกิดบ่อยคือเล่นแล้วดูเกร็งๆ เพราะเวลามนุษย์อยู่ในสถานการณ์ไม่ปลอดภัย ร่างกายจะตอบสนองโดยธรรมชาติ ต่อให้สมองเรารู้ว่านี่คือการแสดง แต่ร่างกายเรามันรู้ว่า คนๆ นี้มันเป็นใคร ไม่ใช่แฟนเราที่พัฒนาความสัมพันธ์มาเป็นเดือนเป็นปี จนเรายอมให้เข้าหา แต่ว่านักแสดงก็จะมีสกิลในการผ่อนคลาย แต่บางครั้งจะขาดเคมี หรือบางคนมีความสามารถทำได้แต่พอเล่นเสร็จรู้สึกไม่ดีกับตัวเอง วิ่งกลับไปที่ตัวตนเหมือนถูกบังคับ หลายคนที่เคยพูดให้ฟังคือเหมือนรู้สึกถูกข่มขืนทางอารมณ์” ครูร่ม กล่าว

ไขข้อสงสัยนักแสดงที่เล่นฉากเลิฟซีนเขารู้สึกกันจริง? 

หนึ่งในคำถามที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ที่ดูหนัง ซีรีส์ แล้วรู้สึกอินว่านักแสดงที่เล่นบทคนรักกัน เล่นเลิฟซีนด้วยกัน เขาจะมีความรู้สึกๆ รักชอบกันจริงหรือไม่ ‘ครูร่ม’ อธิบายประเด็นนี้ว่า นักแสดงใช้อารมณ์ของตัวเองในการถ่ายทอดความรู้สึก จะบอกว่าไม่จริงเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว แต่ต้องบอกว่า “จริงที่เป็นแบบนักแสดงหรือเป็นแบบตัวละคร” ถ้าอย่างนักแสดงสตั๊นท์เราก็ไม่ได้คิดว่าเขาเกลียดกันจริงถึงมาเตะต่อยกัน แต่พอถ่ายเป็นซีน Intimacy แล้วคนบางทีเชื่อว่าเขารักกันจริงเขาเลยทำแบบนี้ แต่เรากลับไม่คิดว่าเขาเกลียดกันจริงเลยต่อยกันจริงใช่หรือไม่

Intimacy Coordinator จึงมีหน้าที่ให้ความเข้าใจที่ถูกต้องด้วย เช่น ร่างกายที่ถูกกระตุ้นมันอาจจะตอบสนองไม่ว่าคนเพศเดียวกันหรือต่างเพศ ถ้าไม่ได้ให้ความเข้าใจตรงนี้ก็จะนำไปสู่ความสับสน การไม่เข้าใจแล้วสรุปความมันเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตของนักแสดงแต่ละคน

ทั้งนี้การดราม่าที่เกิดขึ้นหลายครั้ง เกิดจากการไม่มีการเตรียมตัวที่ถูกต้อง อะไรที่เกี่ยวข้องที่ควรรู้ที่จะส่งผลในขณะที่ถ่ายทำซีนนี้ เราต้องให้ความรู้ และตัวนักแสดงเองก็ต้องรู้ว่าเขาก็ต้องดูแลตัวเองเหมือนกัน ย้ำการพูดคุยรายละเอียดต่างๆ นั้นเพื่อป้องกัน ไม่ใช่รักษา

การทำงานอาชีพในไทยแตกต่างกับต่างประเทศ

ครูร่ม เล่าประสบการณ์โดยตรงเปรียบเทียบการทำหน้าที่ Intimacy Coordinator ว่า “คนไทยน่ารักมาก ต้องพูดเลย เขาเป๊ะกันมาก เซฟ ทุกคนค่อนข้างเคารพกัน รู้หน้าที่แล้วก็เวลาที่เราทำประชุม Intimacy Production ทุกคนจด ตรวจสอบให้แน่ใจ ผู้ช่วยทำรายละเอียดดี สุดๆ มันมีช่วยคิดช่วยสื่อสาร รวมทั้งนักแสดงด้วย เวลาเขาเล่นในพื้นที่ปลอดภัย การแสดงจะออกมาเต็มที่ และรู้สึก 100 เปอร์เซนต์ ไม่ได้มีความกังวล แยกสมองเป็นนักแสดง ตัวละคร นักแสดง สามารถที่จะเป็นตัวละครได้ 100 เปอร์เซนต์ แล้วก็รู้สึกว่าไม่ได้ถูกตัดสิน เพราะว่ามีคนดูแลเรื่องความปลอดภัยให้เขาอยู่ เลยรู้สึกว่าตำแหน่งนี้มันจะช่วยทำให้การถ่ายทำซีนประเภทนี้ในวงการบันเทิงบ้านเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น แล้วก็ยกระดับความปลอดภัยได้ดีขึ้นและหวังว่านักแสดงที่ถ่ายทอดซีนประเภทนี้จะเป็นนักแสดงที่มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น หลังจากถ่ายทำเสร็จก็จบ ไม่ได้มีดราม่าต่อสื่อหรือต่อตัวเองในอนาคต”

จิตใจของนักแสดงนั้นมีความสำคัญ พอๆ กับความสวยงามสมจริงของผลงานที่ออกมาสู่สายตาผู้ชม ที่เป็นเป้าหมายของการสร้างมูลค่ากลับไปยังผู้ผลิตผลงานนั่นเอง

ชมคลิปสัมภาษณ์ ร่มฉัตร ธนาลาภพิพัฒน์ ฉบับเต็ม ได้ที่นี่ :

อ้างอิง : 

จำคุก 23 ปี “ฮาร์วีย์ ไวน์สตีน” คดีข่มขืน-ล่วงละเมิดทางเพศ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า