SHARE

คัดลอกแล้ว

ยังมีข้อสงสังอยู่ สำหรับการเปิดบัญชีร่วมกันว่าต้องเสียภาษีอย่างไร บัญชีร่วมแบบไหนมีสิทธิ์ได้รับการยกเว้นภาษี และแบบไหนที่ต้องเสียภาษีสองเด้ง

TODAY Bizview ขอรวบรวมข้อมูลให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้

แต่ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่า ใครก็ตามที่มีบัญชีออมทรัพย์และได้รับดอกเบี้ยเงินฝากจากธนาคารทุกบัญชีรวมกันภายใน 1 ปีปฎิทิน (1 มกราคม – 31 ธันวาคม) แล้วมียอดรวมทั้งหมดมากกว่า 20,000 บาท จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%

เช่น นาย กอไก่ มีบัญชีออมทรัพย์อยู่ 3 บัญชี และได้รับดอกเบี้ยเงินฝากในปีนั้น บัญชีละ 7,000 บาท ซึ่งนำดอกเบี้ยที่ได้รับมาบวกกัน ( 7,000 x 3 ) จะได้ดอกเบี้ยเท่ากับ 21,000 บาท ซึ่งเกินที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น นาย กอไก่ จึงต้องเสียภาษี ณ ที่จ่าย 15% แบบนี้

อย่างไรก็ตาม การเปิดบัญชีร่วมกัน ตามนิยามของ ‘กรมสรรพากร’ จะเเบ่งเป็น 2 รูปแบบ

1.การเปิดบัญชีร่วมกันในรูปแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ไม่ว่าจะเป็นบัญชีธนาคาร บัญชีเล่นหุ้น หรือคณะนักศึกษาที่เปิดบัญชีเพื่อทำงานกลุ่ม จะถูกจัดอยู่ในประเภทนี้

2.การเปิดบัญชีร่วมกันที่ไม่เข้าข่ายห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ สามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย และพ่อแม่ที่เปิดบัญชีฝากเงินเพื่อลูก

ซึ่งไม่ว่าจะเป็นในกรณีที่ 1 หรือ 2 หากมียอดรวมทั้งหมดของดอกเบี้ยเงินฝากทุกบัญชีมากกว่า 20,000 บาทขึ้นไป จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ตามกฎหมายเหมือนๆ กัน

แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ สำหรับ กรณีที่ 1 การเปิดบัญชีร่วมกันในรูปแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด นอกจากจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% แล้ว แต่เมื่อมีการแบ่งดอกเบี้ยที่ได้รับกัน หุ้นส่วนแต่ละคนจะต้องนำไปเสียภาษีบุคคลได้ต่อไปอีกครั้งหนึ่งในตอนปลายปี

ขณะที่ กรณีที่ 2 การเปิดบัญชีร่วมกันที่ไม่เข้าข่ายห้างหุ้นส่วนจำกัด เมื่อถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% จะไม่ต้องนำไปเสียภาษีบุคคลได้อีกครั้งตอนปลายปี

[ สรุปให้เข้าใจอีกรอบ ] 

เพื่อนหรือคู่ค้าทางธุรกิจทั่วๆ ไป เสียภาษี ณ ที่จ่าย 15% และถ้ามีการแบ่งเงินดอกเบี้ย แต่ละคนจะต้องนำไปคำนวณรวมกับภาษีบุคคลตอนปลายปีอีกรอบ หรือ ‘เสียภาษีสองเด้ง’

สามีภรรยา และ พ่อแม่ที่ฝากเงินเพื่อลูก เสียภาษี ณ ที่จ่าย 15% ครั้งเดียว ‘ไม่เสียภาษีสองเด้ง’

ทั้งนี้ ขออธิบายการเปิดบัญชีคู่อีกครั้งหนึ่งสำหรับคนที่กำลังตัดสินใจ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

โดยใช้วิธีแบ่งจากคำเชื่อมของคู่เปิดบัญชี เช่น นายกอไก่ ‘และ’ นางขอไข่ กับ นายกอไก่ ‘หรือ’ นางขอไข่ จะแตกต่างกัน ดังนี้

  • บัญชีคู่ กรณี ‘และ’ คือบัญชีที่เจ้าของบัญชีคู่ทั้งสองฝ่ายจะต้องมีการรับรู้และมีการเซ็นรับรองในทุกกิจกรรมทางการเงินร่วมกัน ยกเว้นแค่ตอนฝากเงิน
  • บัญชีคู่กรณี ‘หรือ’ คือบัญชีที่สามารถทำธุรกรรมหรือกิจกรรมทางการเงินกับบัญชีเพียงคนใดคนหนึ่งได้ไม่จำเป็นต้องทั้งสองฝ่าย ยกเว้นตอนปิดบัญชีที่ยังคงต้องทำร่วมกัน

อย่างไรก็ตาม ก่อนตัดสินใจเปิดบัญชีร่วมใครก็ตามไม่ว่าจะเป็นสามีภรรยา หรือครอบครัว คู่ค้าธุรกิจ ควรพิจารณาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากปัญหาเรื่องเงินในอนาคต รวมถึงคำนึงถึงกาษีที่ต้องจ่ายต่อปีด้วย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า