SHARE

คัดลอกแล้ว

ในช่วงสุดสัปดาห์นี้ มีงานใหญ่ที่รัฐบาลเศรษฐาหมายมั่นปั้นมือเป็นหนึ่งในนโยบายหลักของรัฐบาล คือการขับเคลื่อน ‘ซอฟท์พาวเวอร์’ ผ่านงาน ‘THACCA SPLASH : Soft Power Forum 2024’ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ก่อนงานฟอรัมซอฟต์พาวเวอร์ระดับนานาชาตินี้จะเริ่มต้น สำนักข่าวทูเดย์ได้ขอนัดหมายพูดคุยกับ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ

‘หมอเลี้ยบ’ ตกผลึกกับเราว่า ตลอดช่วง 1 ปีที่ผ่านมา การปลุกปั้นซอฟท์พาวเวอร์ของไทย ไม่ต่างจากการสร้างตึก 10-20 ชั้น ที่ผู้สร้างต้องวางฐานรากให้แข็งแรง แม้ว่าหน้าดินในพื้นที่ก่อสร้างจะเป็นหน้าดินแข็ง มีหิน จากระบบราชการ ก็ต้องปรับหน้าดินผ่านการทำความเข้าใจ เพื่อต่อยอดให้ซอฟท์พาวเวอร์กลายเป็นอาคารหลังใหญ่ ที่จะพาประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานปลาง เป็นประเทศรายได้สูง และคนไทยหลุดพ้นจากกับดักความยากจน

ซอฟท์พาวเวอร์แก้จน: แผนขับเคลื่อนประเทศของหมอเลี้ยบ

นพ.สุรพงษ์ยืนยันว่า การพัฒนาซอฟท์พาวเวอร์จะทำให้คนไทยส่วนใหญ่ได้ประโยชน์ แต่จะต้องพยายามส่งเสริมการฝึกอบรมทักษะระดับสูงให้กับคนในทุกๆ ครอบครัว ซึ่งก็เป็นที่มาของนโยบายหนึ่งครอบครัว หนึ่งซอฟท์พาวเวอร์ ‘OFOS – One Family One Soft Power’ ที่ถูกผลักดันมาพร้อมๆ กันตั้งแต่ช่วงหาเสียง

ปัจจุบันประเทศไทยมีประมาณ 20 ล้านครอบครัว แต่ละครอบครัวมีสมาชิกเฉลี่ย 4 คน นพ.สุรพงษ์อธิบายว่า ถ้าต้องการให้ทุกคนหลุดพ้นจากความยากจน จะต้องทำให้แต่ละครอบครัวมีรายได้ 16,000 บาทต่อเดือน หรือตกคนละ 4,000 บาท ซึ่งสูงกว่าเส้นความยากจนแล้ว

ซึ่งถ้าจะทำแบบนั้นได้ รัฐบาลต้องเข้าไปวางรากฐานตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ถึงปลายน้ำทั้งระบบ ไม่ใช่แค่การโฆษณาประชาสัมพันธ์

“สิ่งที่เราจะทําจึงไม่ใช่เป็นเพียงแค่ตีฆ้องร้องป่าว ให้ซอฟท์พาวเวอร์มันกลายเป็นกระแสของสังคม แต่เราจะต้องพยายามวางรากฐานของเรื่องราวทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำ ก็คือ การสร้างคน กลางน้ำ คือ การสร้างอุตสาหกรรม สร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรมทั้งระบบ ที่มีปัญหาเรื่องกฎหมาย เรื่องระบบราชการที่ไม่คล่องตัว ไม่ส่งเสริม เรื่องเกี่ยวกับเงินทุนต่างๆ เหล่านี้จะต้องถูกแก้ไข และปลายน้ำ ก็คือ การสร้างตลาดระดับโลก คือเราจะสร้างคน สร้างอุตสาหกรรม แล้วดูกันเอง กินกันเอง ใช้กันเอง มันก็ไม่สามารถที่จะทําให้เราสามารถสร้างรายได้ได้อย่างเป็นกอบเป็นกํา ฉะนั้นเราต้องสร้างตลาดระดับโลกรุกออกไปสู่ตลาดโลก โดยอาศัยกลไกของการทูตเชิงวัฒนธรรม ผ่านกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงพาณิชย์” นพ.สุรพงษ์ กล่าวกับทูเดย์

ไขก๊อกความท้าทาย: ระบบราชการต้องปรับ ภาคเอกชนต้องร่วม

นพ.สุรพงษ์รีวิวการทำงานในช่วงเกือบ 1 ปีที่ผ่านมาให้ทูเดย์ฟังว่า ภารกิจนี้เหมือนกับการสร้างตึก ที่ช่วงยากที่สุดคืการทำฐานราก ที่กว่าจะขุด หล่อเสาขึ้นมาได้ต้องใช้เวลา แต่ถ้าฐานรากแข็งแรงแล้ว การต่ออาคารขึ้นเป็นหลายสิบชั้นก็จะรวดเร็ว

คำถามคืออะไรเป็นความท้าทายของการสร้างตึก ‘ซอฟท์พาวเวอร์’?

หมอเลี้ยบอธิบายว่า เราอาจต้องมองให้เห็นว่าหน้าดินที่ใช้สร้างอาจเป็นดินแข็งหรือมีหิน จนส่งผลให้การวางฐานรากลำบาก ซึ่งก็คือการต้องพยายามทำความเข้าใจกับระบบราชการและข้าราชการ ที่มาช่วยทำงานนี้ด้วยความตั้งใจเหมือนกัน

“อะไรก็ตามที่มันอยู่อย่างนี้มา 9 ปีเต็มๆ นะครับ ตัวฟันเฟืองต่างๆ สนิมมันก็ขึ้นไปหมด เพราะฉะนั้นก็ค่อยๆ เคาะสนิมกัน แล้วก็ค่อยขับเคลื่อนเดินหน้ากันไป”

คุณหมอกางงบประมาณให้ทูเดย์ให้เห็นว่า ในปีงบประมาณ 2565-2566 ถ้าไปเจาะคีย์เวิร์ดการใช้งบประมาณด้วยคำว่า ‘เศรษฐกิจสร้างสรรค์’ ทุกหน่วยงานราชการใช้งบประมาณอยู่ที่ 5,000-6,000 ล้านบาท แต่เป็นการใช้งบประมาณอย่างกระจัดกระจาย ไม่มีการทำงานหรือบูรณาการร่วมกัน ซึ่งก็นำไปสู่การแก้ปัญหาด้วยการวางกรอบแนวคิดเพื่อปฏิรูประบบงบประมาณตามมา

ขณะเดียวกัน การผลักดันซอฟท์พาวเวอร์จำเป็นต้องดึงให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมให้ได้มากที่สุด เพื่อให้เอกชนเป็นกำลังหลักขับเคลื่อน และภาครัฐเป็นผู้อำนวยความสะดวก

ซอฟท์พาวเวอร์: งานง่ายที่ยาก กับงานยากที่ง่าย

ในทางการเมืองเป็นที่รับทราบกันว่า นพ.สุรพงษ์เป็นตัวละครที่มีบทบาททางการเมืองตั้งแต่วัยหนุ่ม จนกระทั่งเป็นนักการเมืองที่อยู่เบื้องหลังโครงการสำคัญทั้ง 30 บาทรักษาทุกโรค และการไปเป็นรัฐมนตรีไอซีทีคนแรก ซึ่งปัจจุบันคือกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ยังไม่รวมถึงบทบาททางการเมืองที่มีมิติหลากหลายมาตลอด

เราขอให้หมอเลี้ยบช่วยเปรียบเทียบงานการเมืองในอดีต กับงานการเมืองซอฟท์พาวเวอร์ ซึ่งเป็นบทบาทปัจจุบัน คุณหมอยอมรับว่างานซอฟท์พาวเวอร์มีทั้งส่วนง่ายและส่วนยาก

ส่วนที่ง่ายคือความพร้อมของเอกชนที่ในตอนนี้มีอยู่แล้ว 11 อุตสาหกรรม และอาจเติบโตเพิ่มเติมอีก แต่ความยากกลับไปที่ภาครัฐที่ไม่ได้อยู่ในสภาพพร้อมผลักดันอุตสาหกรรมซอฟท์พาวเวอร์

นพ.สุรพงษ์เล่าให้ทูเดย์ฟังว่า องคาพยพของภาครัฐตอนนี้มีขนาดใหญ่มาก การจะขยับอะไรก็ตามต้องประสานงานหลายกระทรวง โดยในกรรมการยุทธศาสตร์ฯ มีอยู่ 7-8 กระทรวง มีหน่วยงานราชการอย่างน้อย 40 หน่วยงาน ถือเป็นการบูรณาการครั้งใหญ่

“ถ้าเปรียบเทียบตอนที่ไปเป็นเจ้ากระทรวง ICT อันนั้นผมยังทําแค่ไม่กี่กรม แล้วก็มีแค่ TOT มี CAT มี ไปรษณีย์ไทย แม้แต่ตอนทํา 30 บาทรักษาทุกโรค ก็เป็นการบริหารจัดการภายในกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับหน่วยงานอื่นบางส่วน ก็จะเกี่ยวข้องเฉพาะบริบทเรื่องเกี่ยวกับสาธารณสุข แต่วันนี้สิ่งที่เราทําซอฟท์พาวเวอร์ บริบทมันเยอะมาก เกี่ยวข้องกับหน่วยงานราชการเยอะมาก นี่การเป็นการขับเคลื่อนครั้งใหญ่ และเรากําลังขับเคลื่อนซอฟท์พาวเวอร์เพื่อที่จะเปลี่ยนประเทศ ให้กลายเป็นประเทศที่มีรายได้สูง เพื่อให้คนไทยพ้นความยากจน” นพ.สุรพงษ์ กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า