Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ปี 2023 ที่ผ่าน ‘Pew Research Center’ สำนักวิจัยชื่อดังในสหรัฐอเมริกาเปิดเผยผลสำรวจที่น่าสนใจเกี่ยวกับกลุ่มมนุษย์ออฟฟิศ โดยระบุว่า เกินกว่า 50% ของคนทำงานในสหรัฐไม่กล้าใช้วันลาตามที่บริษัทกำหนด เพราะมีงานที่ต้องทำอีกจำนวนมาก

บ้างก็กังวลว่าจะทำให้งานเสร็จล่าช้ากว่าเดิม ทั้งยังไม่กล้าไหว้วานให้เพื่อนร่วมงานช่วยเหลือระหว่างลาพักผ่อน ทำให้การใช้วันลาเป็นเรื่องต้องห้ามสำหรับพวกเขาไปโดยปริยาย

แม้ว่าคนรุ่นใหม่ทั้งในไทยและทั่วโลกโดยส่วนใหญ่จะยึดถือแนวคิด ‘Work-Life Balance’ เพื่อไม่ให้ชีวิตมีแต่เรื่องงานมากจนเกินไป ทว่า ในทางจิตวิทยาแล้ว ‘Tony Schwartz’ และ ‘Eric Severson’ นักเขียนชาวอเมริกัน และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคลกลับให้ความเห็นไว้อย่างน่าสนใจว่า

แท้จริงแล้วมนุษย์ชอบที่จะตกอยู่ในห้วงความรู้สึก ‘Too busy’ หรือยุ่งมากเกินไป หากเทียบกับความรู้สึกว่างเปล่าหรือต้องอยู่เฉยๆ เพราะทำให้ตัวเองมีคุณค่ามากกว่า และยังเป็นเครื่องพิสูจน์ความคุ้มค่าในสายตาผู้อื่นด้วย

[ งานช่วยคลายเหงา แต่ถ้ามากเกินไปก็ไม่ต่างอะไรกับ ‘สารเสพติด’ ]

บทความจากเว็บไซต์ ‘Harvard Business Review’ ระบุว่า ความรู้สึกทุ่มเทให้กับการทำงานช่วยลดความวิตกกังวล เติมเต็มความรู้สึกที่เว้าแหว่งจากความเหงาและความเศร้าได้จริง

เพราะบางครั้งความว่างเปล่าก็มักเกิดขึ้นตอนที่เรามีเวลาว่างมากเกินไป โฟกัสกับงานตรงหน้าจึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญที่จะเข้ามาอุดรอยรั่วดังกล่าวได้

แต่ทุกอย่างก็ต้องมี ‘ความพอดี’ หรือที่ผู้เชี่ยวชาญใช้คำเปรียบเปรยว่า ‘ราวกั้น’ หากทำงานมากเกินไป จนเข้าข่าย ‘Workaholic’ ก็อาจสร้างผลกระทบเชิงลบในระยะยาวได้ ‘Bryan Robinson’ นักจิตวิทยาและผู้เขียนหนังสือ Chained to the Desk ให้นิยามคำว่า ‘Workaholism’ ไว้ว่า

เป็นความผิดปรกติที่แสดงออกผ่านการบังคับตัวเอง ทำให้บุคคลไม่สามารถควบคุมนิสัยการทำงาน ปล่อยให้ตัวเองอยู่กับงานมากเกินไป นานวันเข้าคนกลุ่มนี้จะเริ่มยกเว้นกิจกรรมอื่นๆ ในชีวิตออกไป ไม่ว่าจะเป็นการช้อปปิ้ง กินดื่มเที่ยว เล่นอินเทอร์เน็ต ฯลฯ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับงานกลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม ไม่เพียงแต่เราจะค่อยๆ ถอยห่างออกจากความรื่นรมย์ที่เคยมี แต่ชิ้นงานที่ขบคิดติดต่อกันยาวนานหลายชั่วโมงก็ไม่เกิดประสิทธิภาพด้วย

เนื่องจากอัตราความเหนื่อยล้าที่สูงขึ้นจึงยากที่จะซึมซับและมีส่วนร่วมกับงานได้เต็มที่ และหากมีพฤติกรรมเช่นนี้ติดต่อกันนานเกินไปอาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ด้วย

งานศึกษาจากองค์การอนามัยโลก หรือ ‘WHO’ ในปี 2021 พบว่า การทำงานติดต่อกันนานเกินกว่า 55 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือราวๆ 11 ชั่วโมงต่อวัน (นับเฉพาะวันจันทร์ถึงศุกร์)

สัมพันธ์กับอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดในสมองที่สูงขึ้น 35% และมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจที่สูงขึ้นถึง 17% เมื่อเทียบกับคนทำงาน 35-40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์แล้ว ทำให้กลุ่มหลังมีโอกาสเสี่ยงน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ

‘Tony Schwartz’ และ ‘Eric Severson’ ให้ความเห็นว่า สิ่งที่ทำให้การบ้างานแตกต่างจากการเสพติดในรูปแบบอื่นๆ เพราะ Workaholic มีแรงขับเคลื่อนจากเงินและการยอมรับทางสังคมเป็นที่ตั้ง หลายคนยังทำงานหนักต่อไปเพราะขาดสิ่งเหล่านี้ พวกเขาได้ยกชีวิตตัวเองในวัยสร้างตัวเป็นกรณีศึกษา

โดย ‘Eric’ ใช้เวลาไปกับ 12 ชั่วโมงต่อวันไปกับการทำงาน ตัดกิจกรรมเพื่อความบันเทิงอื่นๆ ออกไปจากชีวิตทั้งหมด และท้ายที่สุดแล้ว ‘Eric’ ก็ต้องพาตัวเองไปพบกับนักจิตบำบัดเป็นครั้งแรก จากนั้นจึงค่อยๆ เริ่มทำกิจกรรมอื่นๆ อย่างการนั่งสมาธิ หรืออ่านหนังสือวรรณกรรมที่ชื่นชอบ

ปัจจุบัน ‘Eric’ ดำรงตำแหน่ง CPO หรือ Chief People Officer ที่ Neiman Marcus Group เขาเลือกใช้เกณฑ์วัดผลการทำงานในเชิงผลลัพธ์แทนจำนวนชั่วโมงการทำงานเหมือนในอดีต ทำให้บริษัทเป็นพื้นที่ที่ให้คุณค่ากับการทำงานด้วยการพิจารณาชิ้นงานที่เป็นรูปธรรม มากกว่ายึดถือจาก KPI แบบดั้งเดิมที่ขาดความยืดหยุ่น

[ มนุษย์ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ ทำงานติดต่อกันเกิน 90 นาทีไม่ได้ ]

ในเมื่อการทำงานหนักไม่ได้ช่วยให้งานออกมาดีขึ้น เราจะเปลี่ยนตัวเองอย่างไร? อันดับแรก ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า จะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ต้องยอมรับตัวเองก่อน ถามตัวเองด้วยคำถามสั้นๆ ง่ายๆ เพื่อเป็นการรีเฟล็กต์ว่า

หลังจากทำงานหนักติดต่อกันหลายชั่วโมงยังมีสมาธิอยู่หรือไม่ ตอนนี้เหนื่อยแค่ไหน มีผลกระทบต่ออารมณ์ของคุณอย่างไรบ้าง จงสงสัยใคร่รู้ในเรื่องราวของตัวเองเข้าไว้ เพื่อที่จะได้รับมือและปรับพฤติกรรมได้ทันท่วงที

หลังจากตระหนักรู้แล้ว คำแนะนำที่ดูจะเป็นเรื่องพื้นฐานมากๆ แต่กลับมีผลโดยตรงกับร่างกายและจิตใจอย่างมหาศาล คือการนอนหลับและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ศิลปะของการนอนหลับให้ดี ให้อิ่ม คือ

ต้องจัดลำดับความสำคัญเพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่อย่างน้อย 7 ชั่วโมงต่อวัน ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ วันละ 20-30 นาที ทั้งสองส่วนเป็นคีย์สำคัญที่จะทำให้คนทำงานหลุดพ้นจากความเหนื่อยล้าในแต่ละวัน

ที่สำคัญไปกว่านั้น คือจับสังเกตร่างกายของตัวเองอยู่เสมอ มนุษย์ไม่ได้ถูกออกแบบให้ทำงานได้ต่อเนื่องหลายชั่วโมงเหมือนคอมพิวเตอร์ ‘90 นาที’ คือตัวเลขที่พอเหมาะพอดีสำหรับการทำงาน

ลุกขึ้นยืดเส้นยืดสาย หันไปผ่อนคลายสักพักแล้วค่อยกลับมาลุยต่อ โปรดอย่านิ่งนอนใจและเพิกเฉยกับสัญญาณที่ร่างกายสื่อสารออกมา เพราะนั่นอาจทำให้ทุกอย่างสายเกินแก้ก็ได้ 

สุดท้าย อนุญาตให้ตัวเองได้ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบตามเวลาที่กำหนดในแต่ละสัปดาห์ดูบ้าง ไม่ใช่แค่ชั่วโมงการทำงานที่ต้องเข้มงวด แต่ชั่วโมงการพักผ่อนก็สำคัญไม่แพ้กัน ถ้าพลังกาย พลังใจถูกเติมเต็มครบถ้วน เราก็มีแรงไปทำตามความฝันต่อได้ 

ที่มา:

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า