SHARE

คัดลอกแล้ว

 ก.มหาดไทย เตรียมประกาศ ยกเว้นวีซ่า 60 วัน เพิ่มเป็น 93 ประเทศ/ดินแดน เริ่ม 15 ก.ค. นี้ หนุนไทยแข่งดึงนักท่องเที่ยวทั่วโลก

วันที่ 12 กรกฎาคม 2567 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและโฆษกกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่มุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ซึ่งต้องดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงการอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทาง (Ease of Travelling)

กระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการออกประกาศกระทรวงมหาดไทย 4 ฉบับ เพื่อปรับปรุงมาตรการการตรวจลงตรา ให้เป็นปัจจุบันสอดคล้องกับสถานการณ์ที่ทั่วโลกมุ่งแข่งขันดึงดูดนักท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้และกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ

“นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้พิจารณาและลงนามประกาศทั้ง 4 ฉบับแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนนำเสนอให้นายกรัฐมนตรีลงนาม จากนั้นจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาและทุกฉบับมีผลบังคับพร้อมกันตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป” นางสาวไตรศุลี กล่าว

โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงรายละเอียดของประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้ง 4 ฉบับ ดังนี้

1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศและดินแดนที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยว ทำงานหรือการติดต่อธุรกิจระยะสั้น ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกิน หกสิบวัน เป็นกรณีพิเศษ มีสาระสำคัญ เป็นการกำหนดรายชื่อประเทศ/ดินแดนที่ได้รับสิทธิยกเว้นการตรวจลงตรา (ยกเว้นวีซ่า หรือ วีซ่าฟรี) สามารถพำนักในประเทศไทยได้ไม่เกิน 60 วัน (ผ.60) เพื่อการท่องเที่ยว การติดต่อธุรกิจและการทำงานระยะสั้น จำนวน 93 ประเทศ/ดินแดน เพิ่มเติมจากเดิมที่มีอยู่ 57 ประเทศ/ดินแดน

2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือ เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจะขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง มีสาระสำคัญ เป็นการปรับปรุงรายชื่อประเทศที่ได้รับสิทธิตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa on Arrival: VOA) เป็น 31 ประเทศ/ดินแดน เพิ่มเติมจากเดิมที่มีอยู่ จำนวน 19 ประเทศ/ดินแดน

3. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อท่องเที่ยวและทำงานทางไกล เป็นกรณีพิเศษ มีสาระสำคัญ เป็นการเพิ่มการตรวจลงตราประเภทใหม่ Destination Thailand Visa (DTV) สำหรับชาวที่ประสงค์จะพำนักในประเทศไทยเพื่อทำงานและท่องเที่ยวไปพร้อมกัน (workcation) ได้แก่ กลุ่มที่มีทักษะสูง กลุ่มอาชีพอิสระ กลุ่มทำงานระยะไกล หรือกลุ่มที่ประสงค์มาพำนักเพื่อเรียนมวยไทยและศิลปะป้องกันตัว การเรียนทำอาหาร การเรียนและฝึกซ้อมกีฬา การรักษาพยาบาล การอบรม การสัมมนา การจัดแสดงศิลปะและดนตรี โดยเมื่อได้รับการตรวจลงตราประเภท DTV แล้วจะสามารถพำนักในประเทศไทยได้ครั้งละไม่เกิน 180 อายุการตรวจลงตรา 5 ปี

4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อศึกษาและทำงาน เป็นกรณีพิเศษ มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงสิทธิสำหรับนักศึกษาต่างชาติที่เข้ามาเรียนระดับปริญญาตรีขึ้นไป ที่ได้รับการตรวจลงตรา Non-Immigrant Visa รหัส ED เพื่อดึงดูดผู้ที่มีศักยภาพและทักษะเข้าสู่ตลาดแรงงานของประเทศ โดยขยายเวลาพำนักในประเทศไทยหลังสำเร็จการศึกษา 1 ปี เพื่อหางาน เดินทางท่องเที่ยว หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ในประเทศไทยได้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า